ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเบลเยียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 125: บรรทัด 125:


== ประชากร ==
== ประชากร ==
ในปี[[พ.ศ. 2549]] เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ใน[[เขตฟลามส์]]ราว 6 ล้านคน [[เขตวัลลูน]]ราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนใน[[เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์|เขตเมืองหลวง]] คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ [[แอนต์เวิร์ป]] (4.66 แสนคน) [[เกนต์]] (2.35 แสนคน) [[ชาร์เลอรัว]] (2 แสนคน) [[ลีเอช]] (1.88 แสนคน) [[บรัสเซลส์]] (1.45 แสนคน) เป็นต้น<ref name="popstats">[http://statbel.fgov.be/figures/d21_nl.asp Structuur van de bevolking] Federale Overheidsdienst Economie เรียกข้อมูลวันที่ 26 ต.ค. 2550 {{nl icon}}</ref>
ประชากร ประมาณ 10.27 ล้านคน เป็นชาวเฟลมมิช 58% ชาววัลลูน 31% และชาวเยอรมนีและอื่น ๆ 11%


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:23, 25 กันยายน 2550

ราชอาณาจักรเบลเยียม

ดัตช์: Koninkrijk België
คอนินเครย์ก เบลคีเอ
ฝรั่งเศส: Royaume de Belgique
รัวโยม ดู แบลชีก
เยอรมัน: Königreich Belgien
เคอนิกไรค์ เบลกีน
คำขวัญดัตช์: Eendracht maakt macht
ฝรั่งเศส: L'union fait la force
เยอรมัน: Einigkeit macht stark
("Strength through Unity")
เพลงชาติ"La Brabançonne" (The Song of Brabant)
ที่ตั้งของเบลเยียม
เมืองหลวงบรัสเซลส์
เมืองใหญ่สุดบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป1
ภาษาราชการภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน
การปกครองสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
กาย แวร์ฮอฟชตัดท์
เอกราช จาก เนเธอร์แลนด์
• ประกาศ
4 ตุลาคม พ.ศ. 2373
19 เมษายน พ.ศ. 2382
6.4
ประชากร
• 2548 ประมาณ
10,419,000 (77)
• สำมะโนประชากร 2544
10,296,350
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2547 (ประมาณ)
• รวม
316.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (30)
31,400 ดอลลาร์สหรัฐ (12)
เอชดีไอ (2547)0.945
สูงมาก · 13
สกุลเงินยูโร (€]])2 (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์32
โดเมนบนสุด.be3
1บัรสเซลส์เป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุด ส่วนแอนต์เวิร์ปเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดโดยมีสถานะตามกฎหมาย
2ก่อนปี พ.ศ. 2542 ใช้ฟรังก์เบลเยียม
3และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ๆ ได้แก่ฟลานเดอร์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอร์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย

คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัย

ประวัติศาสตร์

มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิส (la Meuse)

ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลติกที่ชื่อ Belgae และก่อตั้งเป็นจังหวัด Gallia Belgica ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในกา่รควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์ Merovingian[1] พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่้อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป

หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแธร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน

ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้

ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358

เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปีพ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้า่เลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374

เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก[1] เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ อาทิเช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น

การเมืองการปกครอง

เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา[2] ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513[3]

รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435[4]

การแบ่งเขตการปกครอง

ชาววัลลูนและชาวฟลามส์ในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามภูมิภาค คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละแคว้นมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์ หรือฟลานเดอร์ เขตวัลลูน หรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์

โดยฟลานเดอร์และวัลโลเนียแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

แคว้นฟลานเดอร์ (Flanders) แคว้นวัลโลเนีย (Wallonia)
แอนต์เวิร์ป (Antwerp) เอโน (Hainaut)
อีสต์แฟลนเดอส์ (East Flanders) ลีแยช (Liège)
เฟลมิชบราบานต์ (Flemish Brabant) ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
ลิมเบิร์ก (Limburg) นามูร์ (Namur)
เวสต์แฟลนเดอส์ (West Flanders) วัลลูนบราบานต์ (Walloon Brabant)

ภูมิศาสตร์

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก

เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.)[5] มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์เดนส์[6]

ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม[7] จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ[8]

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเบลเยียมมีลักษณะคือผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง เบลเยียมสนับสนุนเศรษฐกิจแบบเปิด และการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนเงินฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465

เบลเยียมเป็นประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรปประเทศแรกที่พบกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่้ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปรากฏการขยายตัวของอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเลียม วิกฤตการณ์น้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ

ประชากร

ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีเอช (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้น[9]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 History of Belgium visitbelgium.com เรียกข้อมูลวันที่ 26 ก.ค. 2550 (อังกฤษ)
  2. Morris, Chris (2005-05-13). "Language dispute divides Belgium". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  3. Historical outline of the federalism in Belgium AWEX เรียกข้อมูลวันที่ 26 ก.ค. 2550 (อังกฤษ)
  4. Compulsory Voting IDEA เรียกข้อมูลวันที่ 26 ก.ค. 2550 (อังกฤษ)
  5. [ข้อมูลประเทศเบลเยียมจากเวิลด์แฟกต์บุก] เรียกข้อมูลวันที่ 23 ส.ค. 2550 (อังกฤษ)
  6. "Belgium." Encarta เรียกข้อมูลวันที่ 23 ส.ค. 2550(อังกฤษ)
  7. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  8. Pearce, Fred (2003-03-05). "Sewage-laden Belgian water worst in world". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  9. Structuur van de bevolking Federale Overheidsdienst Economie เรียกข้อมูลวันที่ 26 ต.ค. 2550 (ดัตช์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA