ข้ามไปเนื้อหา

กตัญญู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้น Gratitude ที่Palácio Nacional da Ajuda

ความกตัญญู (อังกฤษ: Gratitude, thankfulness หรือ gratefulness, จากศัพท์ภาษาละติน gratus แปลว่า "ความพอใจ ความรู้คุณ")[1] เป็นความรู้สึกชื่นชมยินดี (หรือผลตอบรับเชิงบวกที่คล้ายคลึงกัน) ของผู้ได้รับความเมตตา,[2][3][4] ของขวัญ, ความช่วยเหลือ, ความโปรดปราน หรือความเอื้ออาทรอื่น ๆ[5] ต่อผู้ให้สิ่งนั้น[6][7]

ในอดีต ประสบการณ์แห่งความกตัญญูถือเป็นจุดสนใจในศาสนาของโลกหลายแห่ง[8] นอกจากนี้ก็ยังเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับนักปรัชญาในสมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ และยังคงมีส่วนร่วมต่อนักปรัชญาร่วมสมัย[9]

การศึกษาความกตัญญูในด้านจิตวิทยาอย่างเป็นระบบเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1998 เมื่อมาร์ติน เซลิกมานก่อตั้งจิตวิทยาสาขาใหม่ที่มีชื่อว่า จิตวิทยาเชิงบวก[10] ซึ่งมุ่งเน้นถึงการเสริมสร้างลักษณะเชิงบวก การศึกษาความกตัญญูภายในสาขาจิตวิทยาได้รวมถึงความเข้าใจในประสบการณ์ระยะสั้นตามอารมณ์ของความรู้สึกขอบคุณ (ความกตัญญูของรัฐ) ความแตกต่างในความถี่ของผู้รู้สึกขอบคุณในแต่ละบุคคล (ลักษณะความกตัญญู) และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองด้าน ตลอดจนประโยชน์ในการรักษาความกตัญญู[11][12]


มุมมองศาสนา

[แก้]

ความกตัญญู ในภาษาบาลี เเปลว่า รู้บุญคุณอันท่านกระทำให้แล้ว มักใช้คู่กับคำว่า กตเวที ที่แปลว่า ตอบแทนบุญคุณอันท่านกระทำให้แล้ว รวมเป็นคำว่า กตัญญูกตเวที มีพุทธสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวว่า นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตัญฺญูกตเวทิตา แปลว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี และพระพุทธศาสนา ได้จัดให้คนที่มีความกตัญญูกตเวทีเป็นหนึ่งในสองของอรรถบุคคลผู้หาได้ยากสองอย่าง คือ บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน และ กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะและตอบแทน

ในวัฒนธรรมพุทธได้แบ่งบุญคุณของผู้มีอุปการะได้5อย่างด้วยกัน คือ

1.อุปัตติคุณ บุญคุณที่ให้กำเนิด ให้ชีวิตและร่างกาย

2.อุปถัมภคุณ บุญคุณที่เลี้ยงดู ให้ข้าวให้น้ำให้ที่อยู่

3.อารักขคุณ บุญคุณที่เฝ้าปกป้องรักษา ไม่ให้เกิดอันตราย หาหมอยามเจ็บ ห้ามกระทำที่จะทำให้เราเกิดอันตราย และห้ามไม่ให้เราทำสิ่งผิดที่ให้เราเดือดร้อนในภายหลัง

4.สาสคุณ บุญคุณที่ให้การสั่งสอน ให้ความรู้

5.ปิยคุณ บุญคุณที่ให้ความรัก

พ่อแม่จัดว่ามีบุญคุณครบทั้ง5ประการ ส่วนครูอาจารย์จัดว่ามีบุญคุณข้อที่3 ข้อที่4 และข้อที่5

แต่ถ้าบุพพการีไม่มีข้อไหนก็ถือว่าไม่มีข้อนั้น เช่น พ่อแม่ให้กำเนิดแต่ไม่เคยเลี้ยงดูเลย ก็ถือว่ามีแค่ข้อแรกข้อเดียว

หมายเหตุ บุพการีที่แท้จริงคือผู้ที่ทำความดีให้อย่างบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แม้ว่าจะไม่ได้ร่ำรวยมีทรัพย์สมบัติให้จำนวนมาก แต่มีความดีให้เป็นปริมาณมหาศาลจนหาอะไรเทียบไม่ได้ นั่นคือบุพการีที่แท้จริง ส่วนผู้กตัญญูที่แท้จริง แม้จะไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ก็รู้คุณ และพยายามตอบแทนคุณเท่าที่จะสามารถทำได้ สุดความสามารถ อย่างบริสุทธิ์ใจ ก็เป็นบุคคลที่กตัญญูอย่างแท้จริง

ทั้งบุพการี และกตัญญูคุณ แม้ว่าจะไม่ได้มีอำนาจบารมี ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงหรือความสามารถ แต่ก็ตั้งใจทำดีให้กันและกัน และพยายามทำตนให้เป็นคนดี นั่นแหละถึงเป็นบุคคล 2 ประเภทที่หาได้ยากบนโลก

บุคคลที่มีบุญคุณ แต่ไม่ตั้งตนเป็นคนดี หรือผู้ที่ตอบแทนคุณ แต่ไม่ตั้งตนเป็นคนดี

นั่นยังไม่ถือว่าเป็นคนดีที่แท้จริง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Definition of Gratitude - Oxford Dictionary, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12, สืบค้นเมื่อ 2022-02-05
  2. M I, Polikarpov (1996). Continuous Advances In Qcd 1996 - Proceedings Of The Conference. World Scientific, 1996. p. 128.
  3. Feild, Edward (1847). "A charge delivered to the clergy of the diocese of Newfoundland ... 1847". The British Library: 22. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. BLACKWOOD, WILLIAM (1839). "THE QUARTERLY JOURNAL OF AGRICULTURE, VOL IX JUNE 1838- MARCH 1839". The Quarterly Journal of Agriculture. 9: 181.
  5. Parliament, Legislative Assembly, Canada, Parliament (1855). "Journals of the Legislative Assembly of the Province of Canada, Volume 13, Part 2". Journals of the Legislative Assembly of the Province of Canada. 13 (2): 811.
  6. Definition of Gratitude - Cambridge Dictionary
  7. Britton, John (1814). "Cathedral Antiquities: Salisbury. 1814. Gloucester. 1829". Cathedral Antiquities. Longman. 2: 5.
  8. Emmons, Robert A.; Crumpler, Cheryl A. (2000). "Gratitude as a Human Strength: Appraising the Evidence". Journal of Social and Clinical Psychology. 19 (1): 56–69. doi:10.1521/jscp.2000.19.1.56.
  9. Manela, Tony. Gratitude. In Stanford Encyclopedia of Philosophy, edited by Edward N. Zalta, 2015. [1]
  10. "The 5 Founding Fathers and A History of Positive Psychology". PositivePsychology.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
  11. Wood, A. M.; Maltby, J.; Stewart, N.; Linley, P. A.; Joseph, S. (2008). "A social-cognitive model of trait and state levels of gratitude" (PDF). Emotion. 8 (2): 281–290. doi:10.1037/1528-3542.8.2.281. PMID 18410201. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
  12. McCullough, M. E.; Tsang, J.; Emmons, R. A. (2004). "Gratitude in intermediate affective terrain: Links of grateful moods to individual differences and daily emotional experience" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 86 (2): 295–309. doi:10.1037/0022-3514.86.2.295. PMID 14769085. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]