ฟาโรห์เชเนฮ์
เชเนห์ เป็นผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่[2][3] เช่นนี้พระองค์จะปกครองจากเมืองอวาริสเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย ตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นไม่ชัดเจน
เชเนห์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชนส์, เชเนส | |||||||||||
ตราประทับแห่งอะเบอร์ดีน หมายเลข 21048 ของฟาโรห์เชเนห์ เมื่อ ค.ศ. 1906 วาดโดยเพอร์ซี นิวเบอร์รี[1] | |||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบ | ||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ | ||||||||||
ถัดไป | ไม่ทราบ | ||||||||||
| |||||||||||
ราชวงศ์ | ไม่แน่ชัด, อาจจะราชวงศ์ที่สิบสี่ |
หลักฐานยืนยัน
แก้พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์ไม่กี่พระองค์ในราชวงศ์ที่ 14 ที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ คือ ตราประทับสคารับจำนวนสามชิ้น อย่างไรก็ตาม[3] ตราประทับเหล่านี้ไม่ทราบแหล่งที่มา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการการศึกษาเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์ ปัจจุบันตราประทับชิ้นหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ อีกตัวอยู่ในอะเบอร์ดีน แค็ตตาล็อกหมายเลข 21048 และตัวที่สามอยู่ในมอสโก แค็ตตาล็อกหมายเลข 2258[2][4]
ตราประทับชิ้นที่สามที่มอสโกนั้นมีรูปแบบตกแต่งที่ขอบด้วยรูปเชือก ซึ่งตกแต่งเช่นนี้ในตราประทับในราชสำนักของราชวงศ์ที่สิบสามเท่านั้น และสำหรับฟาโรห์เชชิและพระราชโอรสอิปกู ซึ่งอาจจะสืบเนื่องมาจากช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสี่ ดังนั้น พระองค์จึงอาจจะทรงปกครองในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสี่เช่นกัน โดยไม่ปรากฏพระนามนำหน้าของพระองค์ที่อาจจะบันทึกอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน
การพิสูจน์ตัวตน
แก้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พระองค์ได้รับการยืนยันว่าทรงเป็นผู้ปกครองของราชวงศ์ที่สิบสี่ และนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ จึงเสนอว่า พระองค์อาจจะถูกระบุตัวตนได้ว่าเป็นพระองค์กันกับฟาโรห์เซเฮบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร[2] โดยแท้จริงแล้ว ฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชย์พระองค์ละสามถึงสี่ปี ซึ่งถือว่าเป็นการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์นี้ และไม่ค่อยปรากฏหลักฐานยืนยันมากนัก[3]
พระนามของพระองค์บางครั้งได้รับการแปลเป็น เชเนส เนื่องจากการอ่านสัญลักษณ์ที่แปลว่า ผู้ให้ชีวิต ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นฉายาที่มอบให้กับกษัตริย์โดยทั่วไป
อ้างอิง
แก้- ↑ Percy E. Newberry: Scarabs, an introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, with forty-four plates and one hundred and sixteen illustrations in the text, A. Constable and Co., ltd. in London, 1906, available online, see p. 124 and pl. X, num. 28.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 358-359
- ↑ Olga Tufnell: Studies on Scarab Seals, vol. II, Aris & Philips, Warminster, 1984
- ↑ Harry Reginald Hall: Catalogue of Egyptian scarabs, etc., in the British museum, 1913, n. 208 p. 50, available online copyright free