ข้ามไปเนื้อหา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย
พลเรือนชาวอาร์มีเนียถูกคุมตัวโดยทหารออตโตมัน ขณะเดินผ่าน Harput (Kharpert) เพื่อไปยังเรือนจำในบริเวณใกล้เคียงใน Mezireh (ปัจจุบันคือเอลาซิก) เมษายน 1915
สถานที่
วันที่1914–1923
เป้าหมายชาวอาร์มีเนีย
ประเภทการเนรเทศออกจากประเทศ, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การสังหารหมู่, ความอดอยาก
ตายประมาณ 1.5 ล้านคน (มีข้อโต้แย้ง)[note 1]
ผู้ก่อเหตุจักรวรรดิออตโตมัน
เหตุจูงใจการต่อต้านชาวอาร์มีเนีย[6]

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian Genocide) (อาร์มีเนีย: Հայոց ցեղասպանություն,[note 2] Hayots tseghaspanutyun) (ยังเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่า ฮอโลคอสต์ของอาร์มีเนีย)[7] เป็นการสังหารหมู่อย่างเป็นระบบและทำการขับไล่เนรเทศชนเชื้อชาติอาร์มีเนียจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน ที่ดำเนินในตุรกีและดินแดนภูมิภาคที่อยู่ติดกันโดยรัฐบาลออตโตมันในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914 และ ค.ศ. 1923[8][9] วันแห่งการเริ่มต้นจะถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่เป็นไปตามแผน เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1915 วันที่เจ้าหน้าที่ออตโตมันได้ทำการไล่ต้อน จับกุม และเนรเทศออกไปจากกรุงอิสตันบูลไปยังภูมิภาคอังโกรา(อังการา) กลุ่มปัญญาชนและผู้นำชุมชนชาวอาร์มีเนียประมาณ 235 คน ถึง 270 คน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนถูกสังหารในที่สุด

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ถูกดำเนินในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และดำเนินการในขั้นที่สอง - การสังหารประชากรชายฉกรรจ์จนหมดสิ้นผ่านทางสังหารหมู่ และการเกณฑ์ทหารของกองทัพเพื่อบังคับใช้แรงงาน ตามมาด้วยการเนรเทศสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้ทุพพลภาพด้วยการเดินขบวนแห่งความตายที่นำไปสู่ทะเลทรายซีเรีย การเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการคุ้มกันทางทหาร ผู้ถูกเนรเทศจะถูกกีดกันไม่ให้ได้รับอาหารและน้ำ และถูกปล้นชิงทรัพย์เป็นระยะๆ ข่มขืน และสังหารหมู่[10] ชุมชนชาวอาร์มีเนียที่ผลัดถิ่นส่วนใหญ่ในทั่วโลกนั้นเป็นผลโดยตรงจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[11]

กลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันสำหรับการกำจัดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอัสซีเรียและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก และการกระทำของพวกเขาได้ถูกพิจารณาโดยนักประวัติศาสตร์บางคนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แบบเดียวกัน[12][13]

Raphael Lemkin ได้ถูกย้ายโดยเฉพาะเจาะจงโดยการทำลายล้างชาวอาร์มีเนียเพื่อกำหนดการกำจัดอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนภายในการจำกัดทางกฎหมายและการประกาศใช้คำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี ค.ศ. 1943[14] การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยใหม่เป็นครั้งแรก[15][16][17] เพราะนักวิชาการได้ชี้ไปที่ลักษณะการจัดการอย่างเป็นระเบียบด้วยการสังหารได้ถูกดำเนินการ มันเป็นกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีการศึกษาอย่างมากเป็นอันดับสองรองลงจากฮอโลคอสต์[18]

