ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

พิกัด: 17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°E / 17.38639; 102.78833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร) / ทหาร
เจ้าของกรมท่าอากาศยาน / กองทัพอากาศไทย
พื้นที่บริการจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดบึงกาฬ
ที่ตั้งกองบิน 23 ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
เหนือระดับน้ำทะเล579 ฟุต / 176 เมตร
พิกัด17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°E / 17.38639; 102.78833
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/udonthani/
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
12/30 10,007 3,050 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร1,410,139
เที่ยวบิน12,522
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี หรือ สนามบินอุดรธานี (อังกฤษ: Udon Thani International Airport) (IATA: UTHICAO: VTUD) ตั้งอยู่ในตัวเมืองของ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 23 อุดรธานี) ซึ่งท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497[2] ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีได้รับการปรับปรุง สร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก และเชื่อมต่อกับตัวอาคารเดิมโดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2558

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นศูนย์กลางการบินของภาคอีสาน มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว โดยอยู่ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีจึงเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2466 ท่าอากาศยานอุดรธานีเปิดบริการเป็นครั้งแรกอยู่ภายในตัวเมืองอุดรธานี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2475 ได้ย้ายท่าอากาศยานย้ายมาสร้างใหม่ที่ตำบลหนองขอนกว้าง (บริเวณที่ตั้งกองบิน 23 ในปัจจุบัน) โดยมีทางวิ่งเป็นทางลูกรังยาวประมาณ 500 เมตร และในปี พ.ศ. 2500 ท่าอากาศยานอุดรธานีได้สร้างทางวิ่งใหม่เป็นคอนกรีตยาว 3,048 เมตร กว้าง 38 เมตร โดยความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2533 กรมการบินพลเรือน (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้ซื้อที่ดิน 400 ไร่ ที่ตำบลนาดี ถนนอุดร-เลย สร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและหอบังคับการบิน พร้อมลานจอดเครื่องบิน สามารถจอดเครื่องบินแอร์บัส เอ320ได้ 2 ลำ จากนั้นในปี พ.ศ. 2543-2545 กรมการบินพลเรือน (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้ขยายทางวิ่งจากความกว้าง 38 เมตร เป็น 45 เมตร รวมทั้งลานจอด พื้นที่ 47,250 ตารางเมตร สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 3 ลำ และ Boeing 737 ได้ 2 ลำ พร้อมกัน

ในปี พ.ศ. 2546-2548 ได้ก่อสร้างอาคารใหม่ (อาคารผู้โดยสาร A) พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน 1 สะพาน และปรับปรุงทางวิ่งและทางขับ และในปีพ.ศ. 2556-2558 ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีได้ปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิมให้เป็นอาคารที่พักผู้โดยสารระหว่างประเทศ (อาคารผู้โดยสาร B) พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบินอีก 1 สะพาน[3]

การจะให้บริษัทท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร

[แก้]

กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน[4][5]

ในเดือนมีนาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานีแทนกรมท่าอากาศยาน[6]

อาคารสถานที่

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีและกองบิน 23 มีพื้นที่ท่าอากาศยานรวมกันจำนวน 2,000 ไร่

อาคารผู้โดยสาร

[แก้]
ห้องพักผู้โดยสารขาออก อาคารผู้โดยสาร A

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 2 อาคาร คือ อาคาร A และอาคาร B เชื่อมกัน มีพื้นที่อาคารรวมกัน 19,200 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,200 คน/ชั่วโมง หรือประมาณ 3,460,000 คน/ปี และมีพื้นที่ลานจอดท่าอากาศยาน 135x600 เมตร รองรับอากาศยานประเภทโบอิง 737 ได้จำนวน 11 ลำ

อาคารผู้โดยสาร A

[แก้]

พื้นที่เช็คอินและตรวจบัตรโดยสารอยู่บริเวณประตู 1 โดยมีสายการบิน การบินไทย นกแอร์ และไทยเวียดเจ็ทแอร์ทำการบินออกจากอาคาร A และมีทางออกขึ้นเครื่องทั้งหมด 3 ประตู คือประตู 1, 2 และ 3

มีร้านอาหารตามสั่งอยู่ชั้นสองของอาคาร[7]

อาคารผู้โดยสาร B

[แก้]

พื้นที่เช็คอินและตรวจบัตรโดยสารอยู่บริเวณประตู 6 โดยมีสายการบินไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ ทำการบินออกจากอาคาร B และมีทางออกขึ้นเครื่องทั้งหมด 2 ประตู คือประตู 4 และ 5

มีร้านอาหารอยู่ 3 ร้านอยู่ชั้นหนึ่งของอาคาร[7]

ทางวิ่ง (รันเวย์)

[แก้]

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 3,048 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 303 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมีทางขับขนานกับทางวิ่ง 1 เส้น พร้อมทางขับออกจากทางวิ่ง 4 เส้น และทางขับสู่ลานจอดอีก 2 เส้น โดยส่วนมากจะมีความกว้างทั้งหมด 23 เมตร และการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน

รายชื่อสายการบิน

[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารที่ให้บริการ หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
เชียงใหม่ อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ เริ่ม 1 ก.พ. 68 อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
ภูเก็ต อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
หาดใหญ่ อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินบริการขนส่งสินค้า

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ [7]
เค-ไมล์ แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง [7]
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
หาดใหญ่ [7]

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยสมายล์ นครศรีธรรมราช ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
การบินลาว หลวงพระบาง ระหว่างประเทศ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย เชียงใหม่ ภายในประเทศ
อู่ตะเภา ภายในประเทศ
หัวหิน ภายในประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์

ระหว่างประเทศ

ไทเกอร์แอร์เวย์ สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
นกมินิ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกแอร์ เลย ภายในประเทศ
อุบลราชธานี ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
บิสิเนสแอร์ อินชอน (เช่าเหมาลำ) ระหว่างประเทศ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
วัน-ทู-โก กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
แองเจิลแอร์ไลน์ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ เชียงราย ภายในประเทศ
ภูเก็ต ภายในประเทศ

สถิติ

[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

[แก้]
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[8]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน ขนส่งสินค้า (ตัน)
2544 373,508 2,191 1,355.89
2545 356,037 ลดลง 4.68% 2,369 1,213.08
2546 357,309 เพิ่มขึ้น 0.36% 2,327 1,373.93
2547 613,740 เพิ่มขึ้น 71.77% 4,627 1,431.95
2548 672,355 เพิ่มขึ้น 9.55% 5,303 1,677.83
2549 675,703 เพิ่มขึ้น 0.50% 6,146 1,638.18
2550 719,307 เพิ่มขึ้น 6.45% 5,957 1,626.38
2551 661,247 ลดลง 8.07% 5,293 1,776.74
2552 722,587 เพิ่มขึ้น 9.28% 5,437 1,750.16
2553 816,602 เพิ่มขึ้น 13.01% 6,691 2,312.64
2554 1,011,881 เพิ่มขึ้น 23.91% 8,336 2,654.89
2555 1,184,517 เพิ่มขึ้น 17.06% 9,986 2,946.80
2556 1,325,302 เพิ่มขึ้น 11.89% 11,374 2,827.11
2557 1,682,709 เพิ่มขึ้น 26.97% 13,734 3,590.90
2558 2,213,689 เพิ่มขึ้น 31.56% 16,911 3,678.05
2559 2,350,005 เพิ่มขึ้น 6.16% 15,868 3,394.01
2560 2,577,524 เพิ่มขึ้น 9.68% 17,901 2,452.24
2561 2,651,242 เพิ่มขึ้น 2.86% 18,855 1,330.35
2562 2,507,926 ลดลง 5.41% 18,043 932.78
2563 1,410,139 ลดลง 43.77% 12,522 626.13
2564 661,795 ลดลง 53.06% 5,756 415.74

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 (อุดรธานี–หนองบัวลำภู–เลย) ประมาณ 600 เมตร ซึ่งอยู่บริเวณในวงแหวนรอบตัวเมือง มีลานจอดรถยนต์ทั้งหมด 4 ลานจอด สามารถจุรถยนต์ได้ 665 คัน คือ[7]

  • ลานจอดรถยนต์ A และ B เป็นลานจอดมีหลังคา มีกล้องวงจรปิด คิดค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท หากจอดรถ 8 ชั่วโมงขึ้นไปจะคิดเป็น 1 วัน วันละ 200 บาท
  • ลานจอดรถยนต์ C เป็นลานจอดแบบไม่มีหลังคา ยังไม่เปิดใช้บริการ
  • ลานจอดรถยนต์ D เป็นลานดิน ไม่คิดค่าบริการ แต่ท่าอากาศยานอุดรธานีจะไม่รับผิดชอบใดใดหากเกิดความเสียหายต่อรถยนต์และทรัพย์สินของท่าน

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่า และบริการแท็กซี่ให้บริการไปยังตัวเมืองอุดรธานีในราคา 200 บาทต่อคัน หรือหนองคายในราคา 900 บาทต่อคัน และรถตู้ให้บริการไปยังตัวเมืองอุดรธานีในราคา 80 บาทต่อท่าน และจากสนามบินไปหนองคายในราคา 200 บาทต่อท่าน[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรของกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  3. ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
  4. "เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน". ฐานเศรษฐกิจ. 8 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "คมนาคม เคาะให้ ทอท. เช่าบริหาร 3 สนามบิน ของ ทย. ระบุโอนให้ไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""ศักดิ์สยาม" เปิดไทม์ไลน์โอนย้าย 3 สนามบิน จ่อเสนอ ครม. เมษายนนี้". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 สิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
  8. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.