ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox Military Unit | unit_name = กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี | native_name = กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 1 | image =Surasakmontri Command Logo.png | caption = เครื่องหมาย | start_date = {{วันเริ่มต้นและอายุ|2521|6|16}} | dissolution = | country = {{flag|Thailand}}...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:57, 16 กรกฎาคม 2567

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 1
เครื่องหมาย
ประจำการ16 มิถุนายน พ.ศ. 2521; 46 ปีก่อน (2521-06-16)
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบกองกำลังป้องกันชายแดน
หน่วยเฉพาะกิจ
บทบาทการลาดตระเวน
หน่วยยามชายแดน
กำลังกึ่งทหาร
ขึ้นกับ กองทัพบกไทย
กองบัญชาการค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สมญากกล.สุรศักดิ์มนตรี
ปฏิบัติการสำคัญการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
เว็บไซต์surasakmontri.rta.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรีพลตรี นรธิป โพยนอก
เสธ.กกล.สุรศักดิ์มนตรีพันเอก วีระวัฒน์ ท้าวพิมพ์
เครื่องหมายสังกัด
ฉก.ตชด.23
ฉก.ตชด.24
นรข.
เขตหนองคาย
เขตนครพนม
ฉก.ทพ.21

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (อังกฤษ: Surasakmontri Command[1] และ Surasakmontri Task Force[2]) คือกองกำลังป้องกันชายแดน 1 ใน 7 ของกองทัพบกไทย[3] ตั้งอยู่ที่ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ดูแลพื้นที่ชายแดนไทย–ลาวช่วงจังหวัดเลย, หนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม และมุกดาหาร รวมความยาวประมาณ 804 กิโลเมตร (500 ไมล์)[4]

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรียังปฏิบัติงานในฐานะ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 1 (กอ.รมน.ภาค 2 สย.1) อีกด้วย

ประวัติ

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ก่อตั้งขึ้นจากสถานการณ์ในพื้นที่ประเทศลาวที่เกิดความไม่สงบขึ้นภายในประเทศ ซึ่งบางพื้นที่ของประเทศไทยติดกับแนวชายแดนมักจะถูกผู้ก่อความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้านลักลอบเข้ามาตั้งฐานในการกลับไปโจมตีในพื้นที่ประเทศของตน ทำให้หลายครั้งเกิดการโจมตีจากประเทศเพื่อนบ้านมายังกองกำลังดังกล่าวในฝั่งไทย ในขณะเดียวกันในบางพื้นที่ตรงข้ามกับฝั่งไทยก็ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ตั้งเป็นฐานปฏิบัติการเพื่อข้ามฝั่งเข้ามาปฏิบัติการโจมตีและปล้นสะดมชาวบ้านตามแนวชายแดน รวมถึงกวาดต้อนราษฎรไทยให้ออกไปจากพื้นที่ ทำให้รัฐบาลในเวลานั้นมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีเฉพาะที่ 97/2521 เรื่อง การป้องกันชายแดน และมอบหมายให้กองทัพบกตั้งผู้รับผิดชอบในการปกป้องพื้นที่ชายแดนทางบก และมีอำนาจในการสั่งการกองกำลังทั้งทหารและตำรวจในพื้นที่ในการรับมือภัยคุกคามได้[5]

จากนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2523 กองทัพประชาชนลาวได้ยิงเข้าใส่เรือลาดตระเวนของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.) บริเวณบ้านปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ทำให้ทางการไทยประกาศปิดพรมแดนที่ติดต่อกับลาวทั้งหมด ประกอบกับเวลานั้นมีการเคลื่อนกำลังของทหารเวียดนามเข้ามาวางกำลังตลอดลำน้ำโขง และมีท่าทียั่วยุจะรุกล้ำข้ามมาฝั่งไทย ทำให้กองทัพบกได้จัดตั้งกองพลทหารราบที่ 3 ส่วนหน้าขึ้น ที่ค่ายรามสูร อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2523[5]

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 และเปลี่ยนชื่อค่ายที่ตั้งหน่วยเป็น ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดาในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2540[5]

โครงสร้าง

หน่วยขึ้นตรง

กองกำลังสุรนารี ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ[6] ดังนี้

  • กองบังคับการควบคุม
    • กองบังคับการควบคุมที่ 1 (กรมทหารราบที่ 3)
    • กองบังคับการควบคุมที่ 2 (กรมทหารราบที่ 13)
    • กองบังคับการควบคุมที่ 3 (กรมทหารราบที่ 8)
  • กองร้อยทหารราบ
  • กองร้อยเผชิญสถานการณ์เร่งด่วน (QRF)
  • กองร้อยสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด
  • ชุดปฏิบัติการบินทหารบก กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี[7]

หน่วยขึ้นควบคุมทางยุทธการ

กองกำลังสุรนารี ประกอบด้วยหน่วยสมทบและขึ้นควบคุมทางยุทธการ[6] ดังนี้

หน่วยเฉพาะกิจรับผิดชอบพื้นที่

  • กองบังคับการควบคุมที่ 1 – รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนครพนม และมุกดาหาร
    • กรมทหารราบที่ 3[8]
      • กองร้อยเผชิญสถานการณ์เร่งด่วน (QRF)
    • หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง เขตนครพนม[8][9][10]
    • หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23[11][9]
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2101 – นครพนม[12]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2102 – มุกดาหาร[13]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2105 – มุกดาหาร[14]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2106 – นครพนม[15]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2107 – นครพนม[16]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2108 – นครพนม[8]
  • กองบังคับการควบคุมที่ 2 – รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และหนองคาย
    • กรมทหารราบที่ 13[17]
    • หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง เขตหนองคาย[17][18]
    • หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24[19][20]
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2104[17]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2107 บึงกาฬ[21][22]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2110 หนองคาย[20]
  • กองบังคับการควบคุมที่ 3 – รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดเลย
    • กรมทหารราบที่ 8[23]
    • หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง เขตหนองคาย[23]
    • หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24[23]
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2102[23]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2103[24]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2109[25]

ภารกิจ

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี มีพื้นที่ในการรับผิดชอบตลอดแนวชายแดนไทย–ลาวในจังหวัดเลย, หนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม และมุกดาหาร รวม 5 จังหวัด ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร (500 ไมล์)[4] แบ่งเป็นช่วงที่ใช้แม่น้ำเหืองเป็นพรมแดนธรรมชาติ เริ่มต้นจากจุดติดต่อกับพื้นที่ของกองกำลังผาเมือง คือบ้านห้วยน้ำผัก ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว มาจนถึงบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ระยะทางตลอดแม่น้ำเหืองประมาณ 135 กิโลเมตร (84 ไมล์) ช่วงต่อมาคือช่วงที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ เริ่มต้นตั้งแต่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จนถึงบ้านห้วยปอ ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จรดกับพื้นที่ของกองกำลังสุรนารี ระยะทางตลอดแม่น้ำโขงประมาณ 669 กิโลเมตร (416 ไมล์)[26][5]

ภารกิจหลักของกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีนั้นเป็นไปตามพันธกิจ 3 ประการของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้แก่

  • การเฝ้าตรวจและป้องกันชายแดน โดยจัดตั้งที่ตั้งทางทหารสำหรับตรวจการณ์ในพื้นที่สำคัญ รวมถึงการตั้งจุดตรวจในบริเวณจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ตลอดพื้นที่รับผิดชอบ การใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับตรวจการณ์ในพื้นที่จุดผ่อนปรน จัดกำลังผสมร่วมกับกองกำลังสุรนารีและกองกำลังผาเมืองในพื้นที่รอยต่อ และสนับสนุนการทำงานของส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จุดผ่านแดน[4]
  • การจัดระเบียบพื้นที่และแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บังคับหน่วย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนตลอดแนวชายแดนเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนและพื้นที่สันดอนดินต่าง ๆ ตลอดลำน้ำ โดยมอบหมายให้หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงจัดระเบียบการสัญจรและจุดจอดเรือตามช่องทางผ่านแดนทางน้ำต่าง ๆ[4]
  • การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยต่าง ๆ ทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้นำหน่วยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เสริมสร้างความเชื่อใจ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีที่ราษฎรชาวลาวข้ามมาขอรับการรักษาตามหลักมนุษยธรรม[4]

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรีมีผลการปฏิบัติที่โดดเด่นเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ[8][17][21][20][23][13] การลักลอบเข้าเมือง[25] รวมถึงการลักลอบนำเข้าและส่งออกของผิดกฎหมาย เช่น รถยนต์[27] รถจักรยานจากการโจรกรรม[28] สินค้าหนีภาษี[14]ในประเทศไทยข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านพรมแดนธรรมชาติคือแม่น้ำโขง[29]

อีกภารกิจของกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี คือการปฏิบัติงานในฐานะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 1 (กอ.รมน.ภาค 2 สย.1) โดยปฏิบัติงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ซึ่งกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีมีพื้นที่รับผิดชอบ 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ จังหวัดเลย, หนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สกลนคร, ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ มีภารกิจโดยตรงคือการจัดชุดพัฒนาสัมพันธ์มวลชน (ชพส.) 24 ชุด และจัดชุดวิทยากรกระบวนการสร้างเครือข่ายผู้นำชุมชนเข้มแข็ง (ชบข.) 5 ชุด สำหรับปฏิบัติการในจังหวัดชายแดนเพื่อรักษาความมั่นคงอย่างยั่งยืน[6]

พื้นที่อ้างสิทธิ

ปัจจุบัน ตลอดพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีได้มีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนในสนธิสัญญาโดยอาศัยร่องน้ำลึกเป็นเขตแดน กรณีที่มีมีการแยกออกเป็นหลายสายเพราะมีเกาะให้ใช้ร่องน้ำลึกของสายที่ใกล้ฝั่งไทยที่สุดเป็นเขตแดน โดยใช้กับแม่น้ำโขง และแม่น้ำเหือง[30]

