กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์
อุณหพลศาสตร์ |
---|
กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ กล่าวถึง กฎทรงพลังงาน ความว่า
พลังงานภายในของระบบที่เพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณพลังงานความร้อนที่นำเข้าสู่ระบบ ลบด้วยพลังงานที่สูญเสียไปเป็นงานของระบบที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อม
(The increase in the internal energy of a system is equal to the amount of energy added by heating the system, minus the amount lost as a result of the work done by the system on its surroundings.)
กล่าวคือ พลังงานในระบบอุณหพลศาสตร์หนึ่ง ๆ จะมีค่ารวมเท่าเดิมเสมอ ความร้อนที่เกิดขึ้นคือกระบวนการนำพลังงานเข้าสู่ระบบจากแหล่งอุณหภูมิสูง หรือสูญเสียออกจากระบบโดยส่งออกไปยังแหล่งอุณหภูมิต่ำ พลังงานนี้อาจสูญเสียไปจากการเกิดงานทางกลต่อสิ่งแวดล้อมของระบบ หรืออาจกล่าวว่าการทำให้เกิดงานทางกลต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดพลังงานขึ้นก็ได้ กฎข้อที่หนึ่งกล่าวถึงพลังงานเหล่านี้ว่ามีผลรวมคงที่ นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายใน ย่อมจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่นำเข้าระบบ ลบด้วยปริมาณความร้อนที่สูญเสียออกจากระบบ (ซึ่งทำให้เกิดงานทางกลต่อสิ่งแวดล้อม)
สมการ
[แก้]สำหรับระบบเทอร์โมได้นามิกแบบปิด, กฎข้อแรกของเทอร์โมไดนามิกได้กล่าวไว้ว่า
- หรือเท่ากับ
โดยที่ คือปริมาณของพลังงานที่เพิ่มเข้ามาในระบบโดยกระบวนการความร้อน, เป็นปริมาณของพลังงานที่สูญเสียไปจากระบบเนื่องจากงานที่กระทำโดยระบบไปที่สภาพแวดล้อมและ คือการเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายในของระบบ
เครื่องหมาย δ หน้าพจน์ของความร้อนและงานนั้นใช้เพื่อบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของพลังงาน ซึ่งเป็นคนละความหมายกับ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของพลังงานภายใน (ดูเพิ่มได้ที่ Inexact differential) งานและความร้อนหมายถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดการเพิ่มหรือหายไปของพลังงานในระบบ ในขณะที่พลังงานภายใน เป็นสมบัติในสภาวะหนึ่งของระบบเมื่อระบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพสมดุลทางความร้อนนั่นคือ พจน์ "พลังงานความร้อน" หมายถึง "ปริมาณของพลังงานที่ถูกเพิ่มเข้ามาเนื่องจากผลของการให้ความร้อน" ไม่ได้หมายถึงรูปแบบของพลังงานชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกันพจน์ "งาน" หมายถึง "ปริมาณของพลังงานที่สูญเสียไปซึ่งเป็นผลมาจากงาน" นั่นคือคน ๆ หนึ่งสามารถบอกถึงปริมาณของพลังงานภายในของระบบความร้อนได้โดยรู้สถานะหนึ่งของระบบแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าก่อนหน้านั้นมีพลังงานเท่าไหร่ไหลเข้าหรืออกจากระบบเนื่องจากผลของการร้อนขึ้นหรือเย็นลงหรือจากงานที่กระทำหรือถูกกระทำ โดยรู้เพียงแค่สถานะหนึ่งของระบบ
เอนโทรปี เป็นฟังก์ชั่นของสถานะของระบบซึ่งบอกถึงข้อจำกัดของความเป็นไปได้ในการแปลงความร้อนเป็นงาน
สำหรับระบบยุบตัวได้อย่างง่าย (simple compressible system), งานที่ถูกกระทำโดยระบบสามารถอธิบายได้โดย
ซึ่ง หมายถึงความดันและ คือ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ของปริมาตรของระบบ, ซึ่งแต่ละตัวเป็นตัวแปรของระบบ ในกรณีสมมุติที่กระบวนการเป็นกระบวนการอดุมคติและช้าอย่างเป็นอนันต์ หรือที่เรียกว่า กระบวนการกึ่งคงที่ (quasi-static) และเป็นกระบวนการย้อนกลับได้, ความร้อนที่ถูกถ่ายโอนจากแหล่งกำเนิดด้วยอุณหภูมิที่มากกว่าอณหภูมิของระบบซึ่งมากกว่าแบบน้อยมาก ๆ จนเป็นอนันต์ หรือเรียกว่ามากกว่าแบบกณิกนันต์ (infinitesimally), พลังงานความร้อนนี้สามารถอธิบายได้โดย
โดยที่ คืออุณหภูมิและ คือการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ของเอนโทรปีของระบบ ซึ่งอุณหภูมิและเอนโทรปีเป็นตัวแปรของระบบ
ถ้าระบบเปิด (โดยที่อาจมีการแลกเปลี่ยนมวลกับสภาพแวดล้อมได้) มีกำแพงหลายกำแพงซึ่งมวลมีการแลกเปลี่ยนผ่านกำแพงที่แยกระหว่างความร้อนและงานที่แลกเปลี่ยนแล้ว กฎข้อแรกของเทอร์โมไดนามิกสามารถเขียนได้ดังนี้
โดยที่ คือมวลที่เพิ่มเข้ามาและ คือพลังงานภายในต่อหน่วยมวลของมวลที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งวัดจากสภาพแวดล้อมก่อนเกิดกระบวนการ
อ้างอิง
[แก้]- Goldstein, Martin, and Inge F. (1993). The Refrigerator and the Universe. Harvard University Press. ISBN 0-674-75325-9. OCLC 32826343. Chpts. 2 and 3 contain a nontechnical treatment of the First Law.
- Çengel Y.A. and Boles M. (2007). "Thermodynamics: an engineering approach". McGraw-Hill Higher Education. ISBN 0-07-125771-3. Chapter 2.
- Atkins P. (2007). "Four Laws that drive the Universe". OUP Oxford. ISBN 0-19-923236-9.