มุฮัมมัด อะลี จินนาห์
มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์[a] (25 ธันวาคม ค.ศ. 1876 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948) เป็นเนติบัณฑิต นักการเมือง และผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน เขาดำรงตำแหน่งผู้นำสันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดียตั้งแต่ ค.ศ. 1913 จนกระทั่งการเริ่มต้นประเทศปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการปากีสถานในเครือจักรภพคนแรกจวบจนถึงแก่อสัญกรรม
บิดาแห่งชาติ (บาบา-เอ-เกาม์) ท่านผู้นำ (กาอิด-เอ-อาซัม) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ محمد علی جناح | |
---|---|
จินนาห์ เมื่อ ค.ศ. 1945 | |
ผู้สำเร็จราชการปากีสถานคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 |
นายกรัฐมนตรี | ลีอากัต อาลี ข่าน |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ขวาชะ นาซิมุดดีน |
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม ค.ศ. 1947 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948 | |
รอง | เมาล์วี ตามีซุดดีน ข่าน |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | เมาล์วี ตามีซุดดีน ข่าน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาฮัมหมัดอาลี จินนาห์ไภ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1876 การาจี เขตปกครองบอมเบย์ บริติชอินเดีย (ปัจจุบันคือแคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน) |
เสียชีวิต | 11 กันยายน ค.ศ. 1948 (71 ปี) การาจี เขตสหพันธ์เมืองหลวง ประเทศปากีสถาน |
ที่ไว้ศพ | สุสานมาซาร์-เอ-กาอิด การาจี แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน |
พรรคการเมือง | สันนิบาตมุสลิม (ค.ศ. 1947–1948) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (ค.ศ. 1906–1920) สันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย (ค.ศ. 1913–1947) |
คู่สมรส |
|
บุตร | 1 (ดีนา วาฑิชา) |
ศิษย์เก่า | สำนักศึกษากฎหมายลิงคอล์น |
วิชาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
จินนาห์เกิดที่คฤหาสน์วาซีร์ในเมืองการาจี เขาเข้ารับการอบรมเป็นเนติบัณฑิตที่สำนักศึกษากฎหมายลิงคอล์น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาเขาได้เดินทางกลับมายังอินเดียและเข้าทำงานที่ศาลสูงบอมเบย์ โดยในช่วงเวลานี้ เขาเริ่มสนใจในการเมืองระดับชาติ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ความสนใจนี้ก็เข้ามาแทนที่การปฏิบัติงานด้านกฎหมายของเขา จินนาห์เริ่มมีชื่อเสียงอย่างยิ่งในคองเกรสแห่งชาติอินเดียในช่วงสองทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปีแรก ๆ ของการทำงานในแวดวงการเมือง จินนาห์ได้สนับสนุนแนวคิดเอกภาพฮินดู–มุสลิม ซึ่งนำไปสู่กติกาสัญญาลัคเนาใน ค.ศ. 1916 ระหว่างฝ่ายคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย จินนาห์กลายเป็นผู้นำคนสำคัญในสันนิบาตปกครองบ้านเกิดเมืองนอนแห่งอินเดีย และได้เสนอแผนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญสิบสี่ข้อเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของชาวมุสลิมในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1920 จินนาห์ลาออกจากคองเกรส เมื่อคองเกรสเห็นด้วยกับการรณรงค์แบบสัตยาเคราะห์ (Satyāgraha) ซึ่งเขามองว่าเป็นการเมืองแบบอนาธิปไตย
ใน ค.ศ. 1940 จินนาห์เชื่อว่าชาวมุสลิมในอนุทวีปควรมีรัฐเป็นของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสถานะชายขอบของชาวมุสลิมที่ความเป็นไปได้ ซึ่งประชากรเหล่านี้อาจถูกด้อยค่าในรัฐเอกราชฮินดู–มุสลิม ทำให้ในปีนั้น สันนิบาตมุสลิมที่นำโดยจินนาห์ได้ผ่านข้อมติลาฮอร์เพื่อเรียกร้องประเทศแยกต่างหากสําหรับชาวมุสลิมอินเดีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สันนิบาตมุสลิมเริ่มแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่ผู้นำคองเกรสหลายคนถูกจับกุม และในการเลือกตั้งระดับมณฑลที่จัดขึ้นหลังสงคราม สันนิบาตชนะที่นั่งส่วนใหญ่ซึ่งสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม โดยสุดท้ายแล้ว คองเกรสและสันนิบาตมุสลิมก็ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จะแบ่งปันอำนาจเพื่อให้บริติชอินเดียทั้งหมดรวมกันเป็นรัฐเดียวหลังได้รับเอกราช และด้วยเหตุนี้ ทำให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าควรแยกอินเดียออกเป็นสองส่วน ได้แก่ รัฐเอกราชอินเดียที่มีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ และรัฐมุสลิมปากีสถาน
ภายหลังการประกาศเอกราช จินนาห์ได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการปากีสถาน เขาได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติใหม่และดำเนินนโยบายจำนวนมาก ตลอดจนให้กาช่วยเหลือผู้อพยพชาวมุสลิมหลายล้านคน ซึ่งเดินทางมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดียหลังจากการแบ่งอินเดียออกเป็นสองส่วน จินนาห์ดูแลการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยเป็นการส่วนตัว เขาถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 71 ปี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งปีหลังจากที่ปากีสถานได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร เขาทิ้งมรดกที่ลึกซึ้งและเป็นที่เคารพนับถือในประเทศปากีสถาน มหาวิทยาลัยและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากในประเทศตั้งชื่อตามจินนาห์ และเป็นที่เคารพนับถือในปากีสถานว่าเป็น Quaid-e-Azam ("ท่านผู้นำ") และ Baba-e-Qaum ("บิดาแห่งชาติ") รวมถึงวันคล้ายวันเกิดของเขาได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติ
อ้างอิงและหมายเหตุ
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Ahmed, Khaled (23 พฤษภาคม 1998). "The secular Mussalman". The Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012.
- Ahmed, Khaled (24 December 2010). "Was Jinnah a Shia or a Sunni?". The Friday Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2011.
- Ahmed, Akbar S. (2005) [First published 1997]. Jinnah, Pakistan, and Islamic Identity: The Search for Saladin. London: Routledge. ISBN 978-1-134-75022-1.
- Aziz, Qutubuddin (2001). Jinnah and Pakistan.
- Banerjee, Anil Chandra (1981). Two Nations: The Philosophy of Muslim Nationalism. Concept Publishing Company.
- Bolith, Hector (1954). Jinnah: Creator of Pakistan. London: John Murray. OCLC 1001456192.
- Campbell-Johnson, Alan (1951). "The Great Acceptance" (PDF). Mission With Mountbatten (ภาษาEnglish). Aico Publishing House. สืบค้นเมื่อ 12 January 2024.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - "Quaid backed labour struggle". Dawn. 27 October 2003. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
- Cohen, Stephen Philip (2004). The Idea of Pakistan. Washington, D.C.: Brookings Institution Press. ISBN 978-0-8157-1503-0.
- "Dina seeks Jinnah House's possession". Dawn. 25 May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2010.
- Eleazar, Sarah (4 November 2017). "'Pakistan's founder worked as a trade union leader'". Dawn. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
- Engineer, Asghar Ali (2006). They Too Fought for India's Freedom: The Role of Minorities. Hope India Publications.
- Gandhi, Rajmohan (1990). Patel: A Life. Ahmedabad: Navajivan. ASIN B0006EYQ0A.
- Gupta, K. R. G. A. (2006). Concise Encyclopaedia of India. Atlantic Publishers & Distributors. ISBN 978-81-269-0639-0.
- Hibbard, Scott (1994). Religious Politics and Secular States: Egypt, India, and the United States. Baltimore: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-9669-9.
- Jalal, Ayesha (1994). The Sole Spokesman: Jinnah, the Muslim League and the Demand for Pakistan (paperback ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-45850-4.
- Karim, Saleena (2010). Secular Jinnah & Pakistan: What the Nation Doesn't Know. Checkpoint Press. ISBN 978-1-906628-22-2.
- Kenworthy, Leonard (1968). Leaders of New Nations. Garden City, N.Y., Doubleday.
- Khan, Zamir (30 June 2010). "Iqbal and Quaid's Vision of Pakistan" (PDF). The Dialogue. V (2).
- Korejo, M.S (1993). The Frontier Gandhi: His Place in History. Karachi: Oxford University Press.
- Roberts, Jeffrey J. (2003). The Origins of Conflict in Afghanistan. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-275-97878-5.
- Jaffrelot, Christophe (2016). Pakistan at the crossroads : domestic dynamics and external pressures. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-54025-4.
- Jinnah, Fatima (1987). My Brother. Quaid-i-Azam Academy. ISBN 978-9694130361.
- Kazimi, M. (2005). M.A. Jinnah Views and Reviews. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-597979-4.
- Khan, Yasmin (2008) [2007]. The Great Partition: The Making of India and Pakistan (paperback ed.). New Haven, Conn.: Yale University Press. ISBN 978-0-300-12078-3.
- Lawson, Alastair (10 August 2007). "South Asia | Partitioning India over lunch". BBC News. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
- Lumby, Esmond (1954). The Transfer of Power in India. G. Allen and Unwin.
- Malik, Iftikar H. (2008). The History of Pakistan. The Greenwood Histories of the Modern Nations. Westport, Conn.: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-34137-3.
- Mehmood, Syed Qasim (1998). Encyclopedia Pakistanica. Karachi: Qadir Printers.
- Moini, Qasim Abdallah (2003). "Remembering the Quaid". Dawn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2008. สืบค้นเมื่อ 3 July 2009.
- Navid, Nurul Bashar (15 August 2013). "پښتونخوا کالم: زه بابړه يم". BBC Pashto.
- Raghavan, Srinath (2010), War and Peace in Modern India, Palgrave Macmillan, p. 111, ISBN 978-1-137-00737-7
- Mohiuddin, Yasmeen Niaz (2007). Pakistan: A Global Studies Handbook. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-801-9.
- Moore, R. J. (1983). "Jinnah and the Pakistan Demand". Modern Asian Studies. 17 (4): 529–561. doi:10.1017/S0026749X00011069. JSTOR 312235. S2CID 144125491.
- Murphy, Eamon (2013). The Making of Terrorism in Pakistan: Historical and Social Roots of Extremism (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-0-415-56526-4.
- Nasr, Vali (2006). The Shia Revival: How Conflicts Within Islam Will Shape the Future. New York: W. W. Norton & Co. ISBN 978-0-393-32968-1. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
- Noorani, A. G. (2014) [first published in 2013 by Tulika Books], The Kashmir Dispute, 1947–2012, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-940018-8
- Pirbhai, M. Reza (2017). Fatima Jinnah (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-19276-8.
- Puri, Balraj (7 March 2008). "Clues to understanding Jinnah". Economic and Political Weekly. Bombay: Sameeksha Trust. 43 (9): 33–35. JSTOR 40277204.
- Read, Anthony (1997). The Proudest Day: India's Long Road to Independence. New York: W.W. Norton & Co. ISBN 978-0-393-04594-9.
- Seervai, H. M. (2005). Partition of India: Legend and Reality. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-597719-6.
- Dawn (11 September 2017). < "From Dawn's Archives: The Father of the Nation laid to rest". สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- Siddique, Salma (16 February 2023). Evacuee Cinema: Bombay and Lahore in Partition Transit, 1940–1960 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-009-15120-7.
- Singh, Iqbal (1951). The Ardent Pilgrim: An Introduction to the Life and Work of Mohammed Iqbal. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-563979-7.
- Singh, Jaswant (2009). Jinnah: India-Partition and Independence. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-547927-0. OCLC 611042665.
- Singh, Prakash K. (2009). Encyclopaedia on Jinnah: Volume 5. Indiana University.
{{cite book}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Singh, Nagendra; Mishra, A. P. (2010). Global Encyclopaedia of Indian Philosophy. Global Vision Publishing House. ISBN 9788182202948.
- Sharif, Azizullah (20 February 2010). "Karachi: Restoration of Church Mission School ordered". Dawn.
- Talbot, Ian (February 1984). "Jinnah and the Making of Pakistan". History Today. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
- Tudor, Maya (14 March 2013). The Promise of Power: The Origins of Democracy in India and Autocracy in Pakistan (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-32873-0.
- United News of India (9 May 1998). "Was Jinnah a Shia or Sunni?". United News of India via rediff.com. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
- Wolpert, Stanley (1984). Jinnah of Pakistan. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-503412-7.
- Ziring, Lawrence (1980). Pakistan: The Enigma of Political Development. Dawson. ISBN 978-0-7129-0954-9.
- K. R. N. Swamy (1 December 1997), Mughals, maharajas, and the Mahatma, HarperCollins Publishers India, p. 71, ISBN 978-8-17-223280-1
- Partha Sarathy Ghosh (1 January 1999), BJP and the Evolution of Hindu Nationalism: From Periphery to Centre, Manohar Publishers & Distributors, p. 60, ISBN 978-8-17-304253-9
- Iftikhar Haider Malik (2006), Culture and Customs of Pakistan, Greenwood Publishing Group, p. 61, ISBN 978-0-313-33126-8
- Ludwig W. Adamec (14 December 2016), Historical Dictionary of Islam, Rowman & Littlefield, p. 231, ISBN 978-1-4422-7724-3
- "Special report: The Legacy of Mr Jinnah 1876–1948". Dawn.