ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดไทยพุทธคยา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 119: | บรรทัด 119: | ||
== แหล่งข้อมูลอื่น == |
== แหล่งข้อมูลอื่น == |
||
* http://www.watthaibuddhagayaindia935.com{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} เว็บไซต์วัดไทยพุทธคยา] |
* http://www.watthaibuddhagayaindia935.com{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} เว็บไซต์วัดไทยพุทธคยา] |
||
*{{geolinks-bldg|24. |
*{{geolinks-bldg|24.69432|84.98535}} |
||
{{สร้างปี|2500}} |
{{สร้างปี|2500}} |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 00:25, 30 มกราคม 2567
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วัดไทยพุทธคยา | |
---|---|
พระอุโบสถ วัดไทยพุทธคยา | |
ที่ตั้ง | ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธชินราช (จำลอง) |
ความพิเศษ | วัดไทยแห่งแรกในประเทศอินเดีย |
เวลาทำการ | ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระอุโบสถ |
การถ่ายภาพ | อนุญาต |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดไทยพุทธคยา เป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศอินเดีย เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีเนื้อที่ราว 12 ไร่ (5 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณพุทธคยา อยู่ห่างจากองค์เจดีย์พุทธคยาประมาณ 500 เมตร เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลและอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย ปัจจุบันมีพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เป็นเจ้าอาวาส
พระอุโบสถของวัดไทยพุทธคยาจำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมของสมัยรัตนโกสินทร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งการจำลองแบบจนดูเหมือนนี้ไม่ใช่เฉพาะภายนอก แต่ยังมีภายในที่เหมือนกันด้วย เช่น องค์พระประธานที่เป็นพระพุทธชินราช แกลประตู แกลหน้าต่าง เป็นต้น
รัฐบาลอินเดียเชิญชาวพุทธทั่วโลกมาสร้างวัด
[แก้]ประเทศอินเดีย ได้รับได้เอกราชจากอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2490 และต่อมา ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรก ได้เตรียมการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้น หรือเรียกว่า พุทธชยันตี ใน พ.ศ. 2500 จึงได้ประกาศเชิญชวนให้ประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาได้มาสร้างวัดด้วยศิลปะของตน ณ พุทธคยา ดินแดนตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า โดยรัฐบาลอินเดียได้จัดสรรที่ดินให้เช่าในนามรัฐบาลต่อรัฐบาลคราวละ 99 ปี และเมื่อหมดสัญญาแล้วสามารถต่ออายุสัญญาได้อีกคราวละ 50 ปี
ประวัติเริ่มการสร้างวัดไทยพุทธคยา
[แก้]- เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2497 นายปุ่น จงประเสริฐ เลขานุการสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ได้เดินทางมาพบกับพระนักศึกษาไทยที่ศึกษา ณ สถาบันการศึกษาบาลีนวนาลันทา ซึ่งมีจำนวน 4 รูป คือ พระมหานคร เขมปาลี (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระราชรัตนโมลี อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) พระมหามนัส จิตตทะโม พระมหาโอภาส โอภาโส และพระมหาชวินทร์ สระคำ (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระอุดรคณาธิการ ภายหลังลาสิกขาได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด) และได้แจ้งข่าวว่า พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีจิตศรัทธาส่งเงินจำนวน 200,000 รูปี (ในสมัยนั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 รูปีอินเดียแลกได้ 4 บาทไทย) มายังสถานทูตไทย เพื่อดำเนินการสร้างวัดไทยในอินเดีย ตามที่รัฐบาลอินเดียเชิญชวน แต่ในตอนนั้น เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง นิวเดลลี คือ พระพหิทธานุกร ได้มอบให้เลขานุการสถานทูตเป็นผู้ดำเนินการสร้างแทน จึงมาปรึกษาพระสงฆ์ไทย ที่เรียนอยู่ที่นาลันทา และตกลงกันว่า จะซื้อที่ดินที่พุทธคยา และมอบให้นายปุ่น จงประเสริฐ เป็นผู้ดำเนินการซื้อที่ดินจากรัฐบาลรัฐพิหาร
- ซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด เริ่มแรกติดต่อได้ที่ดินใกล้วัดทิเบตทางทิศเหนือ มีเนื้อที่ 15 เอเคอร์ ประมาณ 37 ไร่ (ปัจจุบันคือลานแสดงธรรมของท่านดาไล ลามะ หรือชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า กาลจักระ ไมดาน (ไมดาน แปลว่า สนาม กาลจักร คือ พิธีการบูชาที่ยิ่งใหญ่ของทิเบต) ต่อมาทางการเห็นว่า การก่อสร้างโบสถ์และวิหารอื่นๆ อาจจะบดบังทัศนียภาพขององค์พระเจดีย์พุทธคยา และเมื่อขุดเพื่อวางเสาเข็ม ได้พบโบราณสถานมากมาย ทางการรัฐพิหาร จึงหาที่ให้ใหม่ คือบริเวณทีตั้งปัจจุบันนี้
- รัฐบาลไทยเข้ามาดูแลเรื่องสร้างวัดต่อมามีเหตุการณ์ผันแปรในการสร้างวัด จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องการสร้างวัดเป็นของรัฐบาล ต่อมาท่านทูต คนใหม่ คือ ดร. บุณย์ เจริญชัย มาอยู่ทิ่อินเดีย การก่อสร้างวัดไทยในขั้นต้น จึงเสร็จเรียบร้อย คือ มีพระอุโบสถ ศิลปะรัตนโกสินทร์ แบบวัดเบญจมบพิตร และกุฏิที่พักสงฆ์ จำนวน 2 หลัง
ที่ตั้งและอาณาเขตของวัดไทย
[แก้]วัดไทยพุทธคยา ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณ 500 เมตร ตำบลพุทธคยา อ.คยา รัฐพิหาร ห่างจากสถานีรถไฟคยา ประมาณ 15 กิโลเมตร และสนามบินพุทธคยา ประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ (5 เอเคอร์) อยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย มีฐานะเป็นพระอารามหลวง เพราะได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นประจำทุกปี
พระธรรมทูตไทย ชุดแรก ณ วัดไทยพุทธคยา
[แก้]- พ.ศ. 2502 ทางรัฐบาลได้แจ้งให้คณะสงฆ์ทราบ และคณะสงฆ์ได้ส่งพระธรรมธีราชมหามุนี มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พร้อมกับพระสงฆ์อีกสี่รูป ปฏิบัติหน้าที่อยู่สามปี จนถึง พ.ศ. 2505 จึงเดินทางกลับประเทศไทย นับเป็นพระสงฆ์สมณทูตชุดแรกของไทยที่เดินทางมาประกาศพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนต้นกำเนิด ภายหลังที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งท่านพระโสณะ และพระอุตระไปที่สุวรรณภูมิ เมือ พ.ศ. 236 ซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 2,266 ปี
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธีราชมหามุนี วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2502-2506
- พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวิสุทธิโมลี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2506-2532
- พระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล) ป.ธ.9 Ph.D. เมื่อเป็น พระมหาทองยอด ภูริปาโล วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2532- 2554
- พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน
สิ่งก่อสร้าง
[แก้]- พระอุโบสถ จำลองแบบมาจากพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ประเทศไทย แต่ไม่ได้สร้างกำแพงแก้วล้อมด้านหลัง พระประธานในพระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะทางด้านทิศตะวันออกไม่ได้ติดถนนใหญ่ จึงหันหน้าออกทางทิศเหนือ เพื่อให้ชาวอินเดียและพุทธศานิกชนจากชาติต่างๆ เข้านมัสการได้สะดวก ภายในพระอุโบสถ มีภาพวาดชาดกเรื่อง พระมหาชนก ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระประธานภายในพระอุโบสถ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธชินราช (จำลอง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานในการเททองหล่อ ณ วัดเบญจมบพิตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระพุทธธรรมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย" มีความหมายว่า "พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในธรรม กลับสู่ชมพูทวีปให้เกิดสุข" ท่านจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำเนินการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดไทยพุทธคยา โดยเครื่องบิน C 130 ของกองทัพอเมริกา สมัยที่มาทำสงครามเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ทุนทรัพย์ในการสร้างพระประธานและค่าพาหนะขนส่งจำนวน 650,000 บาท โดยเครื่องบิน C 130 เริ่มแรกนั้นต้องลงจอดที่เมืองกัลกัตตา เมื่อทำพิธีศุลกาการ แต่เมื่อบินออกจากเมืองไทยแล้ว นักบินถึงแม้จะตั้งเข็มการบินไปที่เมืองกัลกัตตา แต่ไม่สามารถบินไปกัลกัตตาได้ จึงเปลี่ยนทิศทางการบินมาที่พุทธคยา โดยตรง ปรากฏว่า สามารถบินได้อย่างสะดวก เป็นพุทธปาฏิหาริย์ที่ปรากฏต่อสายตานักบินอเมริกา
- พิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตร ได้มีการผูกพัทธสีมาอย่างเป็นทางการ โดยทำในนามรัฐบาลไทย เป็นรัฐพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระสงฆ์เข้าร่วมพิธี 112 รูป มีชาวพุทธไทยจำนวน 157 ท่านจากประเทศไทย และชาวพุทธไทยในอินเดียนจำนวน 62 ท่านมาร่วมพิธี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2509 (จารึกที่แผ่นหินอ่อนวัดไทยพุทธคยา)
- อาคารรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย มีจำนวน 2 หลัง ลักษณะ 2 ชั้น เพื่อเป็นที่พักของพุทธบริษัทชาวไทยที่เดินทางมานมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย
ราชวงศ์จักรีกับวัดไทยพุทธคยา
[แก้]- พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งราชวงศ์จักรีที่มีต่อวัดไทยพุทธคยานั้น มีมากมายคณานับ ดังต่อไปนี้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเททองหล่อพระพุทธปฏิมา พระพุทธชินราช เพื่ออัญเชิญมาเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยาพร้อมพระราชทานพระนามว่า “"พระพุทธธรรมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย" มีความหมายว่า "พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในธรรม กลับสู่ชมพูทวีปให้เกิดสุข"
- โปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์เป็นประธานยกช่อฟ้าพระอุโบสถและทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน เมือวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2519
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยี่ยมวัดไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2535
- สมเด็พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมวัดไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2530
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาทินัดดามาตุ เสด็จ ในงานฉลองวัดไทยพุทธคยาครบ 50 ปี พ.ศ. 2550
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินพระราชทานเพื่อให้พุทธบริษัทชาวไทยอัญเชิญไปทอดกฐินแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษากาลที่วัดไทยพุทธคยาเป็นประจำทุกปี
นายกรัฐมนตรีนมัสการและทำบุญที่วัดไทยพุทธคยา
[แก้]- จอมพล ป. พิบูลสงคราม บวชที่วัดไทยพุทธคยา พ.ศ. 2503 และเป็นการบวชพระ (อุปสมบท) ครั้งแรกของวัดไทยพุทธคยา
- สัญญา ธรรมศักดิ์ สมัยดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี ผู้แทนพระองค์เป็นประธานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ และทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2519
- พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เยี่ยมวัดไทย
- ชวน หลีกภัย มานมัสการพุทธสังเวชนียสถาน และเยี่ยมวัดไทย พ.ศ. 2551
งานพระธรรมทูต
[แก้]- งานพระธรรมทูตของวัดไทยพุทคยาได้ปรากฏเด่นชัดมาตั้งแต่พระธรรมทูตรุ่นแรก จนถึงปัจจุบัน ได้ทำการประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีป และขยายงานออกไปอย่างมากมาย เช่น
- ก่อตั้งคณะสงฆ์อินเดีย (ALL India Bhikkhu Sangha) ให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการบรรพชาอุปสมบทอย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยการจัดซื้อที่ดินให้สร้างสำนักงานคณะสงฆ์อินเดีย อบรมสั่งสอนกุลบุตรชาวอินเดียที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
- สร้างวัดไทยเพื่อขยายและสร้างโครงงานพระธรรมทูตออกไปยังสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัดไทยในอินเดีย ดังต่อไปนี้
- วัดไทยนาลันทา พ.ศ. 2516
- วัดไทยสารนาถ พ.ศ. 2514
- วัดไทยลุมพินี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทยสร้าง แต่มอบหมายให้อยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล
- วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ พ.ศ. 2537
- และสาขาของวัดไทยกุสินาราอีกสองแห่ง คือ วัดไทยสาวัตถี พ.ศ. 2548 และพุทธวิหารสาลวโนทยาน 960โสเนาลี ชายแดนอินเดีย-เนปาล พ.ศ. 2548
- วัดไทยสิริราชคฤห์ พ.ศ. 2546
- วัดไทยไพสาลี พ.ศ. 2547
- สนับสนุนชาวพุทธอินเดียสร้างพุทธวิหาร พร้อมมอบพระพุทธรูปและเครื่องอัฐบริขารในการบรรพชาอุปสมบท เช่น มอบแด่ชาวพุทธที่เมืองนาคปุร์ เมืองออรังคบาด รัฐมหารัชตะ
- จัดตั้งคลินิกเพื่อดูแลชาวพุทธไทย และชาวพุทธทั่วโลก รวมทั้งชาวอินเดีย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแด่ชาวพุทธที่มาไหว้พระแสวงบุญ รวมทั้งเพื่อสร้างมวลชนสัมพันธ์กับชาวบ้านท้องถิ่น
- จัดสร้างโรงเรียนเพื่อเยาวชนชาวอินเดีย ให้ได้รับการศึกษา มีจำนวน4 แห่งคือ วัดไทยพุทธคยา สนับสนุนโรงเรียนปัญจศีล ที่พุทธคยา และโรงเรียนชาวพุทธใหม่ที่นาลันทา วัดไทยสารนาถ จัดสร้างโรงเรียนพระครูปกาศสมาธิคุณ และวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สร้างโรงเรียนต้นกล้าพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- จัดอบรมพระธรรรมวิทยากร เพื่อพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา คือ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรมในอินเดีย ให้รักงานเผยแพร่ วัตถุประสงค์เพื่อสามารถนำพาพุทธบริษัทที่มาไหว้พระแสวงบุญที่อินเดียให้ได้เข้าใจซาบซึ้งในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ นำสวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา อธิบายธรรม พุทธประวัติ ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชาวพุทธไทยและต่างชาติได้ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับคำยกย่องและชื่นชมจากชาวพุทธไทยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการอบรม สามแห่งคือ วัดไทยพุทธคยา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี
- ดูแลนักศึกษาไทยที่มาเรียนที่อินเดีย มหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย และเป็นผู้ดูแลพระนักศึกษาไทยที่มาศึกษาที่ประเทศอินเดีย ทางวัดไทยพุทธคยาได้จัดมอบทุนการศึกษาแด่นักศึกษาไทย และให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น โครงการไหว้พระนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยพาราณสี มหาวิทยาลัยมคธ มหาวิทยาลัยเดลลี มหาวิทยาลัยปูเณ่ ฯลฯ
- มอบทุนการศึกษาแด่พระภิกษุ-สามเณร แม่ชีและนักเรียนไทย ที่มาศึกษาในประเทศอินเดีย
การติดต่อที่พักสำหรับผู้แสวงบุญชาวไทย
[แก้]- ผู้แสวงบุญที่ประสงค์จะพักที่วัดไทยพุทธคยา ในระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคม ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบล่วงหน้า ประมาณ 2-3 เดือนก่อนการเดินทาง พร้อมระบุจำนวนผู้เข้าพัก วันเวลาที่จะเข้าพัก
การเดินทางมายังวัดไทยพุทธคยา
[แก้]- สามารถเดินทางมาได้โดยสายการบินตรงจากประเทศไทยมายังเมืองพุทธคยา คือ
- รถไฟ มีชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ เชื่อมต่อเมืองโกลกาตา เมืองนิวเดลี เมืองปัฏนา เมืองพาราณสี เมืองมุมไบ
อ้างอิง
[แก้]- 50 ปี วัดไทยพุทธคยา อินเดีย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2550. ISBN 978-974-9985-73-1
- สูจิบัตรงานฉลองวัดไทยพุทธคยา 50 ปี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.watthaibuddhagayaindia935.com[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์วัดไทยพุทธคยา]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดไทยพุทธคยา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์