ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natt1985 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
Natt1985 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
! ชื่อ || ตำแหน่ง<ref>[https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.]</ref><ref name="secorganization">https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx</ref>
! ชื่อ || ตำแหน่ง<ref>[https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.]</ref><ref name="secorganization">https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx</ref>
|-
|-
| พิเชษฐ สิทธิอำนวย || ประธานกรรมการ
| พิเชษฐ สิทธิอำนวย <ref>[https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1126792]</ref>|| รักษาการประธานกรรมการ
|-
|-
| นาย[[ลวรณ แสงสนิท]] || กรรมการ
| นาย[[ลวรณ แสงสนิท]] || กรรมการ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:32, 5 มิถุนายน 2567

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
The Securities and Exchange Commission, Thailand
ไฟล์:SECLogoThaiBGWhite.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
สำนักงานใหญ่333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • รศ.ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล, เลขาธิการ
  • วรัชญา ศรีมาจันทร์, รองเลขาธิการ
  • ธวัชชัย พิทยโสภณ, รองเลขาธิการ
  • จอมขวัญ คงสกุล, รองเลขาธิการ
  • เอนก อยู่ยืน, รองเลขาธิการ
เว็บไซต์www.sec.or.th

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

ประวัติ

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับการตราขึ้นและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน

พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวกลางที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547

นอกจากนี้ ยังกำกับดูแลพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ตามลำดับอีกด้วย [1]

อำนาจและหน้าที่

ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่ในการการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลตลาดทุน อาทิ การระดมทุน สินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การกระทำอันไม่เป็นธรรมในตลาดทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดตามกฎหมาย ดังนี้

  • กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  • กฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
  • กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
  • กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
  • กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คณะกรรมการ ก.ล.ต.

มีหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ โดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนดังนี้

  1. ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  2. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงการคลัง และ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน
  4. เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ชื่อ ตำแหน่ง[2][3]
พิเชษฐ สิทธิอำนวย [4] รักษาการประธานกรรมการ
นายลวรณ แสงสนิท กรรมการ
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์​ กรรมการ
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการ
ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการ
นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิพุธ อ่องสกุล กรรมการ
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร กรรมการ
ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล กรรมการ
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล​​ กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการตรวจสอบ

มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของ ก.ล.ต. ในด้านการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และธรรมาภิบาล รวมทั้งจัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วย กรรมการ ก.ล.ต. ที่มิได้เป็นผู้บริหาร ซึ่งมีความเป็นอิสระ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยในจำนวนนี้จะต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. อย่างน้อย 2 คน


ชื่อ ตำแหน่ง[5] [3]
นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิพุธ อ่องสกุล กรรมการ
ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล กรรมการ​​

คณะกรรมการกำกับตลาดทุน

คณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีอำนาจหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ ประกาศ และคำสั่งในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในตลาดทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกอบด้วย

  1. เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นประธานกรรมการ
  2. รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน
  3. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมาย 1 คน
  4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่เกิน 4 คน ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์
ชื่อ ตำแหน่ง[6] [3]
รองศาสตราจารย์ ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล ประธานกรรมการ
นางสาววรัชญา ศรีมาจันทร์ กรรมการ
ดร.พรชัย  ฐีระเวช กรรมการ
นางศรัณยา จินดาวณิค กรรมการ
นายเอกชัย จงวิศาล กรรมการ
นายอายุสม์ กฤษณามระ กรรมการ
นางจันทิมา เพียรเวช กรรมการ

โครงสร้างองค์กร

สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดโครงสร้างองค์กร โดยมีฝ่ายงาน ดังนี้[7]

  1. ฝ่ายกฎหมายผู้ประกอบธุรกิจ
  2. ฝ่ายกฎหมายระดมทุน
  3. ฝ่ายกฎหมายองค์กรและคดีปกครอง
  4. ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป
  5. ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ฝ่ายกำกับการสอบบัญชี
  7. ฝ่ายกำกับตลาด
  8. ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
  9. ฝ่ายกำกับธุรกิจตัวกลาง
  10. ฝ่ายกำกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
  11. ฝ่ายกำกับรายงานทางการเงิน
  12. ฝ่ายขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
  13. ฝ่ายคดี
  14. ฝ่ายความเสี่ยงตลาดทุนและองค์กร
  15. ฝ่ายงานเลขาธิการ
  16. ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1
  17. ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 2
  18. ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล
  19. ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1
  20. ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2
  21. ฝ่ายตรวจสอบภายใน
  22. ฝ่ายตรวจสอบสินทรัพย์ดิจิทัล
  23. ฝ่ายตราสารหนี้
  24. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  25. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
  26. ฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ
  27. ฝ่ายนโยบายระดมทุน
  28. ฝ่ายนโยบายสินทรัพย์ดิจิทัลและนวัตกรรมทางการเงิน
  29. ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมความรู้ตลาดทุน
  30. ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ
  31. ฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนข้อมูล
  32. ฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน
  33. ฝ่ายสื่อสารองค์กร

ทำเนียบเลขาธิการ ก.ล.ต.

อ้างอิง

  1. การจัดตั้ง ก.ล.ต.
  2. รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
  3. 3.0 3.1 3.2 https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx
  4. [1]
  5. รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  6. รายชื่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
  7. "organization chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.

แหล่งข้อมูลอื่น