ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงบิลควิส เบกุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เจ้าหญิงบิลควิส เบกุม

เจ้าหญิงบิลควิส เบกุม
เจ้าหญิงแห่งอัฟานิสถาน
ประสูติ17 เมษายน พ.ศ. 2475 (92 ปี)
คาบูล อัฟกานิสถาน
พระบุตรเจ้าหญิงฮุไมรา เบกุม
เจ้าหญิงวานา เบกุม
เจ้าหญิงมายานา เบกุม
ราชวงศ์ราชวงศ์บาราคไซ
พระราชบิดาพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน

เจ้าหญิงบิลควิส เบกุม (อังกฤษ: Her Royal Highness Princess Bilqis Begum) ประสูติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2475 เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ และ สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน เป็นพระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ใน เจ้าชายอาหมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน มกุฎราชกุมารและผู้พิทักษ์พระราชบัลลังก์อัฟกานิสถาน พระองค์ปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2502 พระนางและพระราชมารดา ทรงสนับสนุนการเรียกร้องของนายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ให้สตรีสามารถถอดผ้าคลุมออกโดยสมัครใจ นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของสตรีในอัฟกานิสถาน และยังเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการปลดปล่อยสตรีของรัฐบาลดาวูด โดยขั้นตอนดังกล่าวกระทำขึ้นอย่างรอบคอบโดยทรงแนะนำคนงานสตรีที่สถานีวิทยุคาบูล ในปี 2500 ทรงส่งผู้แทนสตรีเข้าร่วมการประชุมสตรีแห่งเอเชียในเมืองไคโร และจ้างเด็กผู้หญิง 40 คนไปที่โรงงานเครื่องปั้นดินเผาของรัฐบาลในปี 2501 การกระทำกังกล่าวรัฐบาลตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปิดเผยขั้นตอนที่มีการโต้เถียงกันอย่างมาก ดังนั้น ในเดือนสิงหาคม 2502 สมเด็จพระราชินีฮุไมรา และ พระองค์ ได้ปรากฏพระองค์ในราชสำนักในพิธีสวนสนามของทหารพร้อมกับ เจ้าหญิงซามินา เบกุม ภริยาของนายกรัฐมนตรีและพระญาติร่วมพระราชวงศ์ หลังกจากนั้น พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในที่สาธารณะ และทรงเข้าร่วมงานสาธารณะมากมายในอัฟกานิสถานและในต่างประเทศ ในปี 2514 ทรงเข้าร่วมการเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย ซึ่งทรงเป็นตัวแทนของราชวงศ์อัฟกันพร้อมกับพระสวามี หลังจากนั้นพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถ ถูกปลดออกจากพระราขบัลลังก์ในปี 2516

สำหรับข้อมูลส่วนพระองคนั้น ทรงเสกสมรสจำนวน 1 ครั้ง และมีพระบุตรเป็นพระธิดาจำนวน 3 พระองค์ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้ดำรงพระอิสริยยศแห่งพระราชวงศ์ได้ เนื่องจากทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ คือ

  1. เจ้าหญิงฮุไมรา เบกุม
  2. เจ้าหญิงวานา เบกุม
  3. เจ้าหญิงมายานา เบกุม

อ้างอิง

[แก้]
  • Morgan, Robin (1996). Sisterhood is Global. Feminist Press. pp. 40. ISBN 1-55861-160-6.
  • Tamim Ansary (2012) Games without Rules: The Often-Interrupted History of Afghanistan