สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต

รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน

สาธารณรัฐของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต หรือ สาธารณรัฐสหภาพ (รัสเซีย: Сою́зные Респу́блики, อักษรโรมัน: Soyúznye Respúbliki) เป็นหน่วยการปกครองตามเชื้อชาติของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR)[1] สหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1922 จากสนธิสัญญาระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน โดยสาธารณรัฐข้างต้นรวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต)

สาธารณรัฐของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
หมวดหมู่สหพันธรัฐ
ที่ตั้ง สหภาพโซเวียต
ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
ก่อตั้ง30 ธันวาคม ค.ศ. 1922
ยกเลิกโดยการรับรองความเป็นอิสระของกลุ่มรัฐบอลติก
คำประกาศที่ 142-เอช
ยกเลิก26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
จำนวน21 รัฐ (ณ ค.ศ. 1933)
ประชากรน้อยที่สุด: 1,565,662 คน (เอสโตเนียโซเวียต)
มากที่สุด: 147,386,000 คน (รัสเซียโซเวียต)
พื้นที่น้อยที่สุด: 29,800 km2 (11,500 sq mi) (อาร์มีเนียโซเวียต)
มากที่สุด: 17,075,400 km2 (6,592,800 sq mi) (รัสเซียโซเวียต)
การปกครองสาธารณรัฐสังคมนิยมแบบพรรคการเมืองเดียว
หน่วยการปกครองสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียต, แคว้น, แคว้นปกครองตนเอง

สำหรับภาพรวมทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจระดับสูงซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และมีโครงสร้างเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแต่ในนาม การปฏิรูปการกระจายอำนาจอย่างค่อยเป็นค่อยไปในยุคของเปเรสตรอยคา (การปรับโครงสร้าง) และกลัสนอสต์ (การเปิดกว้าง ซึ่งหมายถึงเสรีภาพในการพูด) ที่ดำเนินการโดยมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเฮลซิงกินั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 อันเกี่ยวโยงกับจุดจบของสงครามเย็นและการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช

ในสหภาพโซเวียตมีการแบ่งประเภทของสาธารณรัฐที่แตกต่างกันเป็นสองระดับ โดยสาธารณรัฐสหภาพที่ใหญ่กว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์หลักของสหภาพและมีสิทธิที่จะแยกตัวออกตามรัฐธรรมนูญ และสาธารณรัฐปกครองตนเองที่เล็กกว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ของสาธารณรัฐสหภาพและเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์กลุ่มน้อย โดยทั่วไปแล้ว สาธารณรัฐปกครองตนเองจะอยู่ภายใต้อำนาจของสาธารณรัฐสหภาพที่รัฐตั้งอยู่ ยกเว้นบางกรณี เช่น สาธารณรัฐนาคีชีวัน (Republic of Nakhichevan)

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชซึ่งก่อตั้งจากผลกระทบของสงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ เป็นเพียงสาธารณรัฐสหภาพเดียวที่ถูกลิดรอนสถานะใน ค.ศ. 1956 การตัดสินใจลดฐานะคารีเลียเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองภายในรัสเซียโซเวียตทำโดยรัฐบาลกลางเพียงฝ่ายเดียว ปราศจากการถามความเห็นของประชากร[ต้องการอ้างอิง]

ภาพรวม

 
ธงของสาธารณรัฐโซเวียตในพิพิธภัณฑ์ยุคโซเวียตเลนินใน บิชเคก คีร์กีซสถาน

ตามมาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสหภาพเป็นอธิปไตยรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สหรัฐกับสาธารณรัฐโซเวียตอื่น ๆ ในสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต มาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า "สิทธิอธิปไตยของสหภาพโซเวียตจะได้รับการปกป้องโดยสหภาพโซเวียต"[2]

ในช่วงการรวมตัวครั้งสุดท้าย สหภาพโซเวียตประกอบด้วย 15 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่เป็นทางการซึ่งทั้งหมด (ยกเว้นสาธารณรัฐรัสเซีย) ได้มีบทในการจัดตั้งและบริหารพรรคคอมมิวนิสต์ภายในสหพันธ์สาธารณรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต

สหพันธ์สาธารณรัฐนอกอาณาเขตสหพันธรัฐรัสเซีย ส่วนใหญ่ถูกประกอบด้วยอยู่ในดินแดนที่เดิมเป็นของจักรวรรดิรัสเซียและได้ถูกซื้อในระหว่างปี พ.ศ. 2243 จากมหาสงครามเหนือและอนุสัญญาแองโกลรัสเซีย พ.ศ. 2450 ถึงแม้สหภาพโซเวียตประกอบด้วย 15 รัฐแต่มีเพียง 11 รัฐที่มีอิสระในการบริหารยกเว้นจอร์เจียกับกลุ่มรัฐบอลติกซึ่งกลุ่มรัฐบอลติกได้รวมเข้ามาในช่วงการยึดครองรัฐบอลติกซึ่งทำให้ในระดับสากลมองว่าเป็นการยึดครองอย่างผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2534 [3][4][5]

แต่ละสาธารณรัฐมีที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองของตราประจำชาติของรัฐ ธง เครื่องอิสริยาภรณ์ แต่มีข้อยกเว้นเพลงชาติสหภาพโซเวียตเป็นเพลงประจำชาติทุกรัฐจนถึงปี พ.ศ. 2533 ทุกรัฐในสหภาพโซเวียตมีสิทธิที่จะได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน

ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 การเข้ามาควบคุมของมอสโกต่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตได้มีน้อยลงจากเปเรสตรอยคาและกลัสนอสต์ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟนำไปการเป็นอิสระมากขึ้นของสาธารณรัฐจนทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย

สาธารณรัฐสหภาพของสหภาพโซเวียต

จำนวนสาธารณรัฐสหภาพของสหภาพโซเวียตในแต่ยุคมีจำนวนที่แตกต่างกันตั้งแต่ 4 ถึง 16 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1956 จนกระทั่งการล่มสลายใน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทั้งหมด 15 แห่ง (ใน ค.ศ. 1956 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1940 ถูกยกเลิกเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย)

ตราแผ่นดิน ชื่อ ธงชาติ เมืองหลวง ก่อตั้ง ระยะเวลาที่เข้าร่วม ประชากร
(ค.ศ. 1989)
พื้นที่ (km2)
(ค.ศ. 1991)
รัฐเอกราชหลังการล่มสลาย
  สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย   มอสโก 7 พฤศจิกายน 1917 1922-1991 147,386,000 17,075,400   รัสเซีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน   เคียฟ 10 มีนาคม 1919 1922-1991 51,706,746 603,700   ยูเครน
  รัสเซีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย   มินสค์ 31 กรกฎาคม 1920 1922-1991 10,151,806 207,600   เบลารุส
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก   ทาชเคนต์ 5 ธันวาคม 1924 1924-1991 19,906,000 447,400   อุซเบกิสถาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค   อัลมา-อาตา 5 ธันวาคม 1936 1936-1991 16,711,900 2,717,300   คาซัคสถาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย   ทบิลีซี 25 กุมภาพันธ์ 1921 1922-1991 5,400,841 69,700   จอร์เจีย
  อับฮาเซีย
  เซาท์ออสซีเชีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน   บากู 28 เมษายน 1920 1922-1991 7,037,900 86,600   อาเซอร์ไบจาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย   วิลนีอัส 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1990 3,689,779 65,200   ลิทัวเนีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย   คีชีนอฟ 2 สิงหาคม 1940 1940-1991 4,337,600 33,843   มอลโดวา
  ทรานส์นีสเตรีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย