สุชาติ จันทรโชติกุล
พันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2493) ผู้ประสานงาน พรรคภูมิใจไทย ดูแลพื้นที่ภาคใต้[1] แกนนำกลุ่มด้ามขวานไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 1 สมัยและอดีต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สายการปกครองท้องถิ่น
สุชาติ จันทรโชติกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 มีนาคม พ.ศ. 2493 อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2535–2537) นำไทย (2537–2540) พลังประชารัฐ (2561–2564) กล้า (2564–2565) สร้างอนาคตไทย (2565–2566) ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 12 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 23 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พันเอก |
ประวัติ
แก้พันเอกสุชาติ จันทรโชติกุล เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2493[2] สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 (ร่วมรุ่น กับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และ ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การทำงาน
แก้พันเอกสุชาติ เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 5[3] และ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 43 จังหวัดนราธิวาส ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2535[4]
งานการเมือง
แก้พันเอกสุชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ซึ่งได้รับเลือกตั้งครั้งเดียว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้พันเอกสุชาติ จันทรโชติกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
แก้พันเอกสุชาติได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 กระทั่งได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 พันเอกสุชาติได้จับมือกับนาย ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยมยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ก่อนจะตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคกล้า เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคดูแลพื้นที่ภาคใต้ ก่อนจะลาออกจากรองหัวหน้าพรรคกล้า และมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย รับตำแหน่งผู้ประสานงานพรรค ดูแลพื้นที่ภาคใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "นายสั่ง"ผู้การชาติสละเรือ"พรรคกล้า"หันซบ"รวมไทยสร้างชาติ"
- ↑ เทศาภิบาล ฉบับพิเศษ "เลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535". กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2535
- ↑ พันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล
- ↑ ทำเนียบผู้บังคับหน่วย กรมทหารพรานที่ 43
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