ข้ามไปเนื้อหา

กุรุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรกุรุ

c. 1200 BCE – c. 500 BCE
Kuru and other kingdoms in the Late Vedic period.
Kuru and other kingdoms in the Late Vedic period.
อาณาจักรกุรุและอาณาจักรอื่นๆ ในยุคพระเวท
อาณาจักรกุรุและอาณาจักรอื่นๆ ในยุคพระเวท
เมืองหลวงĀsandīvat, ในภายหลังคือ หัสตินาปุระ และ อินทรปรัสถ์
ภาษาทั่วไปเวทสันสกฤต
ศาสนา
ศาสนาพราหมณ์
การปกครองราชาธิปไตย
ราชา (King or Chief) 
• 12th–9th centuries BCE
ปรีกษิต
• 12th–9th centuries BCE
พระเจ้าชเนมชยะ
ยุคประวัติศาสตร์ยุคหิน
• ก่อตั้ง
c. 1200 BCE 
• สิ้นสุด
 c. 500 BCE
ก่อนหน้า
ถัดไป
ภารตะ
ปัญจาละ
มหาชนบท
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย

อาณาจักรกุรุ (อักษรโรมัน: Kuru, สันสกฤต: कुरु) เป็นชื่ออาณาจักรของชนเผ่าชาวอินโด-อารยัน อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย ในยุคหิน, ปัจจุบันมีอาณาบริเวณครอบคลุมไปถึง เดลี, รัฐหรยาณา, ปัญจาบ มีอาณาเขตทางตะวันตกผ่าน รัฐอุตตรประเทศ, ปรากฏอยู่ในยุคพระเวทตอนกลาง[1][2] (c. 1200 – c. 900 BCE)[3][note 1][4]

อาณาจักรกุรุได้เปลี่ยนแปลงประเพณีทางศาสนาของพวกเขาให้แตกต่างจากช่วงยุคพระเวทตอนต้นอย่างเด็ดขาด โดยจัดเรียง และรวบรวมบทสวดพิธีกรรมของพวกเขาที่เรียกว่าพระเวท จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมที่โดดเด่นของสมัยพระเวทตอนกลางในรัชสมัยของ ปรีกษิต และ พระเจ้าชเนมชยะ[3] แต่กลับลดความสำคัญลงในช่วงปลายยุคพระเวท (c. 900 – c. 500 BCE) และกลายเป็น "แหล่งน้ำนิ่ง"[4] ในยุคมหาชนบท ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช อย่างไรก็ตามประเพณีและตำนานเกี่ยวกับอาณาจักรกุรุ ยังคงดำเนินต่อไปในช่วงยุคพระเวทตอนปลายโดยเป็นพื้นฐานสำหรับเรื่องราวมหากาพย์มหาภารตะ[3]

แหล่งข้อมูลร่วมสมัยหลักในการทำความเข้าใจอาณาจักรกุรุ ได้แก่ พระเวท ซึ่งมีรายละเอียดของชีวิตในช่วงเวลานี้และการพาดพิงถึงบุคคลในประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ต่างๆ[3] ช่วงเวลาและขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรกุรุ (ตามที่กำหนดโดย การศึกษาทางปรัชญา ของวรรณคดีพระเวท)[4]

แคว้นกุรุ ในทางพระพุทธศาสนา

[แก้]

แคว้นกุรุ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นปัญจาละ ทางเหนือของแคว้นสุรเสนะและตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นมัจฉะ พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นในสมัยพุทธกาลคือ พระเจ้าโกรัพยะ เทียบกับปัจจุบันแคว้นกุรุได้แก่เขตของเดลี นครหลวงของอินเดียขณะนี้ กับเขตใกล้เคียงอื่น ๆ คือจังหวัดมีรัต ของรัฐอุตตรประเทศ และพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป ที่รวมเรียกว่ากุรุเกษตร หรือฐาเนศวระ อันได้แก่เขตของโสนะปัต ปานีปัต และกรนาล ของรัฐหรยานะ ในปัจจุบันเมืองหลวงของแคว้นกุรุในพุทธสมัย คือ อินทปัฏฐ์ หรือ อินทปัตถ์ ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านอินทรปัต ในเขตจังหวัดเดลี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา ห่างจากกรุงเดลีออกไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร หรือ 2 ไมล์แคว้นกุรุสมัยพุทธกาล ไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดุมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่ในธรรม ฉลาด และมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวว่า นี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะ มีข้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก เช่น มหานิทานสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ พระพุทธองค์เคยเสด็จแคว้นกุรุหลายครั้ง และปรากฏว่า นิคมชื่อกัมมาสธัมมะหรือ กัมมาสทัมมะ เป็นที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับมากที่สุด พระสูตรสำคัญทั้งสองสูตรที่กล่าวถึง ก็ทรงแสดงที่กัมมาสธัมมะนี้ พระนางมาคันทิยา มเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทนแห่งโกสัมพี เป็นบุตรพราหมณ์มาคันทิยะแห่งกัมมาสธัมมะนี้พระสาวกผู้ใหญ่ของพระพุทธองค์ท่านหนึ่ง คือ พระรัฏฐปาละ ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะหรือ เป็นยอดของภิกษุ ผู้ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นบุตรผู้มีสกุลแห่ง นิคมถุลลโกฏฐิตะ แคว้นกุรุนี้ ประวัติกล่าวว่า ท่านได้แสดงธรรมเรื่องธรรมุทเทศสี่ แก่พระเจ้าโกรัพยะ แห่งแคว้นกุรุ จนพระเจ้าโกรัพยะ ทรงพอพระทัยและเลื่อมใสอย่างมาก[5]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. Also in B. Kölver (ed.)(1997), Recht, Staat und Verwaltung im klassischen Indien [The state, the Law, and Administration in Classical India]. München: R. Oldenbourg. pp. 27–52.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pletcher 2010, p. 63.
  2. Witzel 1995, p. 6. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWitzel1995 (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Witzel 1995. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWitzel1995 (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Samuel 2010. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFSamuel2010 (help)
  5. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ vichadham.com
  • Hiltebeitel, Alf (2002), Hinduism. In: Joseph Kitagawa, "The Religious Traditions of Asia: Religion, History, and Culture", Routledge
  • Pletcher, Kenneth (2010), The History of India, The Rosen Publishing Group
  • Samuel, Geoffrey (2010), The Origins of Yoga and Tantra. Indic Religions to the Thirteenth Century, Cambridge University Press
  • Witzel, Michael (1995), "Early Sanskritization: Origin and Development of the Kuru state" (PDF), EJVS, 1 (4), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]