กร ทัพพะรังสี
กร ทัพพะรังสี | |
---|---|
กร ในปี พ.ศ. 2566 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ถัดไป | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
| |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า |
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เชษฐา ฐานะจาโร |
ถัดไป | ประวิช รัตนเพียร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | รักเกียรติ สุขธนะ |
ถัดไป | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป |
|
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป |
|
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กันยายน พ.ศ. 2488 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2517 - 2535) (2550 - 2551) ประชาราช (2550) ไทยรักไทย (2547 - 2549) ชาติพัฒนา (2535 - 2547) |
คู่สมรส | นางระพีพรรณ ทัพพะรังสี (ถาวรธาร) |
กร ทัพพะรังสี (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2488) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาราช อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นบุตรของ อรุณ ทัพพะรังสี (บุตร พระยานราธรหิรัญรัฐ กับคุณหญิงหวาน) และ พร้อม ทัพพะรังสี (สกุลเดิม "ชุณหะวัณ" เป็นบุตรีของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ) เนื่องจากสืบเชื้อสายจากนักการเมืองซอยราชครู ทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น “ทายาทราชครู รุ่นที่ 3” ด้านครอบครัวสมรส กับ ระพีพรรณ ทัพพะรังสี มีบุตรชื่อ กฤตพณ ทัพพะรังสี และ กมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี โดย กมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี บุตรชายสมรสกับ อุษณา มหากิจศิริ บุตรสาว ประยุทธ มหากิจศิริ ในปี พ.ศ. 2555
กร เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2]
ประวัติการศึกษา
[แก้]นายกร ทัพพะรังสี เข้ารับการศึกษาแห่งแรกที่ โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ใกล้วิทยาลัยครูสวนสุนันทา มีเพื่อนคนแรกที่เรียน ห้องเดียวกัน นั่งโต๊ะติดกัน และยังคบหากันมากว่า 50 ปี คือ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO)
เรียนต่อชั้นประถม ที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และได้อยู่ห้องเดียวกับเพื่อนที่ชื่อ ศุภชัย พานิชภักดิ์ อีก หลังจากจบจากเซนต์คาเบรียล จึงไปเข้า โรงเรียนเตรียมอุดมสามพราน เป็นเวลา 1 ปี โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียงคือ พล.ต.ท.สุนทร ซ้ายขวัญ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หลังจากนั้นไปเข้าเรียนต่อที่ วิลบราแฮม อะแคเดมี่ (Wilbraham Academy) โรงเรียนประจำระดับเตรียมอุดมศึกษา ใกล้เมืองสปริงฟิลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ มหาวิทยาลัยคลาร์ค เมืองวูสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายกร มีเพื่อนที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันในตระกูลคือ ปองพล อดิเรกสาร และ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ซึ่งเรียนโรงเรียนเดียวกัน และอยู่บ้านบริเวณเดียวกัน ทั้งที่ซอยราชครูและที่สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
[แก้]เมื่อนายกรสำเร็จการศึกษา กลับมาเมืองไทย ได้เข้าเริ่มงานแห่งแรกที่สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ในตำแหน่ง "ผู้ช่วยทูตการค้า" รับผิดชอบด้าน วิวัฒนาการ และพัฒนาเศรษฐกิจ ทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้
หลังจากทำงานที่ดังกล่าวได้ 6 ปี จึงเริ่มเข้าสู่วงการเมืองโดยรับหน้าที่เป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้กับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้เป็นน้าชาย และขณะนั้นกำลังเริ่มก่อตั้ง พรรคชาติไทย ทำให้นายกรได้มีส่วนร่วม ในการจัดตั้งพรรคชาติไทยมาตั้งแต่ต้น และได้ทำงานการเมืองอย่างต่อเนื่องนับแต่นั้นมา
ประวัติการทำงานการเมือง
[แก้]- ปี 2517 เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย
- ปี 2518 เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ปี 2519 เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ปี 2523 ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรรม
- ปี 2526 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันทุกสมัย (ปี 2526 – 2544)
- ปี 2529 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ปี 2531 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ดูแลงานด้านพลังงาน การลงทุนและการท่องเที่ยว (ปี 2531-2534)
- ปี 2534 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4]
- ปี 2535 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]
- ปี 2535 ร่วมก่อตั้งพรรคชาติพัฒนา โดยดำรงตำแหน่งโฆษกพรรค
- ปี 2535 ประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร (ปี 2535-2537)
- ปี 2537 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลงานด้านพลังงาน
- ปี 2538 ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร, รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
- ปี 2539 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[6]
- ปี 2541 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
- ปี 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา[7]
- ปี 2545 รองนายกรัฐมนตรี
- ปี 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปี 2547-2548)
การเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550
[แก้]นายกร ทัพพะรังสี ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาในปี พ.ศ. 2541 หลังจากถึงแก่อสัญกรรมของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมาก นายกรได้ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาและเข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย
เมื่อถึงคราววิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ยุบสภาลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 แล้ว นายกรก็ได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยและทุกตำแหน่งทันทีในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ คือวันรุ่งขึ้นเลย และยุติบทบาททางการเมืองไปชั่วระยะหนึ่ง จนกระทั่งเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคประชาราช ซึ่งนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประกาศจะสนับสนุนนายกรให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 นายกรได้ลาออกจากพรรคประชาราช กลับไปเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยอีกครั้ง
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
[แก้]- นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีน
- นายกสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา
- สมาชิกราชกรีฑาสโมสร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- บรูไน :
- พ.ศ. 2545 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปาดูกา เสรี ไลลา จาซา ชั้นที่ 1[10]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์[11]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]นายกร เติบโตที่บ้านเทเวศร์ซึ่งเป็นบ้านของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงเขยทางฝ่ายมารดา และเป็นที่ทราบกันว่า "นายกรเป็นหลานน้าชาติ" เนื่องจากมารดาของนายกร เป็นพี่สาวแท้ๆ ของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ญาติอีกคนที่สนิทสนมและเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับนายกร คือ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ผู้มีศักดิ์เป็นน้าเขย
นามสกุล "ทัพพะรังสี" เป็นนามสกุลพระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้แก่ เจ้าพระยานราธรหิรัญรัฐ (เยื้อน ทัพพะรังสี) ผู้เป็นอดีตเจ้าคลังจังหวัดสงขลาและเป็นพ่อของบุษยา รังสี นักร้องของวงดนตรีสุนทราภรณ์และมีศักดิ์เป็นปู่ของนายกร ทัพพะรังสี
นายกร สมรสกับ นางรพีพรรณ ทัพพะรังสี (สกุลเดิม ถาวรธาร) บุตรี นายชาญไชย ถาวรธาร อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีบุตรชาย 2 คน คือ นายกฤตพณ ทัพพะรังสี (โก้) และ นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี (ก้อง)
นายกรเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทส่งเสริมการเล่นแบดมินตัน โดยดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย และเคยดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก ในระหว่างปี 2001-2005
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2019-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๗, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2013-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ส่วนตัว www.korn.in.th เก็บถาวร 2015-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | กร ทัพพะรังสี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รักเกียรติ สุขธนะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) |
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | ||
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (10 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548) |
ประวิช รัตนเพียร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากเขตพญาไท
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- สกุลทัพพะรังสี
- สกุลชุณหะวัณ
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาราช
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย