ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาการเคล็ด"
แปลจากวิกีอังกฤษ |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:03, 26 กันยายน 2567
อาการเคล็ด/อาการแพลง (Sprain) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เอ็นยึดฉีก, distorsion |
ข้อเท้าแพลง มีรอยฟกช้ำและบวม | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์การกีฬา, เวชศาสตร์และการฟื้นฟูกายภาพ, ออร์โทพีดิกส์, เวชศาสตร์ครอบครัว, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | เจ็บปวด บวม ฟกช้ำ ข้อต่อไม่เสถียร ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อจำกัด |
ระยะดำเนินโรค | เป็นน้อย - ไม่กี่วัน–6 สัปดาห์
เป็นมาก - ไม่กี่สัปดาห์–เดือน ๆ |
สาเหตุ | การบาดเจ็บ การบาดเจ็บจากกีฬา การใช้งานมากเกินไป อันตรายจากสิ่งแวดล้อม |
ปัจจัยเสี่ยง | ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อายุ การฝึกซ้อมไม่ดีหรืออุปกรณ์กีฬาไม่เหมาะสม |
วิธีวินิจฉัย | ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ข้อ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | กล้ามเนื้อฉีก กระดูกหัก |
การป้องกัน | ยืดแขนขาและออกแรงกล้ามเนื้อบ่อย ๆ, ใส่อุปกรณ์พยุงข้อต่อที่เสี่ยงระหว่างออกกำลังกาย |
การรักษา | พักผ่อน, ประคบน้ำแข็ง, พันผ้ารัด, ยกสูง, ยาแก้ปวด NSAID |
ยา | ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) |
พยากรณ์โรค | แบบเป็นน้อยหายเองได้ดี
แบบเป็นมากน่าจะต้องผ่าตัดหรือทำกายภาพบำบัด |
อาการเคล็ด[1] หรือ อาการแพลง[2] (อังกฤษ: sprain) เป็นการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนคือเอ็นภายในข้อต่อ มักเกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันที่เกินขอบเขตการเคลื่อนไหวปกติ เอ็น/เอ็นยึด (ligament) เป็นเส้นใยที่เหนียวและยืดไม่ได้ ทำด้วยคอลลาเจน ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปเป็นข้อต่อ สำคัญต่อความเสถียรของข้อต่อและการรับรู้อากัปกิริยาซึ่งเป็นการรับรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของแขนขา[3] อาการอาจเป็นขั้นเบา (ระดับหนึ่ง) ปานกลาง (ระดับสอง) หรือมาก (ระดับสาม) โดยเอ็นยึดจะฉีกขาดบ้างในสองอย่างหลัง นี่อาจเกิดขึ้นที่ข้อต่อใดก็ได้แต่มักเกิดที่ข้อเท้า เข่า หรือข้อมือ[4] การบาดเจ็บที่คล้ายกันที่เกิดกับกล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เรียกว่า กล้ามเนื้อฉีก (strain)
ส่วนใหญ่อาการเป็นแบบเบา ทำให้เกิดอาการบวมและช้ำเล็กน้อยซึ่งหายได้ด้วยการรักษาแบบอนุรักษนิยม คือ พักผ่อน ประคบน้ำแข็ง พันผ้ารัด และยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูง อย่างไรก็ตาม อาการหนักอาจเป็นแบบฉีกขาดออกหมด การฉีก หรือกระดูกหักแบบดึงขาด (avulsion fracture) ซึ่งทำให้ข้อต่อไม่เสถียร เจ็บมาก และใช้งานได้น้อยลง ขั้นนี้ต้องผ่าตัดเพื่อยึดตรึง จำกัดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน และทำกายภาพบำบัด[5]
อาการ
- เจ็บปวด
- บวม
- ฟกช้ำหรือมีเลือดออกในเนื้อเยื่อเพราะหลอดเลือดแตกภายในเอ็นยึดที่บาดเจ็บ
- ข้อต่อไม่เสถียร[6]
- รับน้ำหนักได้ไม่ดี
- ใช้งานหรือมีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่บาดเจ็บลดลง[7]
- เมื่อเอ็นฉีกขาดอาจก่อเสียงแตกหรือเสียงดังป๊อบในขณะนั้น[8]
การรู้จักอาการแพลงอาจมีประโยชน์ในการแยกแยะการบาดเจ็บนี้จากกล้ามเนื้อฉีก (strain) และกระดูกหักธรรมดา อาการเคล็ดมักมากับความเจ็บปวด ตะคริว กล้ามเนื้อหดเกร็ง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกหักมักมากับอาการกดเจ็บที่กระดูกโดยเฉพาะเมื่อต้องรับน้ำหนัก[9]
สาเหตุ
อาการเคล็ดเฉียบพลันมักเกิดเมื่อข้อต่อถูกบังคับให้เคลื่อนไหวเกินขีดจำกัดอย่างกะทันหัน ในสถานการณ์ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือเมื่อเล่นกีฬา สาเหตุที่พบมากที่สุดทั่วไปก็คือการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ (คือใช้งานมากเกินไป)[10]
กลไก
เอ็นยึดเป็นเส้นใยคอลลาเจนที่เชื่อมต่อกระดูกเข้าด้วยกัน และให้ความเสถียรแบบไม่ใช้แรงแก่ข้อต่อ พบได้ในรูปแบบการจัดเรียงที่หลากหลาย เช่น ขนาน เฉียง เป็นเกลียว โดยขึ้นอยู่กับหน้าที่ของข้อต่อที่เกี่ยวข้อง เอ็นยึดสามารถอยู่นอกแคปซูลข้อต่อ (extra-capsular) เป็นส่วนต่อเนื่องกับแคปซูลข้อต่อ (capsular) หรืออยู่ภายในแคปซูลข้อต่อ (intra-articular)[3] ตำแหน่งมีความสำคัญในการรักษา เพราะเอ็นภายในแคปซูลมีเลือดไหลเลี้ยงน้อยเทียบกับทั้งสองตำแหน่งอื่นที่เหลือ[11]
เส้นใยคอลลาเจนมีเขตยืดหยุ่นประมาณ 4% ซึ่งเส้นใยจะยืดออกเมื่อเพิ่มน้ำหนักที่ข้อ อย่างไรก็ตาม การเกินขีดจำกัดความยืดหยุ่นนี้จะทำให้เส้นใยฉีก ทำให้แพลง เอ็นยึดจะปรับตัวต่อการออกกำลังกล้ามเนื้อโดยเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของเส้นใย[12] เมื่อเอ็นยึดถูกตรึงให้อยู่กับที่ ก็พบว่าจะอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น กิจกรรมประจำวันเป็นปกติจึงสำคัญเพื่อรักษาคุณสมบัติทางกลของเอ็นยึดไว้ประมาณ 80–90%[3]
ปัจจัยเสี่ยง
- ความเหนื่อยล้าและการใช้งานมากเกินไป[3]
- กีฬาที่ปะทะกันรุนแรง
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- วิธีการออกกำลังกายหรืออุปกรณ์ที่ใช้ไม่ดี[8]
- อายุและความโน้มเอียงทางพันธุกรรมต่อการบาดเจ็บของเอ็นยึด[13]
- ไม่ยืดแข้งเหยียดขาหรือวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย ซึ่งเมื่อทำอย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่นของข้อต่อ[14]
การวินิจฉัย
อาการแพลงมักวินิจฉัยได้ทางคลินิกโดยอาศัยอาการของผู้ป่วย กลไกการบาดเจ็บ และการตรวจร่างกาย แต่ก็สามารถเอกซ์เรย์เพื่อช่วยตรวจกระดูกหักได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการกดเจ็บหรือปวดกระดูกบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ[15] ในบางกรณี โดยเฉพาะถ้าหายช้าหรือสงสัยว่าบาดเจ็บหนักกว่าที่เห็น ก็อาจตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอเพื่อดูเนื้อเยื่ออ่อนและเอ็นยึดรอบ ๆ[16][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
การจำแนกประเภท
- อาการแพลงระดับหนึ่ง (เบา) มีการยืดและความเสียหายทางโครงสร้างของเอ็นยึดเล็กน้อย ทำให้บวมและช้ำแบบเบา ๆ มักไม่มีอาการข้อต่อไม่เสถียรหรือช่วงการเคลื่อนไหวข้อที่ลดลง[ต้องการอ้างอิง]
- อาการแพลงระดับสอง (ปานกลาง) - มีการฉีกบ้างของเอ็นยึด มักมีอาการบวม กดเจ็บ และข้อต่อไม่เสถียรบ้าง ข้อต่ออาจรับน้ำหนักไม่ดี[17]
- อาการแพลงระดับสาม (หนัก) - มีการฉีกหรือขาดอย่างบริบูรณ์ของเอ็นยึด บางครั้งอาจดึงชิ้นส่วนกระดูกออกมาด้วย มักมีอาการข้อต่อไม่เสถียรมาก ปวด ช้ำ บวม ข้อต่อรับน้ำหนักไม่ได้[18]
ข้อต่อที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่าข้อต่อใดก็สามารถเกิดการแพลงได้ แต่ที่พบบ่อยได้แก่[5]
- ข้อเท้า - การแพลงมักเกิดขึ้นที่ข้อเท้าและอาจใช้เวลาในการหายนานกว่ากระดูกข้อเท้าหัก ส่วนใหญ่มักเกิดที่เอ็นยึดด้านข้าง (lateral ligament) บริเวณด้านนอกของข้อเท้า เหตุสามัญรวมการเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบหรือเกิดระหว่างการเล่นกีฬาที่ปะทะกัน[19]
- การแพลงข้อเท้าแบบบิดเข้าด้านใน - เกิดเมื่อข้อเท้าหมุน/พลิกเข้าด้านใน
- การแพลงข้อเท้าแบบบิดออกด้านนอก - เกิดเมื่อข้อเท้าหมุน/พลิกออกด้านนอก
- นิ้วเท้า
- ข้อนิ้วโป้งเท้าแพลง (metatarsophalangeal joint sprain) เป็นการเหยียดนิ้วโป้งเท้าขึ้นเกินประมาณ โดยเฉพาะระหว่างการเล่นกีฬา (เช่น การเริ่มวิ่งเร็วบนพื้นที่แข็ง)[20]
- เข่า เข่ามักแพลงอย่างสามัญ โดยเฉพาะหลังจากการหมุนตัวอย่างรวดเร็วบนขาที่ปักไว้กับพื้นระหว่างเล่นกีฬาที่มีการปะทะ (เช่น อเมริกันฟุตบอล ฟุตบอล บาสเกตบอล ซอฟต์บอล เบสบอล และศิลปะการต่อสู้บางประเภท)[21]
- การบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้า (anterior cruciate ligament)
- การบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หลัง (posterior cruciate ligament)
- การบาดเจ็บที่เอ็นเข่าด้านใน (medial collateral ligament)
- การบาดเจ็บที่เอ็นเข่าด้านนอก (lateral collateral ligament)
- การเคล็ดที่ข้อต่อกระดูกแข้ง-น่องส่วนบน (superior tibiofibular joint sprain) มักเกิดจากการบิดที่ข้อต่อระหว่างกระดูกแข้งกับกระดูกน่อง
- กระดูกสะบ้าเคลื่อน (patellar dislocation)
- นิ้วมือและข้อมือ การเคล็ดข้อมือเกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะถ้าล้มแล้วใช้มือยัน
- การแพลงที่นิ้วโป้งมือ คือการจับอย่างแรงจะก่อการบาดเจ็บที่ ulnar collateral ligament (UCL) ที่ข้อโคนนิ้วโป้ง (metacarpophalangeal) ของมือ[22]
- กระดูกสันหลัง
- การเคล็ดคอที่กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebrae)
- การบาดเจ็บที่คอแบบวิปแลช (traumatic Cervical Spine Syndrome) เกิดจากการเหยียดและงอคออย่างรุนแรง มักพบในอุบัติเหตุรถชนท้าย[23]
- การเคล็ดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดจากการยกของอย่างไม่ถูกวิธีและกล้ามเนื้อลำตัวที่ไม่แข็งแรง
การรักษา
การรักษามักรวมมาตรการเชิงอนุรักษ์เพื่อลดอาการ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการฉีกหรือการฉีกขาดที่หนัก และการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นสภาพการทำงานของข้อต่อ แม้อาการส่วนใหญ่จะรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่การบาดเจ็บหนักอาจต้องปลูกถ่ายเอ็นหรือซ่อมเอ็นยึดโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์[24] จะต้องทำการฟื้นฟูสมรรถภาพแค่ไหนและเวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับความหนักเบา[25]
อาการแพลงที่เท้าเป็นการบาดเจ็บของเอ็นยึดที่เชื่อมกระดูกในเท้า กระบวนการฟื้นฟูมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคืนสภาพการทำงานปกติและป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต บทความนี้อธิบายถึงแนวทางทั่วไปในการฟื้นฟูจากการบาดเจ็บซึ่งแตกต่างกันไปตามความหนักเบา[26]
แบบไม่ผ่าตัด
ขึ้นอยู่กับกลไกการบาดเจ็บ ข้อต่อที่เกี่ยวข้อง และความหนักเบา อาการเคล็ดส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอนุรักษนิยมที่จะกล่าวต่อไป โดยทำภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่า การรักษาควรปรับให้เหมาะกับการบาดเจ็บและอาการเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย[27] ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และยา NSAID แบบทาภายนอกก็อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับยากิน[28]
- ป้องกัน - บริเวณที่บาดเจ็บควรได้รับการป้องกันและยึดตรึง เพราะเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บซ้ำที่เอ็นยึดซึ่งเป็นปัญหาเพิ่มขึ้น[29]
- พัก ข้อต่อที่ได้รับผลกระทบควรยึดตรึงไว้และควรลดการรับน้ำหนักให้น้อยที่สุด เช่น ควรจำกัดการเดินในกรณีที่ข้อเท้าแพลง[30]
- ประคบน้ำแข็ง ควรใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่บาดเจ็บทันทีเพื่อลดอาการบวมและปวด[31] สามารถใช้น้ำแข็งประคบ 3–4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10–15 นาที หรือจนกว่าอาการบวมจะลดลง โดยสามารถใช้ร่วมกับการพันผ้าเพื่อพยุง[30] การประคบเย็นยังสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ (น้อยกว่า 20 นาที)[32] เพราะการใช้น้ำแข็งเป็นเวลานานอาจลดการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่บาดเจ็บและทำให้หายช้าลง[33]
- กดรัด ควรใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าพันเพื่อยึดตรึงบริเวณที่บาดเจ็บและเพื่อให้การสนับสนุน เมื่อพันบริเวณที่บาดเจ็บ ควรรัดให้แน่นที่ปลายของบาดแผลแล้วลดความแน่นในทิศทางที่เข้ามาใกล้หัวใจ ซึ่งช่วยให้เลือดไหลเวียนจากปลายแขนขาไปยังหัวใจ การจัดการอาการบวมอย่างระมัดระวังด้วยการกดเย็น (cold compression therapy) สำคัญมากเพื่อให้หายเพราะป้องกันการคั่งของของเหลวในบริเวณที่บาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม การกดรัดไม่ควรขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในแขนขา[30]
- ยกสูง การยกข้อต่อที่เคล็ดให้สูงขึ้น (เมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของร่างกาย) จะช่วยลดอาการบวมได้[30]
วิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดอื่น ๆ รวมถึงเครื่องเคลื่อนไหวแขนขาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยผู้ป่วยไม่ออกแรง (continuous passive motion machine) และปลอกถุงน้ำแข็งแบบพิเศษ คือ cryocuff (เป็นเครื่องประคบเย็นที่เปิดใช้งานคล้ายกับเครื่องวัดความดันโลหิต) มีประสิทธิภาพลดอาการบวมและปรับปรุงช่วงการเคลื่อนไหว[34] การศึกษาปี 2018 แสดงว่าการให้ออกแรงที่ข้อเมื่อดึงไว้ด้วยสายยาง (joint mobilization using elastic band traction) มีประสิทธิภาพเท่ากับเทคนิคมาตรฐาน 5 อย่างด้านบนสำหรับผู้ป่วยเด็กที่แพลงข้อเท้า[35]
การฟื้นฟูสภาพการใช้งาน
องค์ประกอบของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการแพลงทั้งหมด รวมถึงการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่เป็นปัญหาและการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบค่อย ๆ เพิ่ม[36] หลังจากใช้มาตรการอนุรักษนิยมเพื่อลดอาการบวมและปวดแล้ว การเคลื่อนไหวแขนขาภายใน 48–72 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บได้พบว่า ช่วยให้หายโดยกระตุ้น growth factor ในเนื้อเยื่อกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็น growth factor ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์และการปรับโครงสร้างสารเคลือบเซลล์ (matrix remodeling)[25]
การยึดตรึงข้อให้ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานอาจทำให้อาการแพลงหายช้าลง เพราะกล้ามเนื้อมักจะฝ่อลีบหรืออ่อนแอ[37] อย่างไรก็ดี งานศึกษาปี 1996 แสดงนัยว่า การใช้อุปกรณ์พยุงสามารถช่วยให้หายโดยบรรเทาความปวดและทำให้ข้อมั่นคงเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมต่อเอ็นยึดหรือการบาดเจ็บซ้ำ[38] เมื่อใช้อุปกรณ์พยุง จำเป็นต้องแน่ใจว่าปลายแขนขามีเลือดไหลเวียนถึงอย่างเพียงพอ[39] เป้าหมายสูงสุดของการฟื้นฟูการใช้งานก็คือให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บซ้ำให้น้อยที่สุด
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ "sprain", NECTEC's Lexitron-2, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,
อาการเคล็ด
- ↑ กภ. บุริศร์ ผาสุกสมิต (2023-03-17). "การเตรียมรับมือกับภาวะโรคข้อเท้าแพลง (Ankle Sprain)". Faculty of Physical Therapy, Mahidol University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Bahr, Roald; Alfredson, Håkan; Järvinen, Markku; Järvinen, Tero; Khan, Karim; Kjaer, Michael; Matheson, Gordon; Maehlum, Sverre (2012-06-22), Bahr, Roald (บ.ก.), "Types and Causes of Injuries", The IOC Manual of Sports Injuries, Wiley-Blackwell, pp. 1–24, doi:10.1002/9781118467947.ch1, ISBN 978-1-118-46794-7
- ↑ Hartshorne, Henry. "Sprained Joints". The Home Cyclopedia Of Health And Medicine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-08. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
- ↑ 5.0 5.1 "Ligament Sprain". Physiopedia (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ Nancy Garrick, Deputy Director (2017-04-10). "Sprains and Strains". National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
- ↑ "Sprains and Strains". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
- ↑ 8.0 8.1 "Sprains - Symptoms and causes". Mayo Clinic (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
- ↑ "Strains and Sprains Signs, Symptoms, Diagnosis and Treatment Information on MedicineNet.com". MedicineNet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ "Sprains and Strains: Differences, Treatment, Symptoms, 3 Grades & Causes". MedicineNet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-21.
- ↑ Frank, C. B. (June 2004). "Ligament structure, physiology and function". Journal of Musculoskeletal & Neuronal Interactions. 4 (2): 199–201. ISSN 1108-7161. PMID 15615126.
- ↑ Doschak, M. R.; Zernicke, R. F. (March 2005). "Structure, function and adaptation of bone-tendon and bone-ligament complexes". Journal of Musculoskeletal & Neuronal Interactions. 5 (1): 35–40. ISSN 1108-7161. PMID 15788869.
