ภาษาลาดัก
ภาษาลาดัก (ทิเบต: ལ་དྭགས་སྐད་; La-dwags skad) หรือภาษาโภติ หรือที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่าภาษาทิเบตโบราณตะวันตก เป็นภาษาหลักของชาวลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีระ และใช้พูดในบัลติสถาน ภาษาลาดักใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ชาวลาดักเองก็มีวัฒนธรรมหลายอย่างใกล้ชิดกับชาวทิเบต รวมทั้งนับถือศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาลาดักกับภาษาทิเบตกลางไม่สามารถเข้าใจกันได้ แม้ว่าจะมีการเขียนที่ถ่ายทอดมาจากภาษาทิเบตโบราณ มีผู้พูดภาษาลาดักในอินเดีย 200,000 คน และอาจจะมีอีกราว 12,000 คนในทิเบตที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน สำเนียงย่อยหลายสำเนียง ส่วนใหญ่ไม่มีวรรณยุกต์ ยกเว้นสำเนียงสโตตสกัตและสำเนียงลาดักบนที่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาทิเบตกลาง
ภาษาลาดัก | |
---|---|
ལ་དྭགས་སྐད་ La-dwags skad | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอินเดีย, ประเทศจีน |
ภูมิภาค | ลาดัก |
ชาติพันธุ์ | ชาวลาดัก |
จำนวนผู้พูด | 110,826 คน (2011 census)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรทิเบต |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:lbj – Ladakhizau – Zangskari |
อักษร
แก้ภาษาลาดักเขียนด้วยอักษรทิเบต โดยชาวลาดักจะออกเสียงตรงตามตัวอักษรและออกเสียงอุปสรรค ปัจจัย อักษรนำที่มักจะไม่ออกเสียงในภาษาทิเบตสำเนียงอัมโด คาม อู่จั้งและลาซา แนวโน้มการออกเสียงแบบนี้ ยังพบในภาษาบัลติอีกด้วย ตัวอย่างเช่น sta 'ขวาน ' ภาษาทิเบตออกเสียงเป็น [ta] แต่ภาษาลาดักยังออกเสียงเป็น [sta] ’bras 'ข้าว' ภาษาทิเบตออกเสียงเป็น[dre] ส่วนชาวลาดักออกเสียงเป็น [dras] การถอดเป็นอักษรโรมันใช้วิธีการเดียวกับภาษาฮินดี
อ้างอิง
แก้- ↑ "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 15 June 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- A. H. Francke 1901 A Sketch of Ladakhi GrammarJournal of the Royal Asiatic Society of Bengal 70.1 เก็บถาวร 29 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน