วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: College of Innovation, Thammasat University : CITU) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 มีสถานภาพเทียบเท่าคณะ สำนัก หรือ สถาบัน ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531 ลำดับที่ 23 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
College of Innovation, Thammasat University : CITU | |
สถาปนา | 30 มกราคม พ.ศ. 2538 |
---|---|
คณบดี | อาจารย์ ดร.ชยกฤต อัศวธิตานนท์ |
ที่อยู่ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา 39/4 หมู่ 5 ถนนชลบุรี–ระยอง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 24140 |
สี | สีเงิน |
เว็บไซต์ | http://www.citu.tu.ac.th/ |
ที่มาของวิทยาลัย
แก้วิทยาลัยนวัตกรรม เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2538 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า "ศูนย์นวัตกรรมอุดมศึกษา" ต่อมา เพื่อต้องการให้เป็นรูปแบบใหม่ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนจากการจัดตั้งคณะหรือภาควิชามาเป็น วิทยาลัย (College) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ต่อมา สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้แก้ไขชื่อ "วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา" เป็น "วิทยาลัยนวัตกรรม" ใน ปี พ.ศ. 2550 และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิทยาลัยจาก "ผู้อำนวยการ" เป็น "คณบดี" เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551
วิทยาลัยนวัตกรรม มุ่งเน้นจัดการเรียนการสอนในลักษณะสหสาขาวิชาซึ่งมีการผสมผสานศาสตร์ จากหลากหลายองค์ความรู้เข้าด้วยกัน โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการเรียนรู้ และเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานการเรียน การสอนและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ภายใต้ปณิธาน รวมพลังจากความหลากหลาย (Synergy from Diversity) ก้าวไกลด้วยคุณธรรม (Excellence with Ethics) เรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม (Educator of Innovation) และพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม (Develop Holistically)
ปัจจุบัน วิทยาลัยนวัตกรรม จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร และระดับปริญญา โท 4 หลักสูตร และจัดการเรียนการสอนที่ ท่าพระจันทร์ และ ศูนย์พัทยา
สีประจำคณะ
แก้สีเงิน
หลักสูตรที่เปิดสอน
แก้ระดับปริญญาตรี
แก้- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) เก็บถาวร 2019-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (นานาชาติ) (BSI) เก็บถาวร 2016-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (DX) เก็บถาวร 2018-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ระดับปริญญาโท
แก้- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี (MTT) เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารดิจิทัล (CIO) เก็บถาวร 2019-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (MCI) เก็บถาวร 2019-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บุคคลสำคัญจากวิทยาลัยนวัตกรรม
แก้- รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัย
- รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัย
- ผศ.ดร.นพดล อินนา อดีตรักษาการผู้อำนวยการ
- ผศ.ดร.ประวิทย์ เขมะสุนันท์ อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม
- ผศ.ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
- ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย
- อ.ดร.กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
- อ.ดร.พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร รองคณบดีฝ่ายบริหาร ศูนย์พัทยา
- อ.ดร.รัชนีกร แซ่วัง รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา
- สทาศัย พงศ์หิรัญ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ณรงค์ อนุรักษ์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์พิเศษสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- ตรีเพชร อ่ำเมือง (ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยคณะผู้บริหารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุญสืบ ขลิบเพ็ง (ศิษย์เก่า) นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานศิลปวัฒธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
- ชิตสุภางค์ อังสวานนท์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- กษิด์เดช เนื่องจำนงค์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำเภอพระประแดง อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ (ศิษย์ปัจจุบัน) นางสาวไทย พ.ศ. 2557
- รมิดา ธีรพัฒน์ (ศิษย์เก่า) ดารานักแสดงสังกัดช่อง 7
- เอกลักษณ์ คงวุฒิ (ศิษย์เก่า) เน็ตไอดอลชื่อดัง