การทุ่มตลาด
การทุ่มตลาด (อังกฤษ: dumping) ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการกำหนดราคาเพื่อขจัดคู่แข่งขันรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทการค้าระหว่างประเทศ การทุ่มตลาดเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตส่งผลิตภัณฑ์ออกไปยังอีกประเทศหนึ่งที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ตั้งในตลาดในประเทศ หรือในปริมาณที่ไม่สามารถอธิบายได้ในการแข่งขันตลาดตามปกติ
นิยามทางเทคนิคมาตรฐานของการทุ่มตลาด คือ การที่กำหนดราคาสินค้าชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศต่ำกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ตั้งในตลาดในประเทศเพื่อการบริโภคของผู้ส่งออก มักเรียกว่า ขายน้อยกว่า "มูลค่าปกติ" ในการค้าระดับเดียวกันในทางการค้าปกติ ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก การทุ่มตลาดถูกประณาม (แต่ไม่ถูกห้าม) หากกระทำหรือคุกคามจะก่อความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมในประเทศในประเทศผู้นำเข้า[1]
คำว่า การทุ่มตลาด มีความหมายโดยนัยเชิงลบ เพาะผู้สนับสนุนตลาดแข่งขันมองการทุ่มตลาดว่าเป็นลัทธิคุ้มครองรูปแบบหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้สนับสนุนกรรมกรและผู้ใช้แรงงานเชื่อว่า การปกป้องธุรกิจจากพฤติกรรมการขจัดการแข่งขัน เช่น การทุ่มตลาด ช่วยบรรเทาผลร้ายแรงบางประการของพฤติการณ์เช่นนั้นระหว่างเศรษฐกิจที่ขั้นการพัฒนาต่าง ๆ กัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Van den Bossche, Peter (2005). The Law and Policy of the World Trade Organization. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 42. ISBN 978-0-511-12392-4.
Dumping, i.e. bringing a product onto the market of another country at a price less than the normal value of that product is condemned but not prohibited in WTO law.