ข้ามไปเนื้อหา

เมซีเย 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เมซีเย 9
Messier 9
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง J2000)
ระดับVIII[1]
กลุ่มดาวคนแบกงู
ไรต์แอสเซนชัน17h 19m 11.78s[2]
เดคลิเนชัน–18° 30′ 58.5″[2]
ระยะห่าง25.8 พันปีแสง[3] (7.9 กิโลพาร์เซก)
โชติมาตรปรากฏ (V)7.7[4]
ขนาดปรากฏ (V)9.3′[5]
คุณสมบัติทางกายภาพ
มวลkg (4.22×105[3] M)
รัศมี45 ly[3]
อายุโดยประมาณ12.0 พันล้านปี (Gyr)[6]
ชื่ออื่นHD 156587, NGC 6333[7]
ดูเพิ่ม: กระจุกดาวทรงกลม, รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม

เมซีเย 9 (Messier 9 ที่รู้จักกันดีในชื่อ เอ็ม 9 หรือ เอ็นจีซี 6333)  เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู อยู่ในตำแหน่งทางตอนใต้ของกลุ่มดาว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของดาวอีตา-คนแบกงู (Eta Ophiuchi) และอยู่ส่วนบนของเมฆฝุ่นมืดที่มีชื่อว่า บาร์นาร์ด 64[5][8] ถูกค้นพบโดย ชาร์ล เมซีเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1764 เมซีเยคิดว่าวัตถุนี้เป็นเนบิวลาที่ไม่มีดาวฤกษ์[9] แต่ทว่าในปี ค.ศ. 1783 วิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้แผ่นสะท้อนแสงเพื่อแยกดาวแต่ละดวงภายในกระจุกดาวได้ เขาคาดว่ากระจุกดาวจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7–8 ลิบดา โดยมีดาวฤกษ์หนาแน่นใกล้บริเวณศูนย์กลาง[10]

ขนาดโชติมาตรปรากฏ 7.7 และขนาดเชิงมุม 9.3 ลิบดา ดังนั้นจึงเป็นกระจุกดาวทรงกลมที่สังเกตได้อย่างง่ายดายด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา[5] เอ็ม 9 เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่สุด ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 5,500 ปีแสงและตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 25,800 ปีแสง[3]

ความส่องสว่างรวมของกระจุกดาวนี้อยู่ที่ประมาณ 120,000 เท่าของดวงอาทิตย์ โดยมีขนาดโชติมาตรสัมบูรณ์ −8.04 ดาวฤกษ์สว่างที่สุดที่ตั้งอยู่ใน เอ็ม 9 มีขนาดโชติมาตรปรากฏ 13.5 สามารถมองเห็นในกล้องโทรทรรศน์ขนาดปานกลางโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เอ็ม 9 มีดาวแปรแสง 24 ดวง ประกอบด้วยดาวแปรแสงอาร์อาร์ไลรี 21 ดวง, ดาวแปรแสงคาบยาว 1 ดวง, ดาวแปรแสงเซเฟอิดชนิดที่สอง 1 ดวง และดาวคู่คราส 1 ระบบ โดยไม่พบดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน หรือดาวแปรแสง SX Phoenicis[11] จากคาบของดาวแปรแสงอาร์อาร์ไลรี กระจุกดาวนี้จัดอยู่ในประเภท "Oosterhoff" ชนิดที่ 2 ซึ่งการกำเนิดจะไม่เกิดนอกบริเวณกาแล็กซี เอ็ม 9 มีอายุประมาณ 12 พันล้านปี[12]

บริเวณใกล้กับเอ็ม 9 บนท้องฟ้า ที่ประมาณ 80 ลิบดา (1 1/3 องศา) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอ็ม 9 มีกระจุกดาวทรงกลมเอ็นจีซี 6356 ที่มีแสงหรี่กว่า และในระยะเดียวกันทางตะวันออกเฉียงใต้มีกระจุกดาวทรงกลม เอ็นจีซี 6342 ตั้งอยู่

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shapley, Harlow; Sawyer, Helen B. (สิงหาคม 1927). "A Classification of Globular Clusters". Harvard College Observatory Bulletin. 849 (849): 11–14. Bibcode:1927BHarO.849...11S.{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Formiggini, Liliana; Brosch, Noah; และคณะ (พฤษภาคม 2002). "Hidden subluminous stars among the FAUST UV sources towards Ophiuchus". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 332 (2): 441–455. arXiv:astro-ph/0210325. Bibcode:2002MNRAS.332..441F. doi:10.1046/j.1365-8711.2002.05327.x.{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Boyles, J.; Lorimer, D. R.; และคณะ (พฤศจิกายน 2011). "Young Radio Pulsars in Galactic Globular Clusters". The Astrophysical Journal. 742 (1): 51. arXiv:1108.4402. Bibcode:2011ApJ...742...51B. doi:10.1088/0004-637X/742/1/51.{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  4. "Messier 9". SEDS Messier Catalog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 Gilmour, Jess K. (2012). The Practical Astronomer's Deep-sky Companion. The Patrick Moore Practical Astronomy Series. Springer Science & Business Media. p. 75. ISBN 978-1447100713.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  6. Koleva, M.; Prugniel, Ph.; และคณะ (เมษายน 2008). "Spectroscopic ages and metallicities of stellar populations: validation of full spectrum fitting". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 385 (4): 1998–2010. arXiv:0801.0871. Bibcode:2008MNRAS.385.1998K. doi:10.1111/j.1365-2966.2008.12908.x.
  7. "M 9". SIMBAD. Centre de données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 2006-11-15.
  8. O'Meara, Stephen James (2014). Deep-Sky Companions: The Messier Objects. Cambridge University Press. p. 71. ISBN 978-1107018372.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  9. Machholz, Don (2002). The Observing Guide to the Messier Marathon: A Handbook and Atlas. Cambridge University Press. p. 23. ISBN 978-0521803861.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  10. Klein, Hermann Joseph (1901). Star Atlas. Society for promoting Christian knowledge. p. 55.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  11. Clement, C. M., Ip, P. & Robert, N. (พฤศจิกายน 1984). A new investigation of the variable stars in the globular cluster Messier 9. The Astronomical Journal, 89(11): 1707–1711, 1766. Bibcode:1984AJ.....89.1707C. ISSN 0004-6256.
  12. Arellano Ferro, A.; Bramich, D. M.; และคณะ (กันยายน 2013). "A detailed census of variable stars in the globular cluster NGC 6333 (M9) from CCD differential photometry". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 434 (2): 1220–1238. arXiv:1306.3206. Bibcode:2013MNRAS.434.1220A. doi:10.1093/mnras/stt1080.{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

พิกัด: Sky map 17h 19m 11.78s, −18° 30′ 58.5″