ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาเฟ่ อเมซอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TumCool412 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
TumCool412 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
การสร้างแบรนด์ "CafeAmazon" เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า ประเทศบราซิลซึ่งเป็นต้นตำรับกาแฟและดินแดนแห่งนี้มีป่า Amazon อันเป็นสุดยอดแห่งป่าดงดิบธรรมชาติของโลก ที่อุดมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ทั้งพืชพรรณแมกไม้ สายน้ำ สัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นแหล่งผลิตอากาศอันบริสุทธิ์ แนวความคิดนี้จึงถูกนำมาเพื่อสร้างสรรค์เป็นร้านกาแฟที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายด้วยร่มไม้และน้ำล้อมรอบ
การสร้างแบรนด์ "CafeAmazon" เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า ประเทศบราซิลซึ่งเป็นต้นตำรับกาแฟและดินแดนแห่งนี้มีป่า Amazon อันเป็นสุดยอดแห่งป่าดงดิบธรรมชาติของโลก ที่อุดมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ทั้งพืชพรรณแมกไม้ สายน้ำ สัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นแหล่งผลิตอากาศอันบริสุทธิ์ แนวความคิดนี้จึงถูกนำมาเพื่อสร้างสรรค์เป็นร้านกาแฟที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายด้วยร่มไม้และน้ำล้อมรอบ


โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ร้าน CafeAmazon ถูกพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน สำหรับคนเดินทาง ตกแต่งด้วยโทนสีเขียว นำเสนอภาพลักษณ์แนวธรรมชาติ โดยใช้สวนหย่อมและน้ำพุเพื่อสร้างบรรยากาศ ร่มรื่น เย็นสบาย ความรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของร้าน Cafe Amazon เสมือนเป็นโอเอซิสของคนเดินทาง และด้วยเอกลักษณ์รสชาติเครื่องดื่มกาแฟที่เข้มข้น จึงกลายมาเป็นสโลแกนที่ว่า "Taste of Nature"
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ร้าน CafeAmazon ถูกพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน สำหรับคนเดินทาง ตกแต่งด้วยโทนสีเขียว นำเสนอภาพลักษณ์แนวธรรมชาติ โดยใช้สวนหย่อมและน้ำพุเพื่อสร้างบรรยากาศ ร่มรื่น เย็นสบาย ความรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของร้าน Cafe Amazon เสมือนเป็นโอเอซิสของคนเดินทาง และด้วยเอกลักษณ์รสชาติเครื่องดื่มกาแฟที่เข้มข้น จึงกลายมาเป็นสโลแกนที่ว่า "Taste of Nature"

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานและธุรกิจค้าปลีกแบบผสมผสานควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตตามแนวทาง OR SDG ในทุกมิติ ทั้งในด้าน “S” หรือ “Small” ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยการส่งเสริมพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกการ ด้าน “D” หรือ “Diversify” ที่มุ่งสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ สร้างความแตกต่างและความเข้มแข็งในธุรกิจ ด้วยการให้ความสำคัญกับธุรกิจต้นน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งในด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่เป้าหมายการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนในปี 2030 (OR 2030 Goals) ต่อไป<ref>{{cite web |url=https://www.cafe-amazon.com/news-detail.aspx?Lang=TH&NewsID=57|title=OR จับมือ สคทช. ร่วมสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอย่างยั่งยืน|accessdate=2024-05-23}}</ref>


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:06, 23 พฤษภาคม 2567

คาเฟ่ อเมซอน
ประเภทอาหาร, แฟรนไชส์, ค้าปลีก
อุตสาหกรรมร้านกาแฟ
ก่อตั้งพ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ชั้น 12 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
จำนวนที่ตั้งมากกว่า 3,000
พื้นที่ให้บริการไทย ไทย
กัมพูชา กัมพูชา
ลาว ลาว
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ประเทศพม่า เมียนมา
โอมาน โอมาน
สิงคโปร์ สิงคโปร์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
มาเลเซีย มาเลเซีย
จีน จีน
เวียดนาม เวียดนาม
ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
บุคลากรหลักสุชาติ ระมาศ
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
บริษัทแม่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์http://www.cafe-amazon.com/

คาเฟ่ อเมซอน (อังกฤษ: Café Amazon) ร้านกาแฟ Cafe Amazon ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตร์ของผู้บริโภคและคนเดินทางได้มากขึ้น

การสร้างแบรนด์ "CafeAmazon" เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า ประเทศบราซิลซึ่งเป็นต้นตำรับกาแฟและดินแดนแห่งนี้มีป่า Amazon อันเป็นสุดยอดแห่งป่าดงดิบธรรมชาติของโลก ที่อุดมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ทั้งพืชพรรณแมกไม้ สายน้ำ สัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นแหล่งผลิตอากาศอันบริสุทธิ์ แนวความคิดนี้จึงถูกนำมาเพื่อสร้างสรรค์เป็นร้านกาแฟที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายด้วยร่มไม้และน้ำล้อมรอบ

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ร้าน CafeAmazon ถูกพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน สำหรับคนเดินทาง ตกแต่งด้วยโทนสีเขียว นำเสนอภาพลักษณ์แนวธรรมชาติ โดยใช้สวนหย่อมและน้ำพุเพื่อสร้างบรรยากาศ ร่มรื่น เย็นสบาย ความรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของร้าน Cafe Amazon เสมือนเป็นโอเอซิสของคนเดินทาง และด้วยเอกลักษณ์รสชาติเครื่องดื่มกาแฟที่เข้มข้น จึงกลายมาเป็นสโลแกนที่ว่า "Taste of Nature"

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานและธุรกิจค้าปลีกแบบผสมผสานควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตตามแนวทาง OR SDG ในทุกมิติ ทั้งในด้าน “S” หรือ “Small” ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยการส่งเสริมพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกการ ด้าน “D” หรือ “Diversify” ที่มุ่งสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ สร้างความแตกต่างและความเข้มแข็งในธุรกิจ ด้วยการให้ความสำคัญกับธุรกิจต้นน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งในด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่เป้าหมายการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนในปี 2030 (OR 2030 Goals) ต่อไป[1]

ประวัติ

คาเฟ่ อเมซอน ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 จุดเริ่มต้นมาจากแนวความคิดของอดีตผู้บริหารคือ อภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจร ในช่วงนั้นปั๊มน้ำมันของ ปตท. ยังไม่มีธุรกิจเสริม มีเพียงเซเว่น อีเลฟเว่น เพียงบางสาขา เริ่มแรกที่เปิดขายได้เพียง 20 แก้วต่อวัน จนกระทั่งเมื่อเปิดร้านได้ 300 สาขา จึงหันมาเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอนนอกปั๊มน้ำมัน[2]

พ.ศ. 2555 ได้เปิดสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์และเปิดสาขาต่างประเทศแห่งแรกที่ลาว[3]

จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว คาเฟ่ อเมซอนมีสาขา 3,802 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสาขาในอีก 10 ประเทศ โดย 7 ประเทศ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่เหลืออีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และโอมาน[4] นับเป็นแบรนด์ร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] และเป็นอันดับ 6 ของโลก[6]

ธุรกิจ

ชาวต่างชาติเพศชายที่กำลังกินกาแฟในคาเฟ่ อเมซอน

แฟรนไชส์

สาขาส่วนใหญ่ของคาเฟ่ อเมซอน อยู่ในรูปแบบของแฟรนไชส์ สาขาที่ ปตท.บริหารเองมีประมาณ 100 สาขา (ข้อมูล พ.ศ. 2559) ส่วนแฟรนไชส์มี 2 รูปแบบ คือเป็นร้านแฟรนไชส์ที่เจ้าของปั๊มน้ำมันเป็นผู้ดำเนินการเอง อีกแบบหากเป็นนอกปั๊มน้ำมันก็ให้บุคคลทั่วไปมาซื้อแฟรนไชส์ได้[2]

การผลิต

คาเฟ่ อเมซอนเลือกแหล่งปลูกเมล็ดกาแฟอะราบิกาและโรบัสตาทางภาคเหนือของไทย โดยร่วมมือกับเกษตรกรชาวเขาทั้งในโครงการหลวง สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง คาเฟ่ อเมซอนมีโรงคั่วกาแฟเป็นของตนเอง มีกำลังการผลิต 2,700 ตันต่อปี[7] โรงคั่วตั้งอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ธุรกิจค้าปลีก

นอกจากมีร้านกาแฟแล้ว ยังมีธุรกิจค้าปลีก บริษัทได้เปิดให้บริการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกโออาร์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่ 200 ไร่ แบ่งเป็น ศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) โรงคั่วกาแฟที่มีเครื่องคั่ว 2 ตัว มาจากอิตาลีและเยอรมนี กำลังการผลิต 15 ตันต่อวัน โรงผงผสม กำลังผลิตทั้งผลโกโก้ ผงชาเขียว ครีมเทียม และน้ำตาลอยู่ที่ 1.2 หมื่นตันต่อปี และโรงงานเบอเกอรี่ผลิตขนมออกขายตามสาขา[8]

อ้างอิง

  1. "OR จับมือ สคทช. ร่วมสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอย่างยั่งยืน". สืบค้นเมื่อ 2024-05-23.
  2. 2.0 2.1 "จากธุรกิจเสริม สู่ธุรกิจดาวรุ่ง 'คาเฟ่ อเมซอน' ดัง ปัง เพราะอะไร?". ไทยรัฐ.
  3. "เจาะกลยุทธ์ "Beyond Coffee" ดัน "คาเฟ่ อเมซอน" ขึ้นแท่นแบรนด์ผู้นำธุรกิจกาแฟสดในตลาดประเทศไทย". กรุงเทพธุรกิจ.
  4. "Café Amazon วางแผนภายในปี 2568 จะต้องมีร้านในต่างประเทศ 1,000 สาขา พร้อมปั้นรายได้รวม 3.4 หมื่นล้านบาท". เดอะสแตนดาร์ด.
  5. Cafe Amazon ได้รับรางวัลแบรนด์ระดับโลก http://www.cafe-amazon.com/news-detail.aspx?Lang=TH&NewsID=25 06 พฤศจิกายน 2560
  6. "โควิดทำอะไรไม่ได้! เจาะธุรกิจเรือธง OR ร้าน Café Amazon กับแผนเปิดอีก 2,500 สาขา". brandbuffet.
  7. "เบื้องหลัง "คาเฟ่ อเมซอน" 3,700 สาขา ปั้นแบรนด์ให้แกร่งจาก "คุณภาพกาแฟ" และ "คุณภาพบริการ"". positioningmag.
  8. "20ปี "คาเฟ่ อเมซอน" ทุ่ม 20 ล้าน เนรมิตร้านกาแฟรับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น