- ↑ Longo, Umile Giuseppe; Loppini, Mattia; Margiotti, Katia; Salvatore, Giuseppe; Berton, Alessandra; Khan, Wasim S.; Denaro, Nicola Maffulli and Vincenzo (2014-12-31). "Unravelling the Genetic Susceptibility to Develop Ligament and Tendon Injuries". Current Stem Cell Research & Therapy (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 56–63. doi:10.2174/1574888x09666140710112535. PMID 25012736. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ Woods, Krista; Bishop, Phillip; Jones, Eric (2007-12-01). "Warm-Up and Stretching in the Prevention of Muscular Injury". Sports Medicine (ภาษาอังกฤษ). 37 (12): 1089–1099. doi:10.2165/00007256-200737120-00006. ISSN 1179-2035. PMID 18027995. S2CID 27159577.
- ↑ Vuurberg, Gwendolyn; Hoorntje, Alexander; Wink, Lauren M.; Doelen, Brent F. W. van der; Bekerom, Michel P. van den; Dekker, Rienk; Dijk, C. Niek van; Krips, Rover; Loogman, Masja C. M.; Ridderikhof, Milan L.; Smithuis, Frank F. (2018-08-01). "Diagnosis, treatment and prevention of ankle sprains: update of an evidence-based clinical guideline". British Journal of Sports Medicine (ภาษาอังกฤษ). 52 (15): 956. doi:10.1136/bjsports-2017-098106. ISSN 0306-3674. PMID 29514819.
- ↑ "Sprains: Diagnosis & Treatement". Mayo Clinic. 2022-10-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-28. สืบค้นเมื่อ 2024-09-24.
- ↑ Publishing, Harvard Health (2019-05-17). "Sprain (Overview)". Harvard Health. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ "Sprains, Strains and Other Soft-Tissue Injuries - OrthoInfo - AAOS". www.orthoinfo.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
- ↑ Shier, David; Butler, Jackie; Lewis, Ricki (2007). Hole's Human Anatomy & Physiology (11th ed.). McGraw Hill / Irwin. pp. 157, 160. ISBN 978-0-07-330555-4.
- ↑ "Turf Toe - OrthoInfo - AAOS". www.orthoinfo.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-24.
- ↑ Publishing, Harvard Health (2019-04-05). "Knee Sprain". Harvard Health. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ Hung, Chen-Yu; Varacallo, Matthew; Chang, Ke-Vin (2020), "Gamekeepers Thumb (Skiers, Ulnar Collateral Ligament Tear)", StatPearls, StatPearls Publishing, PMID 29763146, สืบค้นเมื่อ 2020-04-24
- ↑ Tanaka, Nobuhiro; Atesok, Kivanc; Nakanishi, Kazuyoshi; Kamei, Naosuke; Nakamae, Toshio; Kotaka, Shinji; Adachi, Nobuo (2018-02-28). "Pathology and Treatment of Traumatic Cervical Spine Syndrome: Whiplash Injury". Advances in Orthopedics. 2018: 4765050. doi:10.1155/2018/4765050. ISSN 2090-3464. PMC 5851023. PMID 29682354.
- ↑ Petersen, Wolf; Rembitzki, Ingo Volker; Koppenburg, Andreas Gösele; Ellermann, Andre; Liebau, Christian; Brüggemann, Gerd Peter; Best, Raymond (August 2013). "Treatment of acute ankle ligament injuries: a systematic review". Archives of Orthopaedic and Trauma Surgery. 133 (8): 1129–1141. doi:10.1007/s00402-013-1742-5. ISSN 0936-8051. PMC 3718986. PMID 23712708.
- ↑ 25.0 25.1 Publishing, Harvard Health (2007-02-08). "Recovering from an ankle sprain". Harvard Health. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- ↑ "Stepping Up Your Game: Mastering Foot Sprain Recovery". revivalpt.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-04-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
- ↑ van den Bekerom, Michel P.J; Struijs, Peter A.A; Blankevoort, Leendert; Welling, Lieke; van Dijk, C. Niek; Kerkhoffs, Gino M.M.J (August 2012). "What Is the Evidence for Rest, Ice, Compression, and Elevation Therapy in the Treatment of Ankle Sprains in Adults?". Journal of Athletic Training. 47 (4): 435–443. doi:10.4085/1062-6050-47.4.14. ISSN 1062-6050. PMC 3396304. PMID 22889660.
- ↑ Derry, S; Moore, RA; Gaskell, H; McIntyre, M; Wiffen, PJ (June 2015). "Topical NSAIDs for acute musculoskeletal pain in adults". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 6 (6): CD007402. doi:10.1002/14651858.CD007402.pub3. PMC 6426435. PMID 26068955.
- ↑ Bleakley, CM; O'Connor, SR; Tully, MA; Rocke, LG; Macauley, DC; Bradbury, I; Keegan, S; McDonough, SM (2010-05-10). "Effect of accelerated rehabilitation on function after ankle sprain: randomised controlled trial". BMJ. 340: c1964. doi:10.1136/bmj.c1964. PMID 20457737.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 "Sprained Ankle". American Academy of Orthopaedic Surgeons. March 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
- ↑ Hubbard, Tricia J.; Denegar, Craig R. (2004). "Does Cryotherapy Improve Outcomes With Soft Tissue Injury?". Journal of Athletic Training. 39 (3): 278–279. ISSN 1062-6050. PMC 522152. PMID 15496998.
- ↑ Cramer, H; Ostermann, T; Dobos, G (February 2018). "Injuries and other adverse events associated with yoga practice: A systematic review of epidemiological studies". Journal of Science and Medicine in Sport. 21 (2): 147–154. doi:10.1016/j.jsams.2017.08.026. PMID 28958637.
- ↑ Singh, Daniel P.; Barani Lonbani, Zohreh; Woodruff, Maria A.; Parker, Tony J.; Steck, Roland; Peake, Jonathan M. (2017-03-07). "Effects of Topical Icing on Inflammation, Angiogenesis, Revascularization, and Myofiber Regeneration in Skeletal Muscle Following Contusion Injury". Frontiers in Physiology. 8: 93. doi:10.3389/fphys.2017.00093. ISSN 1664-042X. PMC 5339266. PMID 28326040.
- ↑ Liao, Chun-De; Tsauo, Jau-Yih; Huang, Shih-Wei; Chen, Hung-Chou; Chiu, Yen-Shuo; Liou, Tsan-Hon (April 2019). "Preoperative range of motion and applications of continuous passive motion predict outcomes after knee arthroplasty in patients with arthritis". Knee Surgery, Sports Traumatology, Arthroscopy. 27 (4): 1259–1269. doi:10.1007/s00167-018-5257-z. ISSN 1433-7347. PMID 30523369. S2CID 54446697.
- ↑ Iammarino, Kathryn; Marrie, James; Selhorst, Mitchell; Lowes, Linda P. (February 2018). "Efficacy of the Stretch Band Ankle Traction Technique in the Treatment of Pediatric Patients with Acute Ankle Sprains: A Randomized Control Trial". International Journal of Sports Physical Therapy. 13 (1): 1–11. doi:10.26603/ijspt20180001. ISSN 2159-2896. PMC 5808004. PMID 29484236.
- ↑ Keene, David J; Williams, Mark A; Segar, Anand H; Byrne, Christopher; Lamb, Sarah E (2016-02-25). "Immobilisation versus early ankle movement for treating acute lateral ankle ligament injuries in adults". Cochrane Database of Systematic Reviews. doi:10.1002/14651858.cd012101. ISSN 1465-1858. S2CID 74861780.
- ↑ Mattacola, Carl G.; Dwyer, Maureen K. (2002). "Rehabilitation of the Ankle After Acute Sprain or Chronic Instability". Journal of Athletic Training. 37 (4): 413–429. ISSN 1062-6050. PMC 164373. PMID 12937563.
- ↑ "Ankle Sprains: Healing and Preventing Injury". American Academy of Family Physicians. 2010-12-01 [Created:1996-01-01].
- ↑ Hsu, Hunter; Siwiec, Ryan M. (2019), "Forearm Splinting", StatPearls, StatPearls Publishing, PMID 29763155, สืบค้นเมื่อ 2019-03-12
แหล่งข้อมูลอื่น
- Questions and Answers about Sprains and Strains - US National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |