โรงเรียนคอนสารวิทยาคม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนคอนสารวิทยาคม (อังกฤษ: Khonsanwitthayakom School) เปิดสอนในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ถนนชุมแพ-หล่มสัก ตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
โรงเรียนคอนสารวิทยาคม | |
---|---|
Khonsanwitthayakom School | |
ที่ตั้ง | |
170 ถนนชุมแพ-หล่มสัก ตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 36180 | |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนประจำอำเภอ |
ก่อตั้ง | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (51 ปี) |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่ร้อยเอก จีระศักดิ์ แต่งผิว |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย อังกฤษ จีน |
สี | แดง-เทา
|
เพลง | มาร์ชแดงเทา |
อักษรย่อ | ค.ส./K.S. |
เว็บไซต์ | http://www.ks.ac.th/index.php/en/ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนคอนสารวิทยาคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2516 โดยกรมสามัญศึกษา (เดิม)ได้อนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อวันที่ 17พฤษภาคม 2516 มีนักเรียน 2 ห้องเรียน จำนวน 87 คน โดยอาศัยสถานที่โรงเรียนปริยัติธรรม วัดเจดีย์ เป็นสถานที่เรียนมี ครู 3 คน โดยนายสาธร ชาติอุดมพันธ์ ศึกษาธิการอำเภอคอนสาร ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายเกษม อุดมเศรษฐ์ ครูโทโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก
- พ.ศ. 2521 ได้ขยายพื้นที่ออกไปทางทิศใต้ โดยขอบริจาคพื้นที่วัดเกาะม่วงเพื่อปลูกสร้างบ้านพักครู
- พ.ศ. 2523 ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท รุ่นที่ 1 ( มพช.1)
- พ.ศ. 2527 ได้รับนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- พ.ศ. 2529 เปิดโรงเรียนสาขาที่โนนคูณ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
- พ.ศ. 2531 โรงเรียนสาขาที่ตำบลโนนคูณ แยกไปเป็น " โรงเรียนโนนคูณวิทยาคารรัชมังคลาภิเษก"
- พ.ศ. 2536 เปิดโรงเรียนสาขาตำบลห้วยยาง
- พ.ศ. 2542 โรงเรียนสาขาที่ตำบลห้วยยาง แยกไปเป็น " โรงเรียนห้วยยางวิทยาคม "
- พ.ศ. 2547 เข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
- พ.ศ. 2549 ได้ผ่านการรับรองให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1
ปัจจุบันโรงเรียนคอนสารวิทยาคม ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อนจุฬาภรณ์) และมีนายกษิดิศ ปลื้มญาติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคอนสารวิทยาคม[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติโรงเรียน". www.ks.ac.th.