ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

ผู้ประกาศข่าวชาวไทย

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ชื่อเล่น แยม เป็นผู้ประกาศข่าวภาคสนามและพิธีกร เธอมีชื่อเสียงจากรายการข่าว 3 มิติ ทางช่อง 3 เอชดี ปัจจุบันฐปณีย์ทำข่าวบนสื่อออนไลน์ “The Reporters TV” บนเพจเฟซบุ๊กและยูทูบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 [1] โดยนำเสนอเรื่องปัญหาอื่นของสังคมที่สื่อหลักๆไม่พูดถึง[2]เธอเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา[3]

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
ฐปณีย์ (เสื้อเขียว) ขณะรายงานข่าวในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563
เกิด14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 (47 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
การศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อาชีพผู้ประกาศข่าวภาคสนาม
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน
ตัวแทนไอเอ็นเอ็น (2543–2545)
ไอทีวี (2545–2551)
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2551-ปัจจุบัน)
ผลงานเด่นข่าว 3 มิติ

ประวัติ

แก้

ฐปณีย์เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เป็นคนอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา โดยพ่อแม่ของเธอได้แยกทางกัน เธอจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์​ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เธอเริ่มงานข่าวที่สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น เป็นนักข่าววิทยุสายเศรษฐกิจ และได้มาทำสายการเมือง จากนั้น ก็ย้ายมาทำที่ไอทีวี ก่อนเปลี่ยนแนวหันมาทำข่าวแนวสืบสวนสอบสวนในรายการ ถอดรหัส และ ห้องสืบสวนหมายเลข 9 มาทำข่าวภาคสนามในรายการ ข่าว 3 มิติ และเป็นหนึ่งในครอบครัวข่าวของทีมข่าวช่อง 3[4]

ผลงานที่ได้รับการกล่าวถึง

แก้

ผลงานที่ถูกกล่าวขวัญถึง คือ ช่วงที่ได้ร่วมงานกับรายการ ข่าว 3 มิติ ในฐานะผู้ประกาศข่าวภาคสนาม ซึ่งฐปณีย์ลงทำข่าวในหลายพื้นที่เสี่ยงภัย

  • อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 โดยฐปณีย์ใส่ชุดเอี๊ยมกันน้ำ ลงวัดระดับน้ำตามชุมชนต่างๆ ซึ่งหลายพื้นที่น้ำสูงถึงระดับอก[5]
  • กรณีความไม่สงบ ปัญหาชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555–2556[6][7]
  • กรณีนำเสนอข่าวเกี่ยวกับประเด็นค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา พ.ศ. 2558 และให้สัมภาษณ์บีบีซีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[8][9] ซึ่งต่อมารายงานข่าวชิ้นนี้ได้รับรางวัลจากองค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทยด้วย[10]

ในบรรดาผลงานทั้งหมดนั้น ได้เกิดกรณีหนึ่งที่เป็นการเข้าใจผิดระหว่างที่ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ทำข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ และมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์วางอยู่ที่พื้นใกล้ ๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และฐปณีย์ เอียดศรีไชย ได้นำพานพุ่มขอขมา ณ สถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยโดยทันทีและยืนยันว่าเป็นมุมกล้องทำให้เข้าใจผิด เหตุการณ์ดังกล่าวไม่บานปลาย[11]

รางวัล

แก้

โฆษณา

แก้
  • โฆษณาหนัง Civil War วิบัติสมรภูมิเมืองเดือด (2024) ในปี พ.ศ. 2567

อ้างอิง

แก้
  1. isranews (2020-11-21). "เดอะรีพอร์ตเตอร์รายได้ล่าสุด 5.9 แสน! ธุรกิจ'ฐปณีย์' ก่อนกรณีดราม่า 'เด็กเล่าข่าว ch'". สำนักข่าวอิศรา.
  2. "ฐปนีย์ เอียดศรีไชย นักข่าวภาคสนามกว่า 20 ปีที่ไม่แค่รายงานข่าว แต่ต้องการขับเคลื่อนสังคม". The Cloud. 2020-12-16.
  3. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 กุมภาพันธ์ 2567
  4. ฐปนีย์ เอียดศรีไชย" ขี่ฮอนด้าซีวิค เคยถูกเบนซ์ ชนท้ายอย่างจัง.[ลิงก์เสีย] มติชนออนไลน์.
  5. "ฐปนีย์ เอียดศรีไชย รับรางวัล MThai Top Talk-about 2012 สตรีที่ถูกขวัญมากที่สุดแห่งปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-07-10.
  6. ข่าว 3 มิติรายงานข่าวเรื่อง "วิสามัญกลุ่มคนร้ายก่อเหตุวางระเบิดรถยนต์รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา,กิจกรรมไทยพุทธและมุสลิม". เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเรียกข้อมูลวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556
  7. ฐปนีย์โต้สุกำพลหลังจวกสื่อเสนอข่าวใต้. เก็บถาวร 2013-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นสพ. โพสต์ทูเดย์ เรียกข้อมูลวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  8. โซเชียลกดดัน ฐปณีย์ เอียดศรีไชย กรณีเสนอข่าว “โรฮิงยา” มาม่ามากเกินไป. เก็บถาวร 2015-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน chaoprayanews เรียกข้อมูลวันที่17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
  9. วิจารณ์แซ่ด "ฐปณีย์" กล่าวผ่านบีบีซี "โรฮีนจา" ต้องการเข้าฝั่งเพราะไม่รู้จะไปไหน. เก็บถาวร 2015-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
  10. 10.0 10.1 องค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย (28 มกราคม 2559). "ผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. แถลงการณ์ช่อง3 ขอพระราชทานอภัยโทษพระบรมวงศานุวงศ์-ชาวกัมพูชา แจง"ฐปนีย์"ไม่มีเจตนาลบหลู่. เก็บถาวร 2012-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชนออนไลน์. เรียกข้อมูล วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้