[1]ฤษีวิศวามิตร ชื่อ "วิศวามิตร" (อังกฤษ: Viswamitra) เป็นอาจารย์สำนักวิศวามิตรท่านแรก มีความเชี่ยวชาญในวิชาธนู ฤษีวิศวามิตรเป็นกษัตริย์แห่งกันยากุพชะ ในตำนานบางแห่ง ว่าเป็นโอรสของพระนางคาธิ พระราชาแห่งกันยากุพชะได้บำเพ็ญตบะจนถึงได้เป็นฤษีขั้นสูง และเป็นที่ปรึกษาของพระราม วิศวามิตรพรหมฤษีมีอำนาจมาก ประสพความสำเร็จพร้อมทั้งมีธนูและลูกศรชนิดพิเศษ ได้ก่อตั้งสำนักการศึกษาขึ้น ชื่อว่าสำนักวิศวามิตร มีอาจารย์วิศวามิตรสืบต่อมามากมายหลายท่าน ซึ่งมีชื่อเสียง ในฐานะที่เป็นสำนักศึกษาของพระพุทธเจ้าในวัยเยาว์ พระวสิษฐฤษี(บางแห่งว่า วสิษฐมุนี)รับรองว่า ฤษีวิศวามิตรมีพลังจิตและเป็นฤษีขั้นสูง[2][3][4]

ฤษีวิศวามิตร กับพระราม พระลักษมณ์

ฤษีวิษวามิตร ในอีกตำนานหนึ่ง ว่า ก่อนการบำเพ็ญตบะในสมัยหนึ่งนั้น ได้มีบุตรตรีชื่อ ศกุนตลา ที่เกิดกับนางอัปสรที่มารบกวนการบำเพ็ญ[5]

สำนักวิศวามิตรสมัยต้นพุทธศตวรรษ

แก้

สำนักวิศวามิตร[6][3] เป็นชื่อสำนักศึกษาแห่งกษัตริย์ มีชื่อเสียงเช่นเดียวกันกับ สำนักตักกศิลา เป็นสำนักเก่าแก่ และเป็นสถานที่ศึกษาแห่งกษัตริย์ในสกุลศากยวงศ์ และสกุลโกลิยวงศ์ ตลอดถึงแม้กษัตริย์แห่งเมือง ไพศาลี ปาวา หรือกุสินารา หากไม่ศึกษาในสำนักตักกศิลาแล้ว ก็มักจะศึกษาไปจากสำนักวิศวามิตรนี้ สำนักวิศวามิตรมีที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณ ต้นลำน้ำโรหิณี บริเวณตอนใต้เทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ไกลออกไปกว่าสำนักตักกศิลา

คำว่า "สำนักวิศวามิตร" แปลว่า "สำนักแห่งความเป็นมิตรกับคนทั่วไป" อาจารย์แห่งสำนักในสมัยแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชำนาญทางวิชาฤษี พร้อมด้วยวิชาธนู อาจารย์วิศวามิตร แห่งสำนักวิศวามิตรทุกคน เป็นบุรุษที่มีใจดำรงมั่นต่อการอบรมศีลธรรม และศิลปวิทยา สำนักวิศวามิตรเป็นสถานที่อบรมสั่งสอนเจ้าชายสิทธัตถะในสมัยเยาว์วัย อาจารย์วิศวามิตรที่มีชื่อเสียง เป็นบุตรในสกุลลิจฉวีกษัตริย์แห่งกรุงไพศาลี ท่านมีพี่ชาย 2 คน มีน้องหญิง 1 คน และมีคนดูแลสำนักที่มีชื่อเสียง ชื่อสังกิจจ์ซึ่งเป็นคนดูแลเรื่องอาหารและความเป็นอยู่แก่นักศึกษาที่มาเล่าเรียนในสำนัก

คำสอนพิเศษสำนักวิศวามิตร[7]

แก้
  1. จะต้องรู้จักอดทน ทำเป็นไม่รู้เท่าทัน ทำเป็นไม่เห็นไม่ได้ยินกิริยาอาการ หรือถ้อยคำล่วงเกินของผู้อื่น
  2. แม้จะมีความรู้ความสามารถสักเพียงไร ก็ไม่พึงตั้งอยู่ในความประมาท จงคิดให้ดีก่อนทำก่อนพูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น
  3. ถ้าเห็นอะไรเกินความสามารถ ให้หาทางสอบถามหาความแก้ไขจากอาจารย์
  • อาวุธพิเศษ ใช้ประกอบคำสอนข้อที่ 2 ได่แก่ เกราะ ธนู และลูกธนู

อ้างอิง

แก้
  1. "วิศวามิตร". Google Arts & Culture.
  2. เชิงผาหิมพานต์ หน้า 81-82
  3. 3.0 3.1 สุชีพ ปุญญานุภาพ หนังสือศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เชิงผาหิมพานต์
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2013-03-12.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-03-12.
  6. ISBN 9743154434
  7. เชิงผาหิมพานต์ หน้า 31-32