ถึงแม้จะมีการปักปันกำหนดในสนธิสัญญาแล้ว แต่การใช้เส้นเขตแดนที่เป็นพรมแดนธรรมชาติก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ จึงต้องมีกระบวนการตีความสนธิสัญญาเส้นเขตแดนอยู่ตลอดตามยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศและเทคโนโลยี โดยอาศัยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC) ไทย-ลาว ซึ่งกองกำลังจะเป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน คือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ[30]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. pp. 1–3.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. "กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี บูรณาการร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ จ.บึงกาฬ ตรวจยึดยาบ้า ลำเลียงข้ามจังหวัด จำนวน 39,592 เม็ด". armyprcenter.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ชายแดน 5,526 กม. กองกำลัง 'รั้วของชาติ' ดูแลตรงไหนบ้าง? | The Opener". theopener.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมาธิการด้านการป้งกันประเทศ การปฏิบัติการด้วยกำลังทหาร และการพัฒนาในคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4. รัฐสภาไทย. 2563.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ประวัติกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี". surasakmontri.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 "พันธกิจของหน่วย – กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี". surasakmontri.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ปิดปรับปรุงถ้ำนาคา 1 เดือน พร้อมซ้อมอพยพทางอากาศเพื่อช่วย นทท". bangkokbiznews. 2022-04-25.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "กองร้อยทหารพรานที่ 2108 ยึดกัญชาอัดแท่งกว่า 100 กิโลฯ". mgronline.com. 2022-02-21.
  9. 9.0 9.1 Sae-eae, Somchart. "ผบ.ทบ.ลุยพื้นที่อีสาน กำชับคุมเข้มชายแดน". เดลินิวส์.
  10. "ทหารพราน กองกำลังสุรศักดิ์มนตรียึดยาบ้ากว่า 2.1 แสนเม็ดคาดเป็นยาเกรดต่ำกำลังระบาดชายแดนอีสาน". สยามรัฐ. 2024-06-20.
  11. จ้อย (2023-05-29). "ไหลไม่ขาดสาย! ยาบ้าโอทอปริมโขง ทะลักเข้านครพนมไม่หยุด".
  12. "ยึดอีก!! ยาบ้าล็อตใหญ่กว่า 2.6 แสนเม็ด ริมฝั่งโขง จ.นครพนม". mgronline.com. 2023-11-16.
  13. 13.0 13.1 "ทหารพรานร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครอง ดักจับเครือข่ายค้ายาบ้า 2 ฝั่งโขง". workpointTODAY.
  14. 14.0 14.1 Sukahnont, Jeerawat. "'ทหารพราน-ศุลกากร' ตรวจยึดสินค้าหนีภาษี เตรียมส่งขายส่งประเทศเพื่อนบ้าน". เดลินิวส์.
  15. "ทหารพราน 2106 สกัดยึดยาบ้ากว่า 30,000 เม็ด". mgronline.com. 2013-10-29.
  16. "รวบลูกชาย ส.อบต.พร้อมพวกส่งยาบ้า พร้อมยึดของกลางกว่า 1.2 หมื่นเม็ด". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "หนองคายไม่แผ่ว วันเดียวยึด 2 รายซ้อน ทหารพรานที่ 2104 ทพ.21 และ นรข.โพนพิสัย ตรวจยึดยาบ้า ที่ลักลอบข้ามโขง 246,600 เม็ด". สยามรัฐ. 2024-04-07.
  18. "ผบ.ทบ. เยี่ยมกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ย้ำทหารคือรั้วของชาติ". thaitv5hd.com (ภาษาอังกฤษ).
  19. "จับแก๊งค้ายานายทุนลาวพร้อมของกลางยาบ้าเกือบ5แสนเม็ด สารภาพเป้าหมายส่งขายในขอนแก่น". mgronline.com. 2023-09-23.
  20. 20.0 20.1 20.2 "มทภ.2 แถลงผลการจับกุม 4 ผู้ต้องหาได้พร้อม ไอซ์ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท". สยามรัฐ. 2024-05-11.
  21. 21.0 21.1 "ทพ.2107 ตรวจยึดยาบ้าเกือบล้านเม็ด หลังแก๊งค้ายานำมาซุกริมโขงบึงกาฬ". www.thairath.co.th. 2021-11-26.
  22. "ตลุยกวาดล้างยาเสพติด ให้หมดสิ้นแผ่นดินไทย - กองทัพภาคที่ 2 (ภ.2)". web.army2.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 Sukahnont, Jeerawat. "'กองทัพภาค2' บุกยึดยาบ้าบิ๊กลอต 4.2 ล้านเม็ด ถูกทิ้งไว้ริมแม่นํ้าพื้นที่เชียงคาน จ.เลย". เดลินิวส์.
  24. ข่าวช่อง 8 (2016-11-02). "ทหารพรานจับยาบ้า 2.7 ล้านเม็ด ที่จ.เลย". www.thaich8.com.
  25. 25.0 25.1 "ทหารพรานที่ 2109 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี รวบชาวลาวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ในพื้นที่บ้านปากมั่ง อำเภอปากชม". หนังสือพิมพ์ข่าว ๔ เหล่าทัพ. 2024-07-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. ทรัพย์เมฆ, เกียรติศักดิ์ (2566). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (PDF). วิทยาลัยการทัพบก.
  27. "ทหาร กกล.สุรศักดิ์มนตรี ยึดรถยนต์หรู 5 คัน จยย. 3 คัน เตรียมข้ามโขง". www.banmuang.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "จับขบวนการขนรถข้ามแดน ยึด 5 คัน แฉเส้นทางจำนำก่อนขายข้ามโขงไปฝั่งลาว". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยมกองกำลังป้องกันชายแดนไทย-ลาวพื้นที่นครพนม". mgronline.com. 2024-03-30.
  30. 30.0 30.1 พุทซาคำ, สุวิชา (2021-07-15). "เจาะลึกภารกิจงานด้านเขตแดนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง 'แม่น้ำโขง' พรมแดนไทย-ลาว". The Cloud.