โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2445 เป็นโรงเรียนราษฎร์ชื่อ โรงเรียนกุมารีวิทยาลัย พ.ศ. 2485 ได้มีโรงเรียนราษฎร์เปิดขึ้นอีกหนึ่งโรงชื่อ โรงเรียนบำรุงดรุณี ต่อมารัฐได้รวมโรงเรียนทั้งสองเข้าด้วยกันและตั้งชื่อใหม่ว่า โรงเรียนมณฑลสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้แยกนักเรียนหญิงไปเรียนที่อาคารใหม่จึงตั้งชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี และในพ.ศ. 2521 โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี ได้เปิดรับนักเรียนชายเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จนถึงทุกวันนี้

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
Suratpittaya School
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด9°08′31″N 99°19′35″E / 9.1419°N 99.3265°E / 9.1419; 99.3265
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ร. (SRP)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของรัฐบาล
คำขวัญสุทฺธิ ปญฺญา เมตฺตา ขนฺติ
สถาปนา5 ตุลาคม พ.ศ. 2482 (85 ปี 287 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนางเพียงแข ชิตจุ้ย
รองผู้อำนวยการนางสาวชนิดาภา เวชกุล
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สี  น้ำเงิน   เหลือง
เพลงมาร์ชสุราษฎร์พิทยา
เว็บไซต์http://www.srp.ac.th/

ประวัติ

แก้

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เดิมชื่อโรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี มีนางสาวบุญคง สาระเกษตริน เป็นครูใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กรมสามัญศึกษาได้อนุญาตให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานีย้ายไปอยู่อาคารสร้างใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่า ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และได้ยกสถานที่เดิมของโรงเรียนสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ติดกัน ให้แก่โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี

ปี พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน จำนวน 1 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง อาคารต่าง ๆ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2521 จึงรับนักเรียนได้เพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ. 2521 (5 ตุลาคม พ.ศ. 2521) โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม "โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี" เป็นโรงเรียน "สุราษฎร์พิทยา" ก็เนื่องจากทางโรงเรียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นต่อเด็กที่ยังขาดที่เรียนทั้งชาย-หญิง ควรจะมีโอกาสเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นกำลังของชาติต่อไป จึงได้รับนักเรียนชายเข้ามาเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปัจจุบันนี้ก็ได้รับนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจำนวนประมาณ 953 คน ในเมื่อมีการรับนักเรียนชายเข้ามาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเสียใหม่ตามที่ได้รับอนุมัติ

ปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ 420 อีก 1 หลัง จำนวน 20 ห้องเรียน ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง กรมสามัญศึกษา จึงต้องอนุมัติให้สร้างโดยว่าจ้างพิเศษ ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ขอตัด สี ไฟฟ้า และครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้หมด ผลสุดท้ายก็ยังได้อาคารเพิ่มอีก 1 หลังเป็นอาคารเรียน

ปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบ 424 อีก 1 หลังจำนวน 18 ห้องเรียน เต็มตามรูปแบบ ซึ้งแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2525 นับเป็นอาคารหลังแรกที่โรงเรียนได้มาอย่างสมบูรณ์แบบ (แทนอาคารเก่าที่ชำรุด)

ปี พ.ศ. 2530 โรงเรียนได้รับงบบประมาณในการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น (อาคารบวรศิลป์) ชั้นล่างสุดเป็นใต้ถุนโล่ง ชั้นที่ 2 เป็นโรงฝึกงาน และชั้นที่ 3 เป็นหอประชุม

ปี พ.ศ. 2531 โรงเรียนได้ปรับปรุงใต้ถุนอาคารอเนกประสงค์เป็นห้องสมุดโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 6 ชั้น (อาคารธำรงวิทย์) จำนวน 1 หลัง งบประมาณรวม 46,500,000 บาท และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541

ปัจจุบันโรงเรียนสุราษฎร์พิทยามี คณะครู-อาจารย์รวม 135 คน นักเรียน 3,092 คน และนักการ-ลูกจ้างประจำ 14 คน

ความพร้อมในการจัดการศึกษา

แก้
  • เป็นศูนย์ ERIC ของเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 รับนโยบายในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาอ อังกฤษทั้งในระดับมัธยม และประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 และพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษของศูนย์ (โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา) ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยได้รับการคัดเลือกไปศึกษาดูงานการเรียนการสอน ณ ประเทศมาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในปีการศึกษา พ.ศ. 2548-2549 จำนวน 5 คน
  • เคยเข้าร่วมโครงการเงินกู้ธนาคารโลก (World Bank) โดยได้รับทุนสนับสนุนในการสอนปรับปรุงห้องปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของครูทั้ง 3 กลุ่มอย่างเป็นระบบ ทำให้การจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 กลุ่มสาระฯ บรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
  • ร่วมโครงการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี (MOU) ให้ ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2549 โดยรับนักเรียนในโครงการจำนวน 96 คน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 1,200,000 บาท เพื่อส่งเสริมความพร้อมในการเรียนการสอนซึ่งโรงเรียนได้นำไปใช้ในการเตรียมห้อง MOU
  • ร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน ร่วมโครงการ “กิจกรรม โรงเรียน 5 ส" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีขบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในองค์กรแบบ TQM และมียุทธศาสตร์การสร้างผู้นำในระบบต่าง ๆ มีการประเมินผลร่วมกัน อย่างต่อเนื่องเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือ “ความมีวินัยในตนเองของบุคคล” รับการประเมินจากคณะกรรมการของ ปตท. ซึ่งประเมินโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศปีละครั้ง ได้รับผลการประเมินดีขึ้นตามลำดับ จนได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ ในปีการศึกษา 2548
  • ร่วมมือกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้รับการประเมินการดำเนินการตามเกณฑ์และแนวคิดตามที่โครงการกำหนด โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากโครงการฯ มาติดตามและประเมินโรงเรียนทุกปี จนได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบงานสวนพฤกษศาสตร์ และรับพระราชทาน “ป้ายต้นแบบงานพฤกษศาสตร์” จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีการศึกษา 2548
  • ความสามารถในการส่งเสริมการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 ได้รับการคัดเลือกเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ รางวัลชนะเลิศระดับภาค ประดับประเทศ ขององค์กรและสถาบันต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในปีการศึกษา 2548 ได้รับคัดเลือกนำเข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ณ ประเทศมาเลเซีย ในปีการศึกษา 2549 ได้รับคัดเลือกนำเข้าประกวดระดับนานาชาติ ที่ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินเดีย ทั้งในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
  • ความสามารถในการส่งเสริมการพัฒนาการใช้ ICT เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการบริหาร การพัฒนาบุคลากร และพัฒนาการเรียนการสอน มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นศูนย์พัฒนาบุคลากร ได้แก่เขตพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดกระบี่ ในโครงการ เมกะโปรเจ็กต์ของ สพฐ. และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดแก่นักเรียนจนได้รับรางวัลชนะเลิศ Top Award การแข่งขันพัฒนาเว็บไซต์ ระดับประเทศ ในปี 2548 และรางวัลดีเด่นอันดับ 1 การแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์ ระดับภาคใต้ ในปี 2549
  • ร่วม “โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ” ของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.) ในปี พ.ศ. 2546-2549 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในปี 2546 และจัดเป็นโรงเรียนที่มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็น Best Practice ในปีการศึกษา 2549 ด้วย
  • ร่วมโครงการกับสถาบันการแปลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับนักศึกษาฝึกสอน และจ้างครูต่างชาติชาวจีนมาสอนภาษาจีนแก่นักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ถึง ปัจจุบัน และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาจีน ได้รับความสนใจจากนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีการศึกษา 2549 ได้จัดกลุ่มสนใจไปทัศนศึกษาและศึกษาภาษาจีน ในช่วงปิดภาคเรียนแก่นักเรียน 30 คน โดยนักเรียนภาษาจีน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547-2549 จำนวน 44, 68 และ 94 คน ตามลำดับ
  • ร่วมโครงการวิถีพุทธกับเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 ซึ่งเดิมโรงเรียนได้มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนักเรียนทุกคนมีโอกาสนำปิ่นโตไปวัดตลอดพรรษาทุกปี มาเป็นเวลาสืบเนื่องยาวนานเป็น 10 ปี และในปีการศึกษา 2545 – 2547 ได้ดำเนินการที่เรียกว่า โรงเรียนวิถีธรรม เพื่อสื่อหมายรวมถึงทุกศาสนา และได้มาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนวิถีพุทธ” เพื่อความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2548-2549 และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 1

นอกจากนี้โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ยังได้มีการดำเนินการพัฒนาการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบูรณาการให้เกิดความสอดคล้องกับงานกิจการนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพนักเรียน และส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และจะพยายามพัฒนาการใช้วิทยากรอาสามากขึ้นต่อไป

การเรียนการสอน

แก้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้องเรียนทั่วไป (ห้อง 2-7)
  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ (ห้อง 1)
  • ห้องเรียนพิเศษสามภาษา (Multilanguage Program: MLP) (ห้อง 8-9)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สองภาษา (Science Mathematics Bilingual Program: SMBP) (ห้อง 10)
  • ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Enriched Science and Technology: EST) (ห้อง 11-12)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science, Mathematics, Technology and Environment: SMTE) (ห้อง 13)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • แผนการเรียนภาษาจีน (ห้อง 1-2)
  • แผนการเรียนนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ (ห้อง 3)
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (ห้อง 4-5)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ห้อง 6-7)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ (ห้อง 8)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Science Mathematics and English : SME) (ห้อง 9-10)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted Science Program: GSP) (ห้อง 11-12)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science, Mathematics, Technology and Environment: SMTE) (ห้อง 13)

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้



ปีที่ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
รายนาม
ตำแหน่ง
2482 - 2485
นางสาวบุญคง สาระเกษตริน
ครูใหญ่
2485 - 2498
นางกัณณิกา พิชิตานนท์
ครูใหญ่
2498 - 2511
นางสาวทัศนีย์ บุณย์เพิ่ม
ครูใหญ่
2511 - 2516
นางสมนึก พานิช
อาจารย์ใหญ่
2516 - 2518
นางวไล ผิรังคะเปาระ
อาจารย์ใหญ่
2518 - 2526
นางประยงค์ สุพานิช
ผู้อำนวยการ
2526 - 2530
นางสาววิมล สุวรรณเวลา
ผู้อำนวยการ
2530 - 2536
นางสลวย ลาภชูรัต
ผู้อำนวยการ ระดับ 9
2536 - 2538
นายสาธร ลิกขะไชย
ผู้อำนวยการ ระดับ 8
2538 - 2543
นายอภินันท์ พาหะมาก
ผู้อำนวยการ ระดับ 8
2543 - 2550
นางประภาศรี อุยยามฐิติ
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)
2550 - 2553
นายสาธร ลิกขะไชย
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)
2554 - 2557
นายสุชาติ หงษ์ทอง
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)
2557 - 2560
นายเจนจัด ภักดีไทย
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)
2561 - 2564นางสมร เผือกเดชผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ
2564 - ปัจจุบันนางเพียงแข ชิตจุ้ยผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ

คณะสี

แก้

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา มีคณะสีในการแข่งขันกีฬาภายในทั้งหมด 5 คณะสี ดังนี้

  •   สีฟ้า คณะแก้วเกตุ
  •   สีแดง คณะโพธิ์ทิพย์
  •   สีม่วง คณะไทรทอง
  •   สีแสด คณะเวฬุวัน
  •   สีเขียว คณะมุจลินท์

กลุ่มโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

แก้
ลำดับที่ โรงเรียน อักษรย่อ จังหวัด สถาปนา / ยกฐานะ หมายเหตุ
1 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ส.ร. / SRP สุราษฎร์ธานี 5 สิงหาคม พ.ศ. 2482; 85 ปีก่อน (2482-08-05)
2 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ๒ ส.ร.๒ / SRP2 สุราษฎร์ธานี 8 มีนาคม พ.ศ. 2553; 14 ปีก่อน (2553-03-08) เดิมคือ "โรงเรียนประดู่พิทยาคม" ซึ่งสถาปนาเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2525; 42 ปีก่อน (2525-12-06)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้