ทางตุรกีได้ออกมาปฏิเสธด้วยคำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นคำที่ใช้อย่างถูกต้องสำหรับการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ต้องเผชิญหน้ากับการเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้พวกเขารับรู้[19] ในปี ค.ศ. 2019 รัฐบาลและรัฐสภาของ 32 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และเยอรมนี ได้ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ภูมิหลัง

[แก้]

แม่แบบ:ประวัติศาสตร์อาร์มีเนีย

ชาวอาร์มีเนียภายใต้การปกครองของออตโตมัน

[แก้]

พื้นที่ทางตะวันตกของอาร์มีเนียในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าอาร์มีเนียตะวันตกได้อยู่ในภายใต้อาณัติปกครองของออตโตมันโดย Peace of Amasya (1555) และถูกตัดขาดจากอาร์มีเนียตะวันออกด้วยสนธิสัญญาซูฮับ (1639)[20][21] พื้นที่ตรงนั้นจึงถูกเรียกขานในเวลาต่อมาว่าอาร์มีเนียของ "เติร์ก" หรือ "ออตโตมัน"[22] ชาวอาร์มีเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ได้รวมกลุ่มกันเป็นชุมชนกึ่งปกครองตนเองในชื่อ มิลเลต์ อาร์มีเนียซึ่งซึ่งมีผู้นำคือผู้นำทางจิตวิญญาณจากศาสนจักรอะพอสทอลิกอาร์มีเนีย ซึ่งคือพระสังฆราชอาร์ทีเนียแห่งคอนสแตนติโนเปิล ชาวอาร์มีเนียนั้นกระจุกตัวหลัก ๆ ในจังหวัดทางตะวันออกของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ก็สามารถพบชุมชนใหญ่ ๆ ได้ในจังหวัดทางตะวันตก รวมถึงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของออตโตมัน

ชุมชนชาวอาร์มีเนียนั้นประกอบด้วยศาสนิกสามนิกาย คือ: อาร์มีเนียนคาธอลิก, อาร์มีเนียนโปรเตสแตนต์ และ อาร์มีเนียนอะพอสทอลิก ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวอาร์มีเนียส่วนมากนับถือ ภายใต้ระบบมิลเลต (millet) ชุมชนอาร์มีเนียสามารถปกครองตนเองได้โดยมีการแทรกแซงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลออตโตมัน ชาวอาร์มีเนียส่วนใหญ่ ราว 70% อาศัยอยู่ในสภาวะยากจนและอันตรายในพื้นที่ชนบทห่างไกล จะมียกเว้นเพียงชนชั้น Amira ที่มีฐานะซึ่งรวมถึงกลุ่ม Duzians (ผู้อำนวยการโรงกษาปณ์หลวง), กลุ่ม Balyans (หัวหน้าสถาปนิกหลวง) และกลุ่ม Dadians (ผู้ควบคุมโรงผลิตดินปืนและโรงงาน)[23][24]

ในจังหวัดทางตะวันออก ชาวอาร์มีเนียเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งโดยชาวเติร์กและชาวเคิร์ดที่อยู่ติดกัน มักเก็บภาษีชาวอาร์มีเนียมากเกินปกติ, ทำให้กลายเป็นเป้าของการล่าสัตว์และอุ้มหาย, บังคับให้เข้ารีตเป็นอิสลาม ไปจนถึงขูดรีดโดยปราศจากการเหลียวแลจากเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น[24]

การปฏิรูปทศวรรษ 1840s–1880s

[แก้]

