อุทยานหลวงราชพฤกษ์

สวนพฤกษศาสตร์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ (อังกฤษ: Royal Park Rajapruek) ตั้งอยู่เลขที่ 334 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ถึง 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2554 ปัจจุบันอยู่ภายใต้กำกับการดูแลของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

อุทยานหลวงราชพฤกษ์
แผนที่
ประเภทสวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ
ที่ตั้ง334 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
พื้นที่470 ไร่
เปิดตัว1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ผู้ดำเนินการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
หอคำหลวง เป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุดภายในอุทยาน

ประวัติ

แก้
 
บริเวณด้านหน้าหอคำหลวง

เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และเฉลิมพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 รวม 122 วัน ภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี

จากความสำเร็จของการจัดงานดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี พ.ศ. 2552[1] ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 แห่งนี้ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูล พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek” [2][3]

เส้นทาง

แก้

เส้นทางการเรียนรู้

แก้
 
ลานประติมากรรม
  • สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
  • หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาอันทรงคุณค่า
  • ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
  • สวนสมุนไพร
  • สวนธนาคารแห่งประเทศไทย
  • สวนธนาคารกรุงไทย
  • สวนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • สวนอัศจรรย์สีสันแห่งดาวอังคาร (Amazing Mars Garden) (สวนจิสด้า)
  • สวนบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์
  • สวนมูลนิธิบีเจซี บิ๊กซี

เส้นทางชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ

แก้
  • นิทรรศการบัวบาทยาตรา
  • นิทรรศการ ธ สถิตในดวงใจไทยตราบนิจนิรันดร์
  • นิทรรศการ 7 ทศวรรษ กษัตริย์นักพัฒนา
  • นิทรรศการ ธ ทรงพระเมตตา ปวงประชาอยู่ร่มเย็น
  • นิทรรศการ 236 ปี ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์

เส้นทางความหลากหลายทางชีวภาพ

แก้
  • เรือนกล้วยไม้
  • เรือนไม้ดอก
  • โลกแมลง
  • เรือนร่มไม้
  • เรือนพืชทะเลทราย
  • เรือนพืชไร้ดิน
  • โซนไม้กลุ่มสี
  • โดมกุหลาบ

เส้นทางชมไม้ไม้กลุ่มสี

แก้
  • ดอกกัลปพฤกษ์ (ซากุระเมืองไทย) สีขาว-ชมพูสะพรั่ง (ช่วงเดือนมี.ค. - เม.ย.) พิกัด หน้าเรือนพืชทะเลทรายและโซนสนามเด็กเล่น อาคารโลกแมลง
  • ดอกราชพฤกษ์ เหลืองอร่ามงามตาทั่วสวน (ช่วงปลายเดือนเม.ย. - พ.ค.) พิกัด บึงราชพฤกษ์บริเวณทั่วไปในสวน
  • ดอกอินทนิล ถนนเส้นสีม่วง – ชมพู (ช่วงเดือนเม.ย. - พ.ค.) พิกัด ถนนเส้นหน้าสวนประเทศภูฏานยาวไปจนถึงสวนจีน
  • ดอกหางนกยูงฝรั่ง สีส้มสดใสเต็มถนน (ช่วงปลายเดือน เม.ย. - มิ.ย.) พิกัด อาคารโลกแมลง

เส้นทางสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

แก้
  1. พระพุทธรูปสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ณ ลานต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี พระพุทธรูป 2 องค์ ที่ได้จากการหล่อรวมใบโพธิ์ จำนวน 179,500 ใบ ที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ได้เขียนข้อความถวายพระพร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550
  2. พระศรีศากยมุนี ณ สวนประเทศภูฏาน พระพุทธรูปที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ภูฏาน เด่นในเรื่องนำพาสันติสุขมาให้ และชะลอความชราของสรรพสัตว์ทั้งหมด
  3. พระศากยมุนีปางมารวิชัย ณ สวนประเทศเนปาล เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นที่เมืองปาทัน ประเทศเนปาล เด่นในเรื่องการขจัดอุปสรรคและอันตรายทั้งปวง
  4. พระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัย ณ สวนประเทศลาว เป็นพระพุทธรูปที่ทรงชนะเหล่ามารทั้งหลายที่มารบกวน หากใครได้สักการบูชาจะก่อบังเกิดความสงบสุข ร่มเย็น ปราศจากศัตรู
  5. องค์พระพิฆเนศ ณ สวนประเทศอินเดีย เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง ขจัดอุปสรรคทั้งปวง กิจการทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  6. พระอุปคุตปางสมาธิ หรือ พระบัวเข็ม ณ เนินด้านข้างสวนประเทศจีน โดดเด่นในเรื่องโชคลาภ คุ้มครองภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง ให้คุณทางทรัพย์สิน ร่ำรวยเงินทอง
  7. พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ ด้านข้างสวนประเทศจีน มีความโดดเด่นในเรื่องของความรัก ความมีเมตตา เปรียบเสมือนแม่ที่มีความรักให้กับลูก จึงกลายเป็นอีกหนึ่งองค์เทพที่มีความศักดิ์สิทธิ์

สวนนานาชาติ

แก้
 
สวนภูฏาน
 
สวนจีน ที่มีการใช้อาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนในสมัยราชวงศ์ถัง

สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงของมิตรประเทศที่มาร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีประเทศต่างๆ ได้แก่[4]

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ล. ๐๑/๓๕๘ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
  2. หนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล. ๐๐๓.๔/๕๕๐๔๕ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓
  3. ชื่ออุทยาน
  4. สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

18°44′52″N 98°55′31″E / 18.74778°N 98.92528°E / 18.74778; 98.92528