ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Kasidetlop/ทดลองเขียน"
Kasidetlop (คุย | ส่วนร่วม) เพิ่มเติมคววามถูกต้องของเนื้อหาและภาษา |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:45, 2 เมษายน 2567
พลเรือเอก พลเรือเอก เทิดศักดิ์ เสถียรสวัสดิ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | พลเรือโท วัฒนา วงศวิเชียร |
ถัดไป | พลเรือโท วิรัตน์ ดำรงค์เจริญ |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 01 มีนาคม พ.ศ. 2486 |
คู่สมรส | นางเพ็ญพร เสถียรสวัสดิ์ |
พลเรือเอก เทิดศักดิ์ เสถียรสวัสดิ์ อดีตราชองค์รักษ์พิเศษและผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินลำดับที่ 20 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2546)
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของพลอากาศตรี เทิด เสถียรสวัสดิ์ กับนางประยงค์ เสถียรสวัสดิ์ เป็นหลานปู่ของหลวงทิพย์รักษา (ทุ้ย เสถียรสวัสดิ์) กับนางขาบ บุนนาค และเป็นเหลนของหลวงอภัยพิทักษ์ (สวัสดิ์) กับ ม.ร.ว.(หญิง) ห่วง บรรยงกะเสนา
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางเพ็ญพร เสถียรสวัสดิ์ (นามสกุลเดิม พิศาลพงษ์) มีบุตรชาย 3 คน คือ นายเทิดเกียรติ เสถียรสวัสดิ์ นายเสฐียรพล เสถียรสวัสดิ์ และนายเทิดพันธุ์ เสถียรสวัสดิ์
การศึกษา
พลเรือเอก เทิดศักดิ์ เสถียรสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, พล.อ.บุญรอด สมทัศน์, พล.อ.สำเภา ชูศรี, พล.อ.วัฒนชัย ฉายเหมือนวงศ์, พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธ์), โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 58 (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ โสมาภา, พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ, พล.ร.อ.เกรียงศักดิ์ ศรีภูมิ, พล.ร.อ.สมชาย ถาวรพานิช), โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 40, วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 23, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 399
ระหว่างรับราชการได้เข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรที่สำคัญ ๆ อาทิ หลักสูตรผู้บังคับหมวด รุ่นที่ 7, หลักสูตรการรบพิเศษ แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน (RECON) รุ่นที่ 4, หลักสูตรครูฝึกคนแม่นปืน, และหลักสูตรผู้บังคับกองร้อย รุ่นที่ 5 จากศูนย์การฝึกกรมนาวิกโยธิน, หลักสูตรศิษย์การบินจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, หลักสูตรการบินทางยุทธวิธีจากโรงเรียนการบินทหารบก, หลักสูตรการรบร่วม รุ่นที่ 45, หลักสูตรผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 31 จากโรงเรียนผู้บังคับฝูง กองทัพอากาศ เป็นต้น
การทำงาน
ในชีวิติการรับราชการ พลเรือเอก เทิดศักดิ์ เสถียรสวัสดิ์ ถือได้ว่าเป็นนายทหารเรือผู้มีความรู้ความสามารถในด้านยุทธศาสตร์การบินและการรบอย่างทหารราบในรูปแบบการยกพลขึ้นบก โดยเติบโตมาจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ และได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บังคับฝูงบิน 3 กองบินทหารเรือ, ผู้บังคับกองรักษาความปลอดภัย กองบินทหารเรือ, ผู้บังคับกองรักษาความปลอดภัย ฐานทัพเรือสัตหีบ, รองเสนาธิการกองพลนาวิกโยธิน, ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองบัญชาการนาวิกโยธิน, รองผู้ว่าราชการ (ฝ่ายทหาร) จังหวัดจันทบุรี, รองเสนาธิการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน, ฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ, เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ, จนถึงผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ
ราชการพิเศษ
- ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในยุทธการสามชัยที่ภูหินร่องกล้า ในหมวดเฉพาะกิจกองทัพเรือ
กับกองกำลังเขตทัพภาค 3 ในพื้นที่พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย
- การฝึกรบร่วมปี 16 ณ สนามบินหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (1 พฤศจิกายน 2515- 30 มกราคม 2516)
- ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในยุทธการผาภูมิที่ดอยผาจิ การฝึกรบร่วมปี 17 ในหมวดบินเฉพาะกิจทหารเรือที่ 171 กับกองกำลังเขตทัพภาค 3 สนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน 171 ในพื้นที่เชียงราย พะเยา และน่าน ณ สนามบินเชียงคำ จังหวัดพะเยา (15 ตุลาคม 2516- 20 มกราคม 2517)
- ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในตำแหน่งผู้บังคับหมวดบินที่ 201 (23 กุมภาพันธ์ -16 ตุลาคม 2520)
- ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในตำแหน่งผู้บังคับหมวดบินที่ 2181 (18 ตุลาคม 2521- 5 ตุลาคม 2522)
- ผู้บังคับฝูงบิน 3141 กองกำลังด้านจันทบุรี และตราด (1 มีนาคม 2529)
- ราชองครักษ์เวร (2 กุมภาพันธ์ 2532 - 2545)
- นายทหารพิเศษประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน (6 กรกฎาคม 2539
- ที่ปรึกษาศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ (2) (7 เมษายน 2541)
- นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ (14 สิงหาคม 2542)
- ผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจังหวัดจันทบุรีและตราด (1 ตุลาคม 2544)
- ราชองครักษ์พิเศษ (11 กรกฎาคม 2546)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[1]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[2]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[3]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
พระเทพฯทรงเปิดอาคารโบราณสถาน สิ่งก่อสร้างที่มาประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2550 มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ได้รับการประสานจาก พล.ร.อ.เทิดศักดิ์ เสถียรสวัสดิ์ อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินให้ช่วยทำการบูรณะโบราณสถานในค่ายตากสิน อ.เมือง จ.จันทบุรี วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559 เวลา 02.00 น.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๑๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๑๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๔๙, ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๐