ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2480) ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตที่ปรึกษายิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลทักษิณ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โดยสื่อมวลชนมักเรียกว่า "บิ๊กอ็อด"

ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
พล.อ. ยุทธศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2556
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
ถัดไปสุกำพล สุวรรณทัต
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวัฒนชัย วุฒิศิริ
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปอุดมเดช สีตบุตร
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2558
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 มกราคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสคุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา
บุตร4 คน
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2504–2540
ยศ พลเอก[1]
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[2]
บังคับบัญชาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ผ่านศึก

ประวัติ

แก้

ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ พล.ท. อรรถ และนางจำรูญ ศศิประภา เป็นพี่ชายของพล.อ. อัครเดช ศศิประภา อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานกรรมการบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับคุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา ธิดาของจอมพล ประภาส จารุเสถียร กับท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร มีบุตรธิดา 4 คน คือ

  1. พ.ต. ดร.ปรภฎ ศศิประภา
  2. นางสาวอภิษฎา ศศิประภา
  3. นางสาววลัยพรรณ ศศิประภา
  4. นางสาวจันทิมา ศศิประภา

การศึกษา

แก้

ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 8 (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ. กิตติ รัตนฉายา) ในปี พ.ศ. 2504 เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 48 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33 นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมหลักสูตรพลร่ม และจู่โจม จากศูนย์การทหารราบ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

ราชการทหาร

แก้

พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รับราชการในสังกัดกองทัพบก จนกระทั่งได้รับยศชั้น "พลตรี" ในปี พ.ศ. 2528 ในตำแหน่งเสนาธิการกรมการรักษาดินแดน ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว และได้รับพระราชทานยศ "พลเอก" ในปี พ.ศ. 2536[5] เป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม และได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[6] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานยศ "พลเรือเอก พลอากาศเอก"[7] จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2541

การเมือง

แก้

พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23[8] และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครในลำดับถัดได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[9] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พล.อ. ยุทธศักดิ์เป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 4[10] แต่ในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2555 ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[11] ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ก่อนการชุมนุมของกปปส. และแนวร่วมไม่นาน ได้ปรากฏคลิปเสียงที่เชื่อว่าเป็นเสียงสนทนากันระหว่างพล.อ. ยุทธศักดิ์ กับดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต่างประเทศ โดยเนื้อหาที่ปรากฏเป็นเรื่องการสนทนากันเกี่ยวกับนายทหารระดับผู้บัญชาการกองทัพ โดยเฉพาะผู้บัญชาการทหารบก และตอนหนึ่งได้มีการกล่าวถึงถั่งเช่า ซึ่งเป็นสมุนไพรนจีนสำหรับบำรุงสมรรถนะทางเพศ จึงทำให้พล.อ. ยุทธศักดิ์ได้รับฉายาว่า "นายพลถั่งเช่า"[12]

ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[13]

การกีฬา

แก้

พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2545[14] และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[15] และเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เวียดนามใต้ :[27]
    • พ.ศ. 2515 –   แกลแลนทรี่ครอส ประดับดาวบรอนซ์
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญเจ้าที่ราชการ ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญวัฒนธรรม และการศึกษา ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญบริการสาธารณสุข ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญสวัสดิภาพสังคม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญบริการโยธาธิการ สื่อสาร และการขนส่ง ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญแรงงานอันทรงเกียรติ ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญพัฒนาชนบท ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญเกียรติคุณตำรวจ ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2515 –   เหรียญกีฬาเยาวชน ชั้นที่ 2

อ้างอิง

แก้
  1. ได้รับพระราชทานยศพลเอก
  2. ได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอก
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
  4. อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
  5. ตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว
  6. รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม
  7. ได้รับพระราชทานยศ "พลเรือเอก พลอากาศเอก"
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  10. "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  12. "ฟังชัดๆ อีกครั้ง คลิปลับแฉสัมพันธ์ "ทักษิณ-แก๊งนายพลถั่งเช่า" เปลือยการเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
  13. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  14. "ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  15. "พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
  16. ราชกิจจ่นุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๒,๖๘๓ ราย, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๓๒๓, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๐๒๕, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๘๖, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๖๐, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗
  27. 27.0 27.1 วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 268 (หน้าที่ 78-79)
ก่อนหน้า ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถัดไป
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง

(18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.60)
(9 สิงหาคมพ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
  พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต