ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรสุโขทัย"
หน้าใหม่: {{short description|อักษรพราหมีที่เป็นบรรพบุรุษของอักษรไทย}} {{Infobox writing system | name = อักษรสุโขทัย | languages = ไทย, ลาว, ไทยถิ่นเหนือ และอื่น ๆ | creator = พ่อขุนรามค... ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560 ลิงก์แก้ความกำกวม |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:56, 8 ธันวาคม 2566
อักษรสุโขทัย | |
---|---|
ชนิด | |
ผู้ประดิษฐ์ | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช |
ช่วงยุค | ป. ค.ศ. 1283 – คริสต์ศตวรรษที่ 15[1] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ไทย, ลาว, ไทยถิ่นเหนือ และอื่น ๆ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | ไทย, ฝักขาม |
ระบบพี่น้อง | ขอมไทย, ลายตัย |
อักษรสุโขทัย (อังกฤษ: Sukhothai script) มีอีกชื่อว่า อักษรไทยดั้งเดิม (proto-Thai script) และ ชุดตัวอักษรรามคำแหง (Ram Khamhaeng alphabet) เป็นอักษรพราหมีที่มีต้นกำเนิดในอาณาจักรสุโขทัย พบในจารึกพ่อขุนรามคำแหงและจารึกพระยาลือไทย (Lö Thai inscription)[1]
ประวัติ
ต้นกำเนิด
อักษรสุโขทัยอิงจากอักษรเขมรแบบลายมือ ซึ่งเกิดจากการแยก ตัด และถอดตัวเสริมออกจากอักษรเขมรดั้งเดิม[2] มีแชล แฟร์ลุส (Michel Ferlus) นักวิชาการ ได้แสดงให้เห็นว่า ลักษณะเฉพาะบางประการของอักษรไทโบราณและสมัยใหม่สามารถอธิบายได้จากความไม่เพียงพอและช่องว่างในอักษรเขมรโบราณ โดยเฉพาะอักษรเขมรสมัยก่อนพระนคร[3] อักษรสุโขทัยได้รับการรับรองครั้งแรกบนจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่สลักในช่วง ค.ศ. 1283 ถึง 1290 แต่อักษรนี้เป็นผลจากการดัดแปลงอักษรก่อนหน้าที่ไม่ได้มีการรับรอง ซึ่งอิงจากอักษรเขมร แฟร์ลุสตั้งทฤษฎีว่าอาจมีอักษรก่อนหน้านั้นที่พัฒนาขึ้นในสมัยก่อนพระนคร (คริสต์ศตวรรษที่ 7–8) ซึ่งอยู่ก่อนหน้าความแน่นอนในปัจจุบันประมาณ 4 ศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้อีกแบบคืออักษรเขมรสมัยก่อนพระนครอาจมีมาแล้วในบริเวณรอบนอกของอารยธรรมเขมร อักษรไทชนิดแรกอาจต้องมีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับอักษรเขมร แต่อักษรไทได้นำนวัตกรรมมาประยุกต์ เช่น การปรับใช้หรือดัดแปลงอักษร เพื่อสร้างอักษรใหม่ให้เสียงที่ไม่ปรากฏในอักษรเขมร[3] ตามธรรมเนียมไทยระบุว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรสุโขทัยใน ค.ศ. 1283[4]
แฟร์ลุสแบ่งอักษรไทที่มีต้นกำเนิดจากเขมรออกเป็น 2 กลุ่ม: อักษรกลาง ประกอบด้วยอักษรโบราณ (สุโขทัย, ฝักขาม) กับอักษรสมัยใหม่ (ไทย, ลาว) และอักษรไทรอบข้างในประเทศเวียดนาม (ไทดำ, ไทด่อน, ไทแดง, ลายตัย และลายปาว)[3] แฟร์ลุสเสนอแนะว่าชาวไทรับรูปแบบอักษรเขมรทั้งหมดไปใช้โดยขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ในเวลาต่อมาเมื่อชาวไทกระจายทั่วภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ ชาวไทที่ไปทางใต้ (ภายหลังกลายเป็นเป็นชาวไทยหรือสยาม) เข้าไปในดินแดนพระนคร แล้วก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย อักษรไทดั้งเดิมถูกทำให้เป็นเขมรในช่วงที่มีการติดต่อกับเขมร ซึ่งก่อให้เกิดอักษรสุโขทัย[ต้องการอ้างอิง] คุณสมบัติอย่างลำดับอักษรและตัวเลขทำมาจากอักษรเขมร แต่มีการเปลี่ยนสัญลักษณ์สระบางส่วน โดยยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของอักษรเขมรสมัยก่อนพระนครไว้ได้ หากแต่ไม่มีการเรียงลำดับอักษร หรือการใช้ตัวเลข[3] แอนโทนี ดิลเลอร์ (Anthony Diller) รายงานว่า นวัตกรรมที่พบในอักษรสุโขทัยเมื่อเปรียบเทียบกับอักษรเขมร แสดงให้เห็นว่า อักษรสุโขทัยเป็นอักษรที่ผ่านการวางแผนและเป็นเอกภาพ[5]
แพร่กระจายและรุ่นลูก
หลังการประดิษฐ์อักษรสุโขทัย อักษรนี้ได้กระจายไปทั่วอาณาจักรไทในล้านช้าง (ลาว) ล้านนา และอยุธยา จารึกสุโขทัยที่เก่าแก่ที่สุดพบในจังหวัดลำปาง (ล้านนา) มีรูปร่างเกือบคล้ายกับอักษรเก่าที่สุดที่พบในสุโขทัย จารึกนั้นมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน แต่เขียนโดยพระสงฆ์สุโขทัยที่น่าจะนำอักษรสุโขทัยเข้าสู่ล้านนา หลังจากนั้นอักษรนี้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคทางเหนือและใต้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง Finot (1959) รายงานว่า อักษรสุโขทัยตัวอย่างแรกสุดพบในหลวงพระบาง โดยมีอายุถึง ค.ศ. 1548 ซึ่งเขียนขึ้นหลังจากจารึกพ่อขุนรามคำแหงถึง 265 ปี[4]
อักษรสุโขทัยที่กระจายไปทางใต้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกันกับอักษรไทยสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากอักษรสุโขทัยน้อยมาก[4] อักษรสุโขทัยได้รับการพัฒนาเป็นอักษรไทยในลุ่มน้ำตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากการพัฒนานี้สามารถสืบย้อนไปได้ตลอดหลายศตวรรษ[1] ในรัชสมัยพระยาลิไทช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้ที่อ่านหนังสือออกยังคงคุ้นเคยกับอักษรเขมรและไม่ยอมเขียนในอักษรสุโขทัย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงมีการแก้ไขอักษรให้เขียนสระใกล้เคียงกับอักษรเขมรมากขึ้น[6] โดยก่อให้เกิดอักษรใหม่ใน ค.ศ. 1375 ที่มีชื่อว่า "อักษรพระยาลิไท" โดยอักษรนี้เขียนสระทั้งบน ล่าง ด้านหน้าหรือด้านหลังพยัญชนะต้น จากนั้นใน ค.ศ. 1680 อักษรนี้จึงพัฒนาไปเป็น "อักษรพระนารายณ์" ซึ่งภายหลังพัฒนาและคงรูปเป็นอักษรไทยสมัยใหม่[7]
ส่วนทางเหนือ อักษรนี้พัฒนาไปเป็นอักษรฝักขาม[4] อักษรฝักขามใช้กันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรล้านนาระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16[8] จากนั้นอักษรฝักขามเริ่มยาวขึ้นและมีมุมกลมมากกว่าที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและตั้งฉากเหมือนอักษรสุโขทัยก่อนหน้า ตัวอักษรหลายตัวมี "หาง" ที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งทอดยาวทั้งเหนือและใต้บรรทัดเขียนหลัก[4]
-
รายละเอียดจากจารึกพ่อขุนรามคำแหง
-
จารึกพ่อขุนรามคำแหง
-
จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะ
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Lorrillard, Michel (2009-03-31). "Scripts and History : the Case of Laos". Senri Ethnological Studies. 74. doi:10.15021/00002575.
- ↑ Hartmann, John F. (1986). "Varieties of Tai Dam Scripts". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 3 (1): 97–103. JSTOR 40860234.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Ferlus, Michel (Sep 1999). "Sur l'ancienneté des écritures thai d'origine indo-khmère".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อhartmann
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdiller
- ↑ Virunhaphol, Farida (2017). "Designing Khom Thai Letterforms for Accessibility (Doctoral dissertation). University of Huddersfield" (PDF): 156.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Danvivathana, Nantana (1981). "THE THAI WRITING SYSTEM".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Lorrillard, Michel (Jan 2004). "The Diffusion of Lao Scripts. The literary heritage of Laos".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)