นักวารสารศาสตร์

บุคคลผู้รวบรวม เขียน และเผยแพร่ข่าวหรือข้อมูลอื่น ๆ

นักวารสารศาสตร์ (อังกฤษ: journalist) คือบุคคลที่รวบรวมข้อมูลในรูปแบบเนื้อความ เสียง หรือรูปภาพ มาดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบที่มีคุณค่าของความเป็นข่าวและเผยแพร่สู่สาธารณะ การกระทำหรือกระบวนการที่นักข่าวทำนี้เรียกว่า วารสารศาสตร์

นักวารสารศาสตร์
อาชีพ
ชื่อนักวารสารศาสตร์
ชื่ออื่น ๆนักหนังสือพิมพ์, นักวารสารสนเทศ, นักสื่อมวลชน, นักข่าว
ประเภทอาชีพ
วารสารศาสตร์, สื่อมวลชน
กลุ่มงาน
สื่อมวลชน, การประชาสัมพันธ์, การเมือง, กีฬา, ธุรกิจ
รายละเอียด
ความสามารถทักษะการเขียน, ทักษะทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การศึกษา
โดยทั่วไปจบ ปริญญาตรี
สถานที่
ปฏิบัติงาน
สื่อมวลชน
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวภาคสนาม, คนเขียนบทความ, โฆษก, นักการเมือง

นักวารสารศาสตร์สามารถเป็นบุคลากรด้านกระจายเสียงและแพร่ภาพ การพิมพ์ การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ คำว่า นักวารสารศาสตร์ ยังอาจรวมถึงบุคคลที่ทำงานในกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผู้รายงานข่าว ผู้รายงานข่าวภาคสนาม นักข่าวพลเมือง บรรณาธิการ นักเขียนประกอบเรื่อง คนเขียนบทความ และนักข่าวที่สื่อสารทางภาพ เช่น ช่างภาพข่าว (นักข่าวที่รายงานข่าวจากภาพถ่าย)

นักข่าว หรือ ผู้สื่อข่าว (reporter) คือนักวารสารศาสตร์ประเภทหนึ่งที่ค้นคว้า เขียน และรายงานข้อมูลเพื่อนำเสนอโดยใช้แหล่งข้อมูล ซึ่งอาจรวมถึงการสัมภาษณ์ การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ หรือการเขียนบทความ ผู้สื่อข่าวอาจใช้เวลาระหว่างการทำงานในห้องข่าว หรือจากที่บ้าน และการออกไปดูเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือสัมภาษณ์ผู้คน ผู้สื่อข่าวอาจได้รับมอบหมายงานจากสายข่าวหรือผู้รายงานข่าวในท้องที่

นักวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน

แก้

จากข้อมูลตัวอย่างของนักวารสารศาสตร์ทั่วโลก 27,500 คน ใน 67 ประเทศ ระหว่างปี 2012–2016 มีข้อมูลดังนี้[1].

ร้อยละ 57 เป็นผู้ชาย
ค่าเฉลี่ยอายุ อยู่ที่ 38 ปี
ค่าเฉลี่ยจำนวนปีของประสบการณ์ 13 ปี
จบระดับวิทยาลัยร้อยละ 56 จบระดับปริญญาร้อยละ 29
ร้อยละ 61 จบสาขาวารสารศาสตร์/การสื่อสารจากวิทยาลัย
ร้อยละ 80 ทำงานเต็มเวลา
ร้อยละ 50 ทำงานด้านการพิมพ์, ร้อยละ 23 ทำงานด้านโทรทัศน์, ร้อยละ 17 ทำงานด้านวิทยุ และร้อยละ 16 ทำงานด้านออนไลน์.

อ้างอิง

แก้
  1. Thomas Hanitzsch, et al. eds. Worlds of Journalism: Journalistic Cultures around the Globe (2019) pp. 73–74. see excerpt