ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์"

พิกัด: 13°54′46″N 100°33′24″E / 13.91289460265334°N 100.55676048710274°E / 13.91289460265334; 100.55676048710274
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เก่ง
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ปรับภาษา}}
{{ปรับภาษา}}พ่อ A เว็บใหญ่{{เรียงลำดับ|เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์}}
{{distinguish|โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์}}

'''โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์''' เป็นโรงเรียนสหศึกษาเอกชน อยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา [[คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร]] แห่งประเทศไทย เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรปกติ และหลักสูตรภาษาอังกฤษ

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2537 เมื่อบริษัท บางกอกแอร์พอร์ท อินดัสทรี จำกัด โดยนาย[[อนันต์ กาญจนพาสน์]] เจ้าของโครงการเมืองทองธานี ได้มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ ให้แก่มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง จากนั้นเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี" และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 พร้อมกับขยายพื้นที่ของโรงเรียนจาก 10 ไร่ เป็น 23 ไร่

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เป็นโรงเรียนหนึ่งภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยโดยมี นางสาวศรีสมร ชำนาญธรรม เป็นผู้รับใบอนุญาต และนางสาวบุษบา ชูวิรัช เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการโรงเรียน ภาคภาษาไทย

== ประวัติ ==

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยเปิดรับระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย และได้ขออนุญาตขยายหลักสูตรเพิ่มเติม ในระดับก่อน ประถมศึกษา ตามใบอนุญาตเลขที่ 462/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 โดยรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป

พ.ศ. 2537 : เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2537 บริษัท บางกอกแอร์พอร์ท อินดัสทรี จำกัด โดยคุณอนันต์ กาญจนพาสน์ เจ้าของโครงการเมืองทองธานี ได้มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ ให้แก่มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร โดยมีแมร์มีเรียม กิจเจริญ เจ้าคณะแขวง คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย เป็นผู้รับมอบ จากนั้นจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง (ST.JOSEPH, MYRIAM, THE HOLY FAMILY) ด้วยทุนทรัพย์ของมูลนิธิฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดเป็นโรงเรียนสหศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษา

พ.ศ. 2540 : ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน โดยนางสาว รจิต กิจเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาตตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนางสาว สว่างจิตต์ ชมไพศาล เป็นผู้จัดการ ตามใบอนุญาตเลขที่ 3/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2540 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยเปิดรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน 1,275 คน ครูไทย 87 คน ครูชาวต่างชาติ 27 คน และนักบวช 4 ท่าน นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเป็นโรงเรียนเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ทำพิธีเสกอาคารเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2540 โดยคุณ พ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ , คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม, คุณ พ่อชัชวาล แสงแก้ว

ภาคภาษาอังกฤษ (English Program)
พ.ศ. 2541 : ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ตามใบอนุญาตเลขที่ 278/2541 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541

พ.ศ. 2542 : เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี จาก นางสาว รจิต กิจเจริญ เป็นนางสาว จันทร์เพ็ญ ชีรานนท์ ตามใบอนุญาตเลขที่ 162/2542 ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2542

พ.ศ. 2543 : โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เดิมชื่อ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ตามใบอนุญาตเลขที่ 139/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ เป็น ST.FRANCIS XAVIER SCHOOL ตามใบอนุญาตเลขที่ 140/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และในปีการศึกษา 2543 ได้รับอนุญาตให้ขยายห้องเรียนจากเดิม 38 ห้อง เป็น 84 ห้อง ความจุนักเรียนทั้งโรงเรียนจำนวน 4,032 คน ตามใบอนุญาตเลขที่ 315/2543 และได้รับอนุญาตให้เพิ่มพื้นที่ของโรงเรียนจากเดิม จำนวน 10 ไร่ เป็น 23 ไร่ 32 ตารางวา ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2543

พ.ศ. 2544 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดป้ายโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และหอประชุมมีเรียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ในวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544 และได้รับอนุญาตขยายชั้นเรียนโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จากเดิมเปิดสอนระดับประถมศึกษา เป็นเปิดสอนระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 ตามใบอนุญาตเลขที่ 126/2544 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2544

พ.ศ. 2545 : โรงเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตร "โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2545" เป็นรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยผู้บริหารของโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ คือ เซอร์เรจีนา ชมไพศาล เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่จันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

พ.ศ. 2546 : เซอร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ อธิการิณีเจ้าคณะแขวงคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้แต่งตั้งเซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช ดำรงตำแหน่งอธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และได้บรรจุเป็นผู้จัดการ ตามใบอนุญาตเลขที่ 6/2546 ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2546 และมอบอำนาจให้เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 240/2546 ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงอายุการรับนักเรียนจากเดิม อายุ 6 ปี เป็นอายุ 3 ปี ตามใบอนุญาตเลขที่ 461/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และได้ขยายหลักสูตรจากเดิมเปิดสอนระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามใบอนุญาตเลขที่ 462/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และในปีการศึกษา 2546 ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคาร ค.ส.ล. 4 ชั้น เพื่อเป็นอาคารเรียน ความจุนักเรียน 1,676 คน รวมกับความจุเดิม 4,032 คน รวมความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน 5,708 คน ตามใบอนุญาตเลขที่ 463/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546

พ.ศ. 2547 : เซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ได้จัดสร้าง “ศูนย์สร้างสรรค์จินตภาพ” เพื่อช่วยส่งเสริมจินตนาการอันไม่รู้จบของนักเรียน เป็นการเชื่อมโยงความรู้ให้เป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ขึ้น ประกอบด้วย ห้องโลกนักคิด อาณาจักรนักอ่าน บ้านศิลปะ อัจฉริยะไอที เวทีศักยภาพ และในปีเดียวกันได้สร้าง “ศูนย์ภูมิปัญญาไทย” ประกอบด้วย ห้องงานปั้น งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานอาหาร และได้จัดสร้าง “ศูนย์ทดสอบสมรรถภาพ” ทั้งภาคภาษาไทย และภาคภาษาอังกฤษ

พ.ศ. 2548 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ทรงประทานนามและเสด็จมาทรงเป็นประธานเปิด “สวนพิพิธศึกษา เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์” เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2548 โดยเซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์เป็นผู้กล่าวรายงาน สวนนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของ ชาวเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ประกอบด้วย สวนอักษร, สวนสรรค์ปัญญา, สวนศิลป์

พ.ศ. 2550 : โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ ระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ) ตามใบอนุญาตเลขที่ 2 -309/2550 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 และได้เปิดศูนย์ “โลกอัจฉริยะ” โดยเซอร์ไอรีน ชำนาญธรรม เป็นประธานในการเปิดศูนย์ ซึ่งศูนย์นี้สร้างขึ้นเพื่อนเป็นการเรียนรู้สู่ความสุขของนักเรียนอนุบาล เป็นการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของ Howard Gardner ประกอบด้วย คุณลุงต้นไม้, พี่กบเสียงใส, เจ้าเสือนักคิด, ม้าลายช่างศิลป์, คุณโจ๊กช่างเจรจา และดร.สิงห์นักทดลอง

พ.ศ. 2551 : เซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ได้จัดสร้างอาคาร QUEEN OF HEAVEN เป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย QUEEN OF HEAVEN LIGARY แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ชั้นที่ 1 เป็นห้องสมุดที่มีสีสันสดใสและเป็นแหล่งรวมเรื่องราวต่างๆ จากนิทาน เรื่องสั้น และวรรณกรรมที่หลากหลายเพื่อทำให้เด็กได้รู้จักโลกใบนี้ให้มากขึ้น ส่วนที่ 2 อยู่ชั้นที่ 2 ห้องสมุดที่เป็นแหล่งรวบรวมวิทยาการความรู้แขนงต่าง ๆ อย่างครบครัน ห้อง E-LIBRARY แหล่งที่รวมความรู้จำนวนมหาศาลที่จัดการระบบงานห้องสมุด บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้อง THEATER เป็นห้องโสตทัศนศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยผ่านทางภาพนิ่ง ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ห้องเทิดพระเกียรติ...จักรีวงศ์ เป็นห้องที่รวบรวมพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 9 รวมทั้งพระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์

== ข้อมูลทั่วไป ==
* สถานที่ตั้ง เลขที่ 39/4 หมู่ 6 ถนนป็อปปูล่า(ถนนเลียบคลองประปา) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11120
* โทรศัพท์ 0-2980-8528-34
* โทรสาร 0-2980-8535
* เนื้อที่ 23 ไร่
* ต้นสังกัด สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
* เขตพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2

== สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ==
* ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นทองหลาง
* ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกบัวกาญจนเทพ

==แหล่งข้อมูลอื่น==
* [http://www.stfx.ac.th เว็บไซต์โรงเรียนโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์]
* {{facebook|SantFrancisXavierSchoolOfficial}}
{{Geolinks-bldg|13.91289460265334|100.55676048710274}}

{{โรงเรียนมัธยมนนทบุรี}}
{{สถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี}}

{{เรียงลำดับ|เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์}}
[[หมวดหมู่:โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:29, 10 มกราคม 2567

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เป็นโรงเรียนสหศึกษาเอกชน อยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรปกติ และหลักสูตรภาษาอังกฤษ

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2537 เมื่อบริษัท บางกอกแอร์พอร์ท อินดัสทรี จำกัด โดยนายอนันต์ กาญจนพาสน์ เจ้าของโครงการเมืองทองธานี ได้มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ ให้แก่มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง จากนั้นเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี" และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 พร้อมกับขยายพื้นที่ของโรงเรียนจาก 10 ไร่ เป็น 23 ไร่

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เป็นโรงเรียนหนึ่งภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยโดยมี นางสาวศรีสมร ชำนาญธรรม เป็นผู้รับใบอนุญาต และนางสาวบุษบา ชูวิรัช เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการโรงเรียน ภาคภาษาไทย

ประวัติ

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยเปิดรับระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย และได้ขออนุญาตขยายหลักสูตรเพิ่มเติม ในระดับก่อน ประถมศึกษา ตามใบอนุญาตเลขที่ 462/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 โดยรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป

พ.ศ. 2537  : เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2537 บริษัท บางกอกแอร์พอร์ท อินดัสทรี จำกัด โดยคุณอนันต์ กาญจนพาสน์ เจ้าของโครงการเมืองทองธานี ได้มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ ให้แก่มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร โดยมีแมร์มีเรียม กิจเจริญ เจ้าคณะแขวง คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย เป็นผู้รับมอบ จากนั้นจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง (ST.JOSEPH, MYRIAM, THE HOLY FAMILY) ด้วยทุนทรัพย์ของมูลนิธิฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดเป็นโรงเรียนสหศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษา

พ.ศ. 2540 : ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน โดยนางสาว รจิต กิจเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาตตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนางสาว สว่างจิตต์ ชมไพศาล เป็นผู้จัดการ ตามใบอนุญาตเลขที่ 3/2540 ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2540 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยเปิดรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน 1,275 คน ครูไทย 87 คน ครูชาวต่างชาติ 27 คน และนักบวช 4 ท่าน นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเป็นโรงเรียนเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ทำพิธีเสกอาคารเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2540 โดยคุณ พ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ , คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม, คุณ พ่อชัชวาล แสงแก้ว

ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) พ.ศ. 2541 : ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ตามใบอนุญาตเลขที่ 278/2541 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541

พ.ศ. 2542 : เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี จาก นางสาว รจิต กิจเจริญ เป็นนางสาว จันทร์เพ็ญ ชีรานนท์ ตามใบอนุญาตเลขที่ 162/2542 ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2542

พ.ศ. 2543  : โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เดิมชื่อ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ตามใบอนุญาตเลขที่ 139/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ เป็น ST.FRANCIS XAVIER SCHOOL ตามใบอนุญาตเลขที่ 140/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และในปีการศึกษา 2543 ได้รับอนุญาตให้ขยายห้องเรียนจากเดิม 38 ห้อง เป็น 84 ห้อง ความจุนักเรียนทั้งโรงเรียนจำนวน 4,032 คน ตามใบอนุญาตเลขที่ 315/2543 และได้รับอนุญาตให้เพิ่มพื้นที่ของโรงเรียนจากเดิม จำนวน 10 ไร่ เป็น 23 ไร่ 32 ตารางวา ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2543

พ.ศ. 2544  : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดป้ายโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และหอประชุมมีเรียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ในวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544 และได้รับอนุญาตขยายชั้นเรียนโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จากเดิมเปิดสอนระดับประถมศึกษา เป็นเปิดสอนระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 ตามใบอนุญาตเลขที่ 126/2544 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2544

พ.ศ. 2545 : โรงเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตร "โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2545" เป็นรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยผู้บริหารของโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ คือ เซอร์เรจีนา ชมไพศาล เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่จันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

พ.ศ. 2546  : เซอร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ อธิการิณีเจ้าคณะแขวงคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้แต่งตั้งเซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช ดำรงตำแหน่งอธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และได้บรรจุเป็นผู้จัดการ ตามใบอนุญาตเลขที่ 6/2546 ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2546 และมอบอำนาจให้เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 240/2546 ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงอายุการรับนักเรียนจากเดิม อายุ 6 ปี เป็นอายุ 3 ปี ตามใบอนุญาตเลขที่ 461/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และได้ขยายหลักสูตรจากเดิมเปิดสอนระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามใบอนุญาตเลขที่ 462/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และในปีการศึกษา 2546 ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคาร ค.ส.ล. 4 ชั้น เพื่อเป็นอาคารเรียน ความจุนักเรียน 1,676 คน รวมกับความจุเดิม 4,032 คน รวมความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน 5,708 คน ตามใบอนุญาตเลขที่ 463/2546 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546

พ.ศ. 2547 : เซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ได้จัดสร้าง “ศูนย์สร้างสรรค์จินตภาพ” เพื่อช่วยส่งเสริมจินตนาการอันไม่รู้จบของนักเรียน เป็นการเชื่อมโยงความรู้ให้เป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ขึ้น ประกอบด้วย ห้องโลกนักคิด อาณาจักรนักอ่าน บ้านศิลปะ อัจฉริยะไอที เวทีศักยภาพ และในปีเดียวกันได้สร้าง “ศูนย์ภูมิปัญญาไทย” ประกอบด้วย ห้องงานปั้น งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานอาหาร และได้จัดสร้าง “ศูนย์ทดสอบสมรรถภาพ” ทั้งภาคภาษาไทย และภาคภาษาอังกฤษ

พ.ศ. 2548  : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ทรงประทานนามและเสด็จมาทรงเป็นประธานเปิด “สวนพิพิธศึกษา เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์” เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2548 โดยเซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์เป็นผู้กล่าวรายงาน สวนนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของ ชาวเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ประกอบด้วย สวนอักษร, สวนสรรค์ปัญญา, สวนศิลป์

พ.ศ. 2550  : โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ ระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ) ตามใบอนุญาตเลขที่ 2 -309/2550 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 และได้เปิดศูนย์ “โลกอัจฉริยะ” โดยเซอร์ไอรีน ชำนาญธรรม เป็นประธานในการเปิดศูนย์ ซึ่งศูนย์นี้สร้างขึ้นเพื่อนเป็นการเรียนรู้สู่ความสุขของนักเรียนอนุบาล เป็นการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของ Howard Gardner ประกอบด้วย คุณลุงต้นไม้, พี่กบเสียงใส, เจ้าเสือนักคิด, ม้าลายช่างศิลป์, คุณโจ๊กช่างเจรจา และดร.สิงห์นักทดลอง

พ.ศ. 2551 : เซอร์มารีอา โปลีน ชูวิรัช อธิการิณีโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ได้จัดสร้างอาคาร QUEEN OF HEAVEN เป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย QUEEN OF HEAVEN LIGARY แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ชั้นที่ 1 เป็นห้องสมุดที่มีสีสันสดใสและเป็นแหล่งรวมเรื่องราวต่างๆ จากนิทาน เรื่องสั้น และวรรณกรรมที่หลากหลายเพื่อทำให้เด็กได้รู้จักโลกใบนี้ให้มากขึ้น ส่วนที่ 2 อยู่ชั้นที่ 2 ห้องสมุดที่เป็นแหล่งรวบรวมวิทยาการความรู้แขนงต่าง ๆ อย่างครบครัน ห้อง E-LIBRARY แหล่งที่รวมความรู้จำนวนมหาศาลที่จัดการระบบงานห้องสมุด บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้อง THEATER เป็นห้องโสตทัศนศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยผ่านทางภาพนิ่ง ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ห้องเทิดพระเกียรติ...จักรีวงศ์ เป็นห้องที่รวบรวมพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 9 รวมทั้งพระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์

ข้อมูลทั่วไป

  • สถานที่ตั้ง เลขที่ 39/4 หมู่ 6 ถนนป็อปปูล่า(ถนนเลียบคลองประปา) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11120
  • โทรศัพท์ 0-2980-8528-34
  • โทรสาร 0-2980-8535
  • เนื้อที่ 23 ไร่
  • ต้นสังกัด สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  • เขตพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นทองหลาง
  • ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกบัวกาญจนเทพ

แหล่งข้อมูลอื่น

13°54′46″N 100°33′24″E / 13.91289460265334°N 100.55676048710274°E / 13.91289460265334; 100.55676048710274