ข้ามไปเนื้อหา

การตรวจทั่วไป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตรวจทั่วไป
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10Z00.0

การตรวจทั่วไป (อังกฤษ: general medical examination) เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแบบทั่วไปซึ่งเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่ไม่รู้สึกป่วยมาพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นประจำ โดยทั่วไปมักปีละครั้งหรือถี่น้อยกว่า การตรวจนี้มีอีกหลายชื่อ เช่น การประเมินสุขภาพเป็นคาบ (periodic health evaluation) การตรวจร่างกายประจำปี (annual physical) การตรวจครอบคลุม (comprehensive medical exam) การตรวจสุขภาพทั่วไป (general health check) หรือการตรวจสุขภาพป้องกัน (preventive health examination)

หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้ในประชากรทั่วไป[1][2]

คำนี้ปกติไม่รวมการพบเพื่อวัตถุประสงค์การตรวจทารกแรกเกิด การทดสอบแพปเพื่อคัดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการพบเป็นประจำของผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง (เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง)[3] การตรวจทั่วไปปกติมักมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย (อย่างย่อหรือสมบูรณ์) และบางครั้งมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบขั้นสูงบางอย่างเช่น คลื่นเสียงความถี่สูงและการถ่ายภาพรังสีเต้านม

หลักฐาน

[แก้]

แม้การตรวจประจำปีเป็นเวชปฏิบัติรูทีนในหลายประเทศ แต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนน้อยในประชากรส่วนใหญ่ บทปฏิทัศน์คอแครนปี 2555 ไม่พบประโยชน์ใด ๆ ในแง่ความเสี่ยงการเสียชีวิตหรือผลลัพธ์เลวที่เกี่ยวข้องกับโรคในผู้ที่ได้รับการตรวจนี้[2] ทว่า ผู้ที่ไปรับการตรวจประจำปีมีแนวโน้มได้รับการวินิจฉัยด้วยปัญหาการแพทย์มากกว่า[2]

องค์การสุขภาพที่มีชื่อเสียงบางแห่งไม่แนะนำให้ตรวจประจำปี[4][5][6] สมาคมมะเร็งอเมริกาแนะนำการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งทุกปีในชายและหญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และทุกสามปีสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป[7]

บทปฏิทัศน์การศึกษาอย่างเป็นระบบจนถึงเดือนกันยายน 2549 สรุปว่าการตรวจทำให้หัตถการคัดโรคบางอย่างดีขึ้น (เช่น การทดสอบแพป การคัดโรคคอเลสเตอรอล และการทดสอบเลือดแฝงในอุจจาระ) และผู้ป่วยกังวลน้อยกว่า[3] หลักฐานสนับสนุนหัตถการคัดโรคเป็นอย่าง ๆ ไปเหล่านี้หลายอย่าง[8][9][10] ผลของการตรวจประจำปีต่อราคาโดยรวม ทุพพลภาพและการตายของผู้ป่วย การพบโรค และจุดปลายปานกลาง (intermediate end point) เช่น ความดันเลือดหรือคอเลสเตอรอล ยังไม่มีข้อสรุป[3] การศึกษาล่าสุดพบว่า การตรวจสัมพันธ์กับการเพิ่มการมีส่วนในการคัดโรคมะเร็ง[11]

การขาดหลักฐานที่ดีขัดต่อการสำรวจในประชากรซึ่งแสดงว่าสาธารณชนนิยมการตรวจเหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อไม่เสียค่าใช้จ่าย[12] แม้แนวทางไม่แนะนำการตรวจประจำปีรูทีนเหล่านี้ แพทย์ครอบครัวจำนวนมากยังปฏิบัติอยู่[13] ระบบสาธารณสุขที่เสียค่าใช้จ่ายมีการแนะนำให้ส่งเสริมการปฏิบัตินี้[14] ทางเลือกอาจเป็นการปรับช่วงการคัดโรคกับอายุ เพศ ภาวะการแพทย์และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน[5][15][16] หมายความถึงการเลือกระหว่างการทดสอบหลายอย่าง[17]

ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ถามผู้ป่วยเกี่ยวกับผลการตรวจทั่วไปล่าสุดเพื่อดำเนินการผ่าตัด แม้มีข้อถกเถียงสนับสนุนและคัดค้านหัตถการคัดโรคส่วนใหญ่ ข้อดีมีการพบและการป้องกันหรือการรักษาแต่เนิ่น ๆ ภาวะอย่างความดันโลหิตสูง การติดแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โรคอ้วนและมะเร็ง ยิ่งไปกว่านั้น การตรวจสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ผู้ป่วย-แพทย์และลดความกังวลของผู้ป่วย บริษัทประกันเอกชนมากขึ้นและแม้แต่เมดิแคร์ (Medicare) ก็รวมการตรวจร่างกายประจำปีในความคุ้มครอง นายจ้างบางคนกำหนดให้ตรวจสุขภาพแบบบังคับก่อนจ้างผู้สมัครแม้ทราบดีว่าการพบประจำปีป้องกันโรคบางส่วนอาจทำให้เกิดผลเสีย ตัวอย่างเช่น การทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่กระทำต่อผู้ป่วยสุขภาพดี (ตรงข้ามกับผู้ที่มีอาการหรือการเจ็บป่วยที่ทราบแล้ว) ตามสถิติแล้วมีโอกาสเกิด "ผลบวกลวง" มากกว่า คือ เมื่อผลการทดสอบบ่งว่ามีปัญหาแต่แท้จริงแล้วไม่มี[18] ข้อเสียที่อ้างมีเวลาและเงินที่จะรักษาได้โดยการคัดโรคแบบกำหนดเป้าหมาย (เป็นข้อถกเถียงทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ)[19] ความกังวลต่อความเสี่ยงสุขภาพที่เพิ่ม การวินิจฉัยเกิน การวินิจฉัยผิด (เช่น กลุ่มอาการหัวใจนักกรีฑาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา) และภัย หรือกระทั่งเสียชีวิต อันเกิดจากการทดสอบที่ไม่จำเป็นเพื่อตรวจหาหรือยืนยันปัญหาสุขภาพที่มักไม่มีอยู่หรือระหว่างดำเนินหัตถการรูทีนเป็นการตรวจติดตามผลหลังการคัดโรค[20][21][22]

ความชุก

[แก้]

โดยทั่วไปปฏิบัติในสหรัฐ สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น ส่วนการปฏิบัติมีหลากหลายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรปแผ่นดินใหญ่ ในญี่ปุ่น กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างทำงานประจำตรวจปีละครั้ง โดยมีชุดการตรวจมากกว่าในประเทศอื่น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยังไม่ทราบเหง้าของการตรวจเป็นคาบชัดเจน ดูเหมือนได้รับการสนับสนุนตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920[23] ผู้ประพันธ์บางส่วนชี้การร้องขอจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ให้ตรวจหาโรคแต่เนิ่นเช่น วัณโรค และการตรวจสุขภาพในโรงเรียนเป็นคาบ[24] การมีการประกันการแพทย์และอิทธิพลพาณิชย์ที่เก่ยวข้องดูเหมือนส่งเสริมการตรวจ ขณะที่การปฏิบัตินี้เป็นเรื่องข้อถกเถียงในยุคเวชศาสตร์อิงหลักฐาน[14][24][25][26][27] การศึกษาหลายอย่างที่ดำเนินก่อนมีการสรุปข้อแนะนำการคัดโรคอิงหลักฐานปัจจุบัน ซึ่งจำกัดการนำมาใช้ประโยชน์ได้ของการศึกษาเหล่านี้ในเวชปฏิบัติปัจจุบัน[3][28][29]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Si, S; Moss, JR; Sullivan, TR; Newton, SS; Stocks, NP (Jan 2014). "Effectiveness of general practice-based health checks: a systematic review and meta-analysis". The British journal of general practice : the journal of the Royal College of General Practitioners. 64 (618): e47-53. doi:10.3399/bjgp14x676456. PMID 24567582.
  2. 2.0 2.1 2.2 "General health checks in adults for reducing morbidity and mortality from disease". Oct 17, 2012. doi:10.1002/14651858.CD009009.pub2. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Boulware LE, Marinopoulos S, Phillips KA, และคณะ (February 2007). "Systematic review: the value of the periodic health evaluation". Ann. Intern. Med. 146 (4): 289–300. doi:10.7326/0003-4819-146-4-200702200-00008. PMID 17310053.
  4. US Preventive Services Task Force. Guide to Clinical Preventive Services: Report of the Preventive Services Task Force 2nd ed. Baltimore, Md: Williams & Wilkins; 1996.
  5. 5.0 5.1 "Periodic health examination: a guide for designing individualized preventive health care in the asymptomatic patients. Medical Practice Committee, American College of Physicians". Ann. Intern. Med. 95 (6): 729–32. December 1981. doi:10.7326/0003-4819-95-6-729. PMID 7305155.
  6. Hayward RS, Steinberg EP, Ford DE, Roizen MF, Roach KW (May 1991). "Preventive care guidelines: 1991. American College of Physicians. Canadian Task Force on the Periodic Health Examination. United States Preventive Services Task Force". Ann. Intern. Med. 114 (9): 758–83. doi:10.7326/0003-4819-114-9-758. PMID 2012359.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Mettlin C, Dodd GD (1991). "The American Cancer Society Guidelines for the cancer-related checkup: an update". CA Cancer J Clin. 41 (5): 279–82. doi:10.3322/canjclin.41.5.279. PMID 1878784.
  8. Screening for Lipid Disorders in Adults, Topic Page. June 2008. U.S. Preventive Services Task Force. Agency for Healthcare Research and Quality, Rockville, MD. http://www.ahrq.gov/clinic/uspstf/uspschol.htm เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Screening for Colorectal Cancer, Topic Page. July 2002. U.S. Preventive Services Task Force. Agency for Healthcare Research and Quality, Rockville, MD. http://www.ahrq.gov/clinic/uspstf/uspscolo.htm เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. Screening for Cervical Cancer, Topic Page. January 2003. U.S. Preventive Services Task Force. Agency for Healthcare Research and Quality, Rockville, MD. http://www.ahrq.gov/clinic/uspstf/uspscerv.htm เก็บถาวร 2015-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Fenton JJ, Cai Y, Weiss NS, และคณะ (March 2007). "Delivery of cancer screening: how important is the preventive health examination?". Arch. Intern. Med. 167 (6): 580–5. doi:10.1001/archinte.167.6.580. PMC 3443471. PMID 17389289.[ลิงก์เสีย]
  12. Oboler SK, Prochazka AV, Gonzales R, Xu S, Anderson RJ (May 2002). "Public expectations and attitudes for annual physical examinations and testing". Ann. Intern. Med. 136 (9): 652–9. doi:10.7326/0003-4819-136-9-200205070-00007. PMID 11992300.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Prochazka AV, Lundahl K, Pearson W, Oboler SK, Anderson RJ (June 2005). "Support of evidence-based guidelines for the annual physical examination: a survey of primary care providers". Arch. Intern. Med. 165 (12): 1347–52. doi:10.1001/archinte.165.12.1347. PMID 15983282.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 Gordon PR, Senf J (May 1999). "Is the annual complete physical examination necessary?". Arch. Intern. Med. 159 (9): 909–10. doi:10.1001/archinte.159.9.909. PMID 10326933. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-01-30.
  15. Lawrence RS, Mickalide AD (April 1987). "Preventive services in clinical practice: designing the periodic health examination". JAMA. 257 (16): 2205–7. doi:10.1001/jama.257.16.2205. PMID 3560403.
  16. Frame PS, Carlson SJ (February 1975). "A critical review of periodic health screening using specific screening criteria. Part 1: Selected diseases of respiratory, cardiovascular, and central nervous systems". J Fam Pract. 2 (1): 29–36. PMID 1123583.
  17. Beck LH (November 1999). "Periodic health examination and screening tests in adults". Hosp Pract (Minneap). 34 (12): 117–8, 121–2, 124–6. doi:10.3810/hp.1999.11.175. PMID 10616549.
  18. "A checkup for the checkup: Do you really need a yearly physical? - Harvard Health Blog". Harvard Health Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2015-11-02.
  19. Yarnall KS, Pollak KI, Østbye T, Krause KM, Michener JL (April 2003). "Primary care: is there enough time for prevention?". Am J Public Health. 93 (4): 635–41. doi:10.2105/AJPH.93.4.635. PMC 1447803. PMID 12660210.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Yahr, Emily (2015-01-28). "What went wrong with Joan Rivers's last medical procedure: lawsuit". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-11-08.
  21. "Minnesota teen Sydney Galleger dies after dental procedure". www.cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ 2015-11-08.
  22. "Three Georgia boys die unexpectedly after dental procedure". www.cbs46.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-25. สืบค้นเมื่อ 2015-11-08.
  23. Emerson H (1923). "Periodic medical examinations of apparently healthy persons". JAMA. 80: 1376–1381. doi:10.1001/jama.1923.26430460003011.
  24. 24.0 24.1 Han PK (November 1997). "Historical changes in the objectives of the periodic health examination". Ann. Intern. Med. 127 (10): 910–7. doi:10.7326/0003-4819-127-10-199711150-00010. PMID 9382370.
  25. Charap MH (December 1981). "The periodic health examination: genesis of a myth". Ann. Intern. Med. 95 (6): 733–5. doi:10.7326/0003-4819-95-6-733. PMID 7030166.
  26. Davis AB (1981). "Life insurance and the physical examination: a chapter in the rise of American medical technology". Bull Hist Med. 55 (3): 392–406. PMID 7037084.
  27. Jureidini R, White K (2000). "Life insurance, the medical examination and cultural values". J Hist Sociol. 13 (2): 190–214. doi:10.1111/1467-6443.00113. PMID 18383634.
  28. Olsen DM, Kane RL, Proctor PH (April 1976). "A controlled trial of multiphasic screening". N. Engl. J. Med. 294 (17): 925–30. doi:10.1056/NEJM197604222941705. PMID 1256483.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Knox EG (December 1974). "Multiphasic screening". Lancet. 2 (7894): 1434–6. doi:10.1016/S0140-6736(74)90086-5. PMID 4140342.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]