ในกลางศตวรรษที่ 19 อำนาจยุโรปใหญ่ทั้งสาม สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และรัสเซีย เริ่มที่จะสงสัยต่อการปฏิบัติของออตโตมันต่อชาวคริสต์กลุ่มน้อยและได้กดดันให้เกิดความเท่าเทียมขึ้น นับตั้งแต่ปี 1839 ไปจนถึงการประกาศรัฐธรรมนูญในปี 1876 รัฐบาลออตโตมันได้จัดตั้ง ตานซีมาต (Tanzimat) ซึ่งเป็นการปฏิรูปหลายชุดเพื่อพัฒนาสถานะของชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตามการปฏิรูปดังกล่าวนั้นแทบไม่เคยถูกนำไปใช้จริงเนื่องจากประชากรมุสลิมของจักรรวรรดิปฏิเสธความเท่าเทียมสำหรับชาวคริสต์ ภายในปลายทศวรรษ 1870s ราชอาณาจักรกรีกและขาติชาวคริสต์อื่นในบอลข่าน เริ่มที่จะหงุดหงิดกับสภาพความเป็นอยู่ได้แยกตัวออกจากออตโตมัน[25]: 192 [26]

ชาวอาร์มีเนียส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสถานะไม่ตอบโต้ใด ๆ และสมยอมในระหว่างช่วงปีนี้ จนได้ชื่อว่าเป็น millet-i sadika หรือ "มิลเลตผู้ซื่อสัตย์"[27] นับแต่กลางทศวรรษ 1860s และต้นทศวรรษ 1870s ชาวอาร์มีเนียเริ่มที่จะตั้งคำถามต่อสถานะความเป็นชนชั้นสองและต้องการการปฏิบัติที่ดีกว่าโดยรัฐบาล แนวคิดนี้นำโดยปัญญาชนที่จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยในยุโรปหรือสถาบันมิชชันนารีของอเมริกันในตุรกี

