ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2566"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natt1985 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
Natt1985 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


*21 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุปะทะผู้ก่อความความไม่สงบที่ตำบลบ้านแหร [[อำเภอธารโต]] [[จังหวัดยะลา]] ส่งผลให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 คน<ref>[https://www.naewna.com/local/712525 ‘ยะลา’เดือด!จนท.วิสามัญมือประกอบระเบิดแสวงเครื่อง ป่วนใต้หลายจุด] – แนวหน้า</ref>
*21 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุปะทะผู้ก่อความความไม่สงบที่ตำบลบ้านแหร [[อำเภอธารโต]] [[จังหวัดยะลา]] ส่งผลให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 คน<ref>[https://www.naewna.com/local/712525 ‘ยะลา’เดือด!จนท.วิสามัญมือประกอบระเบิดแสวงเครื่อง ป่วนใต้หลายจุด] – แนวหน้า</ref>

*22 กุมภาพันธ์ – ที่[[จังหวัดนราธิวาส]]พบผู้เสียชีวิต 4 ราย ที่[[อำเภอแว้ง]]โดยทั้งหมดเสียชีวิตจากอาวุธปืน<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1054420 ผงะศพที่ 4 โยงฆ่าโหด 3 ศพ ยัดท้ายรถทิ้งบึง]</ref>


== มีนาคม ==
== มีนาคม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:14, 30 มกราคม 2567

เหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2566
เป็นส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
สถานที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา
วันที่พ.ศ. 2566
ประเภทเหตุระเบิด
การกราดยิง
อาวุธระเบิด
ปืนไรเฟิลจู่โจม
ผู้ก่อเหตุขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามจังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม

มกราคม

  • 11 มกราคม – เกิดเหตุโจมตีชุดคุ้มครองตำบล อาสารักษาดินแดน บ้านไอร์แยง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากการคุ้มครองครู ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บสาหัส 2 นาย[1]
  • 21 มกราคม – เกิดเหตุปะทะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ บริเวณเทือกเขาตะเว ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 คน[2]

กุมภาพันธ์

  • 17 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุระเบิดรถตำรวจสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา ผู้ก่อความไม่สงบลงมือลอบวางเพลิง และวางวัตถุระเบิด เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ส่งผลให้ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บ 4 นาย[3]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ประสาน คงประสิทธิ์ ที่วัดสุนทรวารี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และเชิญสิ่งของพระราชทานให้ผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิด 4 นาย[4]

  • 21 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุปะทะผู้ก่อความความไม่สงบที่ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ส่งผลให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 คน[5]

มีนาคม

  • 2 มีนาคม – เกิดเหตุโจมตีพลเมืองที่ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิต 1 คน ภายในวันเดียวกัน กลุ่มผู่ก่อความไม่สงบโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4906 บ้านไอร์กาแซ ตำบลศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส กลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบขว้างไปป์บอมบ์และอาวุธปืนเอเค 47[7]
  • 3 มีนาคม – เกิดเหตุระเบิดรถยนต์คณะรองแม่ทัพภาคที่ 4 บริเวณถนนบ้านไอร์กาแซ ตำบลศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบวางระเบิดประกอบถังแก๊สหุงต้ม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บ 1 นาย

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพ พันตรี ลิขิต วิทยประภารัตน์ ที่วัดเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี[8] และจ่าสิบเอก อิสระ เลิกนอก ที่วัดโคกกระเบื้อง อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา[9]

เมษายน

  • 14 เมษายน – เกิดเหตุโจมตีหลายจุดชายแดนภาคใต้; เหตุระเบิดสะพานรถไฟสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา, เหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษ 21 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส, เหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษสถานีรถไฟวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี, เหตุโจมตีเจ้าหน้าที่บริเวณสถานีรถไฟโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี, เหตุโจมตีขว้างไปป์บอมบ์ฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4107 อำเภอรามัน จังหวัดยะลา, และเหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษ 31 สถานีรถไฟเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส[10] ไม่มีการรายงานบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่[11]
  • 19 เมษายน – เกิดเหตุโจมตีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป้องกันเหตุ ในพื้นที่บ้านทุ่ง–บางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้ตำรวจบาดเจ็บ 8 นาย ในวันต่อมา เกิดเหตุปะทะฐานปฏิบัติการหมวดเฉพาะกิจหน่วยปฏิบัติการพิเศษยะลา 12 ไม่มีการรายงานบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่[12]

พฤษภาคม

"Demokrasi = Perdamaian Patani ประชาธิปไตย = สันติภาพปาตานี DEMOCRACY = PATANI PEACE"

ข้อความบนป้ายผ้าโดยกลุ่มผู่ก่อความไม่สงบกับธงขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีในจังหวัดยะลา

  • 3 พฤษภาคม – เกิดเหตุโจมตีรถตำรวจสถานีตำรวจภูธรทุ่งยางแดงบริเวณทางแยกปากู ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้ตำรวจบาดเจ็บ 4 นาย[13]
  • 12 พฤษภาคม – เกิดเหตุระเบิดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนบริเวณโรงเรียนบ้านเตาปูน ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บสาหัส 1 นาย[14] ในขณะเดียวกัน มีเหตุก่อความไม่สงบ 23 จุดในชายแดนภาคใต้ อาทิ การวางเพลิงเสาไฟฟ้า การวางเพลิงเสาสัญญาณ และการแสดงออกทางสัญลักษณ์การเรียกร้องเอกราชของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[15]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพ สิบเอก สมหมาย นาคสืบวงศ์ ที่ตำบลบ้านสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน[16]

เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดป้ายและธงขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีบริเวณอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา[17]

มิถุนายน

  • 10 มิถุนายน – เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติพิทักษ์พื้นที่กองร้อยทหารพรานที่ 4812 โดนกับระเบิดแบบเหยียบที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บขาขวาขาด[18]
  • 18 มิถุนายน – เกิดเหตุระเบิดบริเวณถนนอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ประชาชนถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 2 คน[19]
  • 21 มิถุนายน – เกิดเหตุระเบิดชุดคุ้มครองตำบล ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่ทหารและอาสาสมัครรักษาดินแดนบาดเจ็บ 4 นาย[20]

สิงหาคม

  • 28 สิงหาคม - บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลยะรัง หมู่ 3 อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี คนร้ายได้สังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 รายและอาสาสมัคร 2 ราย[21]

อ้างอิง

  1. คนร้ายลอบวางระเบิด อส.ชุดคุ้มครองครูฯ ดับ1เจ็บ2-ขโมยปืนหลบหนี – แนวหน้า
  2. กอ.รมน.ภาค 4 สน. แจงเหตุวิสามัญคนร้าย 3 ราย ที่นราธิวาส – ไทยโพสต์
  3. ลอบวางระเบิด "ตร.สภ.บันนังสตา" เสียชีวิต 1 เจ็บ 4 นาย – ไทยพีบีเอส
  4. องคมนตรี เป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.ต. ประสาน คงประสิทธิ์ ตำแหน่ง สว.สส.สภ.บันนังสตา – สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
  5. ‘ยะลา’เดือด!จนท.วิสามัญมือประกอบระเบิดแสวงเครื่อง ป่วนใต้หลายจุด – แนวหน้า
  6. ผงะศพที่ 4 โยงฆ่าโหด 3 ศพ ยัดท้ายรถทิ้งบึง
  7. ชาวบ้านตากใบถูกยิงเสียชีวิต ขณะผู้อำนวยความสะดวกฯ เยือนชายแดนใต้ –BenarNews
  8. ผบ.ทบ. เป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พันตรี ลิขิต วิทยประภารัตน์[ลิงก์เสีย] – กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก
  9. พิธีพระราชทานเพลิงศพ จ.ส.อ. อิสระ เลิกนอก – ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
  10. “บึ้ม-ยิง-ปะทะ” ขยายวง 6 จุดชายแดนใต้ – สำนักข่าวอิศรา
  11. 3 จว.ชายแดนใต้ป่วน! วันเดียวเกิด 5 เหตุรุนแรง ลอบยิง-ปาไปป์บอมบ์-วางระเบิด – มติชน
  12. ‘บีอาร์เอ็น’ ป่วนบึ้ม-ยิงถล่มฐานฯ ‘กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า’ สั่งคุ้มเข้ม รับ ‘ฮารีรายอ’ – เดลินิวส์
  13. ลอบวางระเบิด ตร.ทุ่งยางแดง เจ็บ 4 นาย – ไทยพีบีเอส
  14. ระเบิด-เผาป่วนชายแดนใต้ 43 จุด รับ 'เลือกตั้ง 66' ตำรวจดับ 1 อาสาเจ็บ 3 –กรุงเทพธุรกิจ
  15. แนวร่วมป่วนใต้ก่อนเลือกตั้ง ลอบวางเพลิง 23 จุดใน 3 จังหวัด วางระเบิด จนท.ดับ 1 เจ็บ 3 – ผู้จัดการ
  16. พิธีพระราชทานเพลิงศพ สิบเอก สมหมาย นาคสืบวงศ์ ทหารกล้าที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ จชต. อย่างสมเกียรติ– ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
  17. กลุ่มป่วนใต้แขวนป้ายผ้าอ้างหนุน ปชต.โยงสันติภาพ– สำนักข่าวอิศรา
  18. ชายแดนใต้ระอุ ! ทหารพราน เหยียบกับระเบิด ขาขวาขาด อาการสาหัส – ข่าวช่อง 8
  19. โจรใต้วางระเบิดแล้วใช้ปืนเอ็ม 16 ยิงซ้ำ คนหาของป่าตาย 1 เจ็บ 2 ที่จะแนะ – ไทยรัฐ
  20. คนร้ายลอบวางระเบิดพื้นที่ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อส.-ทหาร เจ็บ 4 นาย – แนวหน้า
  21. จับแล้ว! มือยิงถล่มตำรวจ-อส. เสียชีวิต 4 ศพ ผู้ร่วมก่อเหตุอีก 10 คนยังหลบหนี