สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
The Securities and Exchange Commission, Thailand | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 |
สำนักงานใหญ่ | 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับการตราขึ้นและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน
พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวกลางที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547
นอกจากนี้ ยังกำกับดูแลพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ตามลำดับอีกด้วย[1]
อำนาจและหน้าที่
แก้ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่ในการการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลตลาดทุน อาทิ การระดมทุน สินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การกระทำอันไม่เป็นธรรมในตลาดทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดตามกฎหมาย ดังนี้
- กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
- กฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
- กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
- กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
- กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คณะกรรมการ ก.ล.ต.
แก้มีหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ โดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนดังนี้
- ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงการคลัง และ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน
- เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ชื่อ | ตำแหน่ง[2][3] |
---|---|
วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ | ประธานกรรมการ |
ลวรณ แสงสนิท | กรรมการ |
วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์[4] | กรรมการ |
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ | กรรมการ |
สุภัค ศิวะรักษ์ | กรรมการ |
ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย | กรรมการ |
วิพุธ อ่องสกุล | กรรมการ |
บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร | กรรมการ |
ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล | กรรมการ |
ปกรณ์ นิลประพันธ์ | กรรมการ |
พรอนงค์ บุษราตระกูล | กรรมการและเลขานุการ |
คณะกรรมการตรวจสอบ
แก้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของ ก.ล.ต. ในด้านการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และธรรมาภิบาล รวมทั้งจัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วย กรรมการ ก.ล.ต. ที่มิได้เป็นผู้บริหาร ซึ่งมีความเป็นอิสระ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยในจำนวนนี้จะต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. อย่างน้อย 2 คน
ชื่อ | ตำแหน่ง[5][3] |
---|---|
ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย | ประธานกรรมการ |
วิพุธ อ่องสกุล | กรรมการ |
ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล | กรรมการ |
คณะกรรมการกำกับตลาดทุน
แก้คณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีอำนาจหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ ประกาศ และคำสั่งในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในตลาดทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกอบด้วย
- เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นประธานกรรมการ
- รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมาย 1 คน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่เกิน 4 คน ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์
ชื่อ | ตำแหน่ง[6] [3] |
---|---|
พรอนงค์ บุษราตระกูล | ประธานกรรมการ |
วรัชญา ศรีมาจันทร์ | กรรมการ |
พรชัย ฐีระเวช | กรรมการ |
ศรัณยา จินดาวณิค | กรรมการ |
เอกชัย จงวิศาล | กรรมการ |
อายุสม์ กฤษณามระ | กรรมการ |
จันทิมา เพียรเวช | กรรมการ |
โครงสร้างองค์กร
แก้สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดโครงสร้างองค์กร โดยมีฝ่ายงาน ดังนี้[7]
- ฝ่ายกฎหมายผู้ประกอบธุรกิจ
- ฝ่ายกฎหมายระดมทุน
- ฝ่ายกฎหมายองค์กรและคดีปกครอง
- ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป
- ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ฝ่ายกำกับการสอบบัญชี
- ฝ่ายกำกับตลาด
- ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
- ฝ่ายกำกับธุรกิจตัวกลาง
- ฝ่ายกำกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- ฝ่ายกำกับรายงานทางการเงิน
- ฝ่ายขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
- ฝ่ายคดี
- ฝ่ายความเสี่ยงตลาดทุนและองค์กร
- ฝ่ายงานเลขาธิการ
- ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1
- ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 2
- ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล
- ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1
- ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2
- ฝ่ายตรวจสอบภายใน
- ฝ่ายตรวจสอบสินทรัพย์ดิจิทัล
- ฝ่ายตราสารหนี้
- ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
- ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ
- ฝ่ายนโยบายระดมทุน
- ฝ่ายนโยบายสินทรัพย์ดิจิทัลและนวัตกรรมทางการเงิน
- ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมความรู้ตลาดทุน
- ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ
- ฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนข้อมูล
- ฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน
- ฝ่ายสื่อสารองค์กร
ทำเนียบเลขาธิการ ก.ล.ต.
แก้- เอกกมล คีรีวัฒน์ 17 มีนาคม 2535 - 25 ธันวาคม 2538
- ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา - 26 ธันวาคม 2538 - 25 ธันวาคม 2542
- ประสาร ไตรรัตน์วรกุล (รักษาการ) - 26 ธันวาคม 2542 - 27 ธันวาคม 2542
- ประสาร ไตรรัตน์วรกุล - 28 ธันวาคม 2542 - 27 ธันวาคม 2546
- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล - 28 ธันวาคม 2546 - 6 กรกฎาคม 2551
- ประสงค์ วินัยแพทย์ (รักษาการ) - 7 กรกฎาคม 2551 - 14 กรกฎาคม 2551
- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล - 15 กรกฎาคม 2551 - 4 สิงหาคม 2554
- ชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการ) - 5 สิงหาคม 2554 - 3 ตุลาคม 2554
- วรพล โสคติยานุรักษ์ - 4 ตุลาคม 2554 - 15 เมษายน 2558
- ชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการ) - 16 เมษายน 2558 - 30 เมษายน 2558
- รพี สุจริตกุล - 1 พฤษภาคม 2558 - 30 เมษายน 2562
- รื่นวดี สุวรรณมงคล - 1 พฤษภาคม 2562 - 30 เมษายน 2566
- ธวัชชัย พิทยโสภณ (รักษาการ) - 1 พฤษภาคม - 17 กันยายน 2566
- พรอนงค์ บุษราตระกูล - 18 กันยายน 2566 - ปัจจุบัน
อ้างอิง
แก้- ↑ การจัดตั้ง ก.ล.ต.
- ↑ รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 https://www.sec.or.th/TH/Pages/AboutUs/SECBoard.aspx
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์" ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์
- ↑ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- ↑ รายชื่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
- ↑ "organization chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.