ขบวนการปลดปล่อยชาติอาร์มีเนีย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. For example:
    • Derderian, K. (1 March 2005). "Common Fate, Different Experience: Gender-Specific Aspects of the Armenian Genocide, 1915-1917". Holocaust and Genocide Studies (ภาษาอังกฤษ). 19 (1): 1–25. doi:10.1093/hgs/dci001. ISSN 8756-6583. the figure of 1.5 million people is generally accepted as a reasonable estimate
    • "Tsitsernakaberd Memorial Complex". Armenian Genocide Museum-Institute. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
    • Kifner, John (7 December 2007). "Armenian Genocide of 1915: An Overview". The New York Times.
  2. Göçek, Fatma Müge (2015). Denial of violence : Ottoman past, Turkish present and collective violence against the Armenians, 1789–2009. Oxford University Press. p. 1. ISBN 0-19-933420-X.
  3. Auron, Yair (2000). The banality of indifference: Zionism & the Armenian genocide. Transaction. p. 44. ISBN 978-0-7658-0881-3.
  4. Forsythe, David P. (11 August 2009). Encyclopedia of human rights (Google Books). Vol. 1. Oxford University Press. p. 98. ISBN 978-0-19-533402-9.
  5. Chalk, Frank Robert; Jonassohn, Kurt (10 September 1990). The history and sociology of genocide: analyses and case studies. Institut montréalais des études sur le génocide. Yale University Press. pp. 270–. ISBN 978-0-300-04446-1.
  6. Hovannisian, Richard G. (1998). "Modern Turkish Identity and the Armenian Genocide: From Prejudice to Racist Nationalism". Remembrance and Denial: The Case of the Armenian Genocide (ภาษาอังกฤษ). Wayne State University Press. pp. 23–50. ISBN 081432777X.
  7. Fisk, Robert (14 October 2006). "Let me denounce genocide from the dock". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  8. "8 facts about the Armenian genocide 100 years ago". CNN.com. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  9. "100 Years Ago, 1.5 Million Armenians Were Systematically Killed. Today, It's Still Not A 'Genocide'". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  10. Kieser, Hans-Lukas; Schaller, Dominik J. (2002), Der Völkermord an den Armeniern und die Shoah [The Armenian genocide and the Shoah] (ภาษาเยอรมัน), Chronos, p. 114, ISBN 3-0340-0561-XWalker, Christopher J. (1980), Armenia: The Survival of A Nation, London: Croom Helm, pp. 200–03Bryce, Viscount James; Toynbee, Arnold (2000), Sarafian, Ara (บ.ก.), The Treatment of Armenians in the Ottoman Empire, 1915–1916: Documents Presented to Viscount Grey of Falloden (uncensored ed.), Princeton, NJ: Gomidas, pp. 635–49, ISBN 0-9535191-5-5
  11. "The Many Armenian Diasporas, Then and Now". GeoCurrents. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  12. Schaller, Dominik J; Zimmerer, Jürgen (2008). "Late Ottoman genocides: the dissolution of the Ottoman Empire and Young Turkish population and extermination policies – introduction". Journal of Genocide Research. 10 (1): 7–14. doi:10.1080/14623520801950820.
  13. Jones, Adam (2010). Genocide: A Comprehensive Introduction. Taylor & Francis. pp. 171–72. ISBN 978-0-203-84696-4. A resolution was placed before the IAGS membership to recognize the Greek and Assyrian/Chaldean components of the Ottoman genocide against Christians, alongside the Armenian strand of the genocide (which the IAGS has already formally acknowledged). The result, passed emphatically in December 2007 despite not inconsiderable opposition, was a resolution which I co-drafted, reading as follows: ...
  14. Totally Unofficial: The Autobiography of Raphael Lemkin. New Haven and London: Yale University Press. 2013. pp. 19–20. ISBN 9780300186963.The Armenian Genocide (1915–16): Overview, United States Holocaust Memorial Museum
  15. "Council of Europe Parliamentary Assembly Resolution". Armenian National Institute. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
  16. Ferguson, Niall (2006). The War of the World: Twentieth-Century Conflict and the Descent of the West. New York: Penguin Press. p. 177. ISBN 1-59420-100-5.
  17. "A Letter from The International Association of Genocide Scholars" (PDF). Genocide Watch. 13 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-17. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. Rummel, RJ (1 April 1998). "The Holocaust in Comparative and Historical Perspective". IDEA – A Journal of Social Issues. 3 (2). ISSN 1523-1712.
  19. "For Turkey, denying an Armenian genocide is a question of identity". america.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  20. Herzig, Edmund; Kurkchiyan, Marina (2004). The Armenians: Past and Present in the Making of National Identity. Routledge. p. 47. ISBN 978-1-135-79837-6.
  21. Khachaturian, Lisa (2011). Cultivating Nationhood in Imperial Russia: The Periodical Press and the Formation of a Modern Armenian Identity. Transaction Publishers. p. 1. ISBN 978-1-4128-1372-3.
  22. Adalian, Rouben Paul (2010). Historical Dictionary of Armenia (2nd ed.). Scarecrow Press. p. 337. ISBN 978-0-8108-7450-3.
  23. Barsoumian, Hagop (1982), "The Dual Role of the Armenian Amira Class within the Ottoman Government and the Armenian Millet (1750–1850)", ใน Braude, Benjamin; Lewis, Bernard (บ.ก.), Christians and Jews in the Ottoman Empire: The Functioning of a Plural Society, vol. I, New York: Holmes & Meier
  24. 24.0 24.1 Barsoumian, Hagop (1997), "The Eastern Question and the Tanzimat Era", ใน Hovannisian, Richard G (บ.ก.), The Armenian People From Ancient to Modern Times, vol. II: Foreign Dominion to Statehood: The Fifteenth Century to the Twentieth Century, New York: St. Martin's, pp. 175–201, ISBN 0-312-10168-6
  25. Dadrian, Vahakn N. (1995). The History of the Armenian Genocide: Ethnic Conflict from the Balkans to Anatolia to the Caucasus. Oxford: Berghahn Books. ISBN 1-57181-666-6.
  26. Suny, Ronald Grigor (1993). Looking toward Ararat Armenia in modern history. Bloomington: Indiana university press. p. 101. ISBN 0253207738.
  27. "What happened to the Armenians (Millet-i Sadıka)?". Daily Sabah. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน