กรมสุขภาพจิต
Department of Mental health | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ที่ทำการของกรม | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 88/20 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
บุคลากร | 7,104 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 3,011,386,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงสาธารณสุข |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กรมสุขภาพจิต เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ในการพัฒนางานสุขภาพจิตของประเทศ โดยมีภารกิจหลักเกี่ยวกับ การพัฒนาวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการส่งเสริม ป้องกันปัญหายาเสพติด บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งจัดให้มีบริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและประชาชน
ประวัติ
[แก้]ช่วงที่ 1 (การก่อตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต)
[แก้]ในวันที่ 1 พฤศจิกายน รศ. 108 (พ.ศ. 2432) โรงพยาบาลคนเสียจริตได้เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรก โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านทิศเหนือของป้อมปัจจามิตร ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองสาน อยู่ภายใต้การดูแลของ กรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ ซึ่งได้ย้ายมาก่อสร้างในที่ดินของตระกูล สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันต่อไป
กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ในปี 2416 ได้มีการพัฒนาด้านการบำบัดรักษา แบบตะวันตกมากขึ้น รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้ ทางจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิตและจิตวิทยา ตลอดจนขยายงานสุขภาพจิต ไปยังสถาบันการศึกษาด้วย และในปีเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อ โรงพยาบาลคนเสียจริต เป็นโรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี ในปี 2476 ได้โอนย้ายไป ขึ้นอยู่กับ กองสาธารณสุขพระนคร กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
ช่วงที่ 2 (เปลี่ยนเป็นกรมสุขภาพจิต)
[แก้]ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 ได้โอนกองสุขภาพจิต มาสังกัด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อ เป็น กองโรงพยาบาลโรคจิต และเป็น กองสุขภาพจิต เมื่อปี 2515 ตามลำดับ มีสำนักงานอยู่ในบริเวณวังเทวะเวสม์ สามเสน กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตทั่วประเทศ มีหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เปลี่ยนชื่อ " สถาบันสุขภาพจิต " เป็นกรมสุขภาพจิต และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 ก็ได้ย้ายที่ทำการอยู่ ณ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จนถึงปัจจุบัน
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]กองส่วนกลาง
[แก้]- สำนักวิชาการสุขภาพจิต
- สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต
- สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองบริหารการคลัง
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
- สำนักงานเลขานุการกรมสุขภาพจิต
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต
- สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
- สำนักความรอบรู้สุขภาพจิต
หน่วยบริการ
[แก้]- โรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก
- สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้
- สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
- โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
- สถาบันราชานุกูล
- โรงพยาบาลศรีธัญญา
- สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
- โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
- โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์
- โรงพยาบาลสวนปรุง
- โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
- สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
- สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
- สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ศูนย์สุขภาพจิต
[แก้]- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12
- ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13
อธิบดีกรมสุขภาพจิต
[แก้]รายนาม | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|
นายแพทย์อุดม ลักษณวิจารณ์*** | 1 กรกฎาคม 2535 – 30 กันยายน 2535 |
นายแพทย์สมโภชน์ สุขวัฒนา*** | 1 ตุลาคม 2535 – 30 กันยายน 2536 |
นายแพทย์ยุทธ โพธารามิก*** | 5 ตุลาคม 2536 – 4 ตุลาคม 2537 |
นายแพทย์ชูทิตย์ ปานปรีชา | 4 ตุลาคม 2537 – 30 กันยายน 2539 |
นายแพทย์ปรีชา อินโท | 1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2541 |
นายแพทย์วินัย วิริยกิจจา | 1 ตุลาคม 2541 – 30 กันยายน 2544 |
นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ | 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2547 |
นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ | 1 ตุลาคม 2547 – 30 กันยายน 2551 |
นายแพทย์ชาตรี บานชื่น | 1 ตุลาคม 2551 – 30 กันยายน 2553 |
นายแพทย์อภิชัย มงคล | 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554 |
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ | 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555 |
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ | 1 ตุลาคม 2555 – 1 กันยายน 2556 |
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข | 2 กันยายน 2556 – 30 กันยายน 2559 |
น.ต. นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2561 |
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต | 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2563 |
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร | 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 |
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ | 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2566 |
นายแพทย์ พงศ์เกษม ไข่มุกด์ | 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567 |
นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ | 1 ตุลาคม 2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ : ***ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมสุขภาพจิต, รายงานประจำปี 2566 กรมสุขภาพจิต (ฉบับเพิ่มเติม), สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต เก็บถาวร 2017-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แบบทดสอบกรมสุขภาพจิต เก็บถาวร 2017-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน