วันเอกราช (ประเทศอินเดีย)

วันประกาศเอกราชของอินเดีย เฉลิมฉลองทุกวันที่ 15 สิงหาคม และถือเป็นวันหยุดในประเทศอินเดีย เพื่อรำลึกถึงการประกาศเอกราชของประเทศจากการปกครองของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 เมื่อรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรประกาศ พระราชบัญญัติเอกราชอินเดีย ค.ศ. 1947 ส่งผ่านเอกราชของรัฐสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติอินเดีย โดยคงมีพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐจนถึงการเปลี่ยนสู่ระบบสาธารณรัฐเต็มตัว การได้มาซึ่งเอกราชของอินเดียเป็นผลพวงมาจากขบวนการเอกราชอินเดียผ่านการต่อสู้แบบอหิงสา และ การดื้อแพ่ง ที่นำโดยคองเกรสแห่งชาติอินเดีย

วันประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย
การดึงเชือกกระตุกธงชาติอินเดียกางออกที่หน้าป้อมแดง ประเพณีที่กระทำเป็นสัญลักษณ์ทุกปี
ชื่ออื่นस्वतंत्रता दिवस
จัดขึ้นโดยชาวอินเดีย
ประเภทระดับ
ความสำคัญรำลึกถึงการประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย
การเฉลิมฉลองอัญเชิญธงชาติ, พาเหรด, ดอกไม้ไฟ, ขับร้องดนตรีของชาติและเพลงชาติ ชนะ คณะ มนะ, สุนทรพจน์ดดยนายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ประธานาธิบดีอินเดีย
วันที่15 สิงหาคม
ความถี่รายปักษ์
ครั้งแรก15 สิงหาคม 1947
ส่วนเกี่ยวข้องวันสาธารณรัฐ

การได้รับเอกราชของอินเดียนั้นมาพร้อมกับการแบ่งเส้นอาณาเขตอินเดีย ซึ่งบริติชอินเดียถูกแบ่งออกตามศาสนาเป็น เขตกรรมสิทธิ์อินเดียและ ปากีสถาน การแบ่งเขตนั้นนำไปสู่การประท้วงและจลาจลที่รุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดการโยกย้ายประชากรตามศาสนาที่ถูกแบ่งเส้นอาณาเขตกว่า 15 ล้านคน หลังเผชิญความรุนแรงทางศาสนา ในวันที่ 15 สิงหาคม 1947 นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ชวาหะร์ลาล เนห์รู ดึงเชือกกระตุกธงชาติอินเดียกางออกจากยอดเสาธงด้านหน้าประตูลาหอริ เดลี จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาสู่การเชิญธงและปราศัยต่อหน้าประชาชนในทุกวันประกาศเอกราช[1] กิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะถ่ายทอดสดทั่วประเทศโดย ดูร์ดาร์ชาน สถานีโทรทัศน์ทางการของอินเดีย โดยมักเริ่มด้วยเพลง เชห์นาอี ของ อูสตัด บิสมิลลา ข่าน

อ้างอิง

แก้