การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ | |
---|---|
การแทรกแซง | |
แขนผู้ป่วยมีสายสวนหลอดเลือดดำคาไว้ เป็นวิธีหนึ่งสำหรับให้การรักษาทางหลอดเลือดดำ | |
ICD-9-CM | 38.93 |
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ใช้สำหรับนำสารน้ำ ยา หรือสารอาหารเข้าสู่ร่างกายผ่านหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อชดเชยสารน้ำหรือให้สารอาหารกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารหรือสารน้ำทางปากได้ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อให้ยาหรือการรักษาด้วยสารอื่นๆ เช่น การให้เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด การให้เกลือแร่เพื่อแก้ไขภาวะเกลือแร่ผิดปกติ เป็นต้น
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นการนำสารเข้าไปสู่ระบบไหลเวียนโดยตรงซึ่งจะถูกส่งผ่านเลือดไปยังร่างกายส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็ว จึงถือเป็นวิธีการให้สารที่รวดเร็วที่สุด มีทั้งแบบฉีดให้หมดในครั้งเดียว หรือค่อยๆ หยดเข้าหลอดเลือดดำก็ได้ ก่อนจะฉีดสารเข้าหลอดเลือดดำต้องมีการเจาะเพื่อเข้าถึงหลอดเลือดดำให้ได้ก่อน โดยอาจใช้เข็มเจาะเลือดเจาะเข้าที่หลอดเลือดดำเพื่อฉีดสารเข้าร่างกาย หรือใช้เข็มพร้อมหลอดเพื่อคาหลอดไว้ในหลอดเลือดดำเพื่อสามารถให้ยาหรือสารน้ำซ้ำๆ หรือต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องเจาะหลอดเลือดดำใหม่ ในบางกรณีหากต้องคาสายเอาไว้เป็นเวลานานหรือมีข้อบ่งชี้อื่นอาจต้องใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ซึ่งปลายสายจะมีความยาวลึกเข้าไปถึงหลอดเลือดดำใหญ่ที่กลางร่างกาย
ผลข้างเคียงของการรักษาโดยเบื้องต้นคือความเจ็บปวดขณะเจาะหลอดเลือดดำผ่านผิวหนังซึ่งพบได้เป็นปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่หลอดเลือดอักเสบซึ่งอาจเกิดจากการฉีดซ้ำๆ การคาสายเอาไว้เป็นเวลานาน หรือการฉีดสารที่มีฤทธิ์ระคายเคืองหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ยังอาจเกิดการเล็ดรอดของยาหรือสารน้ำออกจากหลอดเลือดดำเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ได้
มีบันทึกถึงความพยายามในการพยายามให้การรักษาด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อเทคนิกในการฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้รับการพัฒนาจนได้ผลดีและมีความปลอดภัย การรักษาด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำจึงได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น
ประโยชน์
[แก้]ประโยชน์ทางการแพทย์
[แก้]สารน้ำ
[แก้]สามารถให้สารน้ำเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาตรสารน้ำหรือชดเชยสารน้ำผ่านการให้ทางหลอดเลือดดำได้
สารละลายคริสตัลลอยด์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดคือน้ำเกลือ ซึ่งเป็นสารละลายของเกลือโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0.9% ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับความเข้มข้นของเลือด
ยาและการรักษา
[แก้]สามารถผสมยาเข้ากับสารน้ำข้างต้น เช่น น้ำเกลือ หรือสารละลายน้ำตาล เพื่อให้ทางหลอดเลือดดำได้[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Flynn E (2007). "Pharmacokinetic Parameters". xPharm: The Comprehensive Pharmacology Reference. Elsevier. pp. 1–3. doi:10.1016/b978-008055232-3.60034-0. ISBN 978-0-08-055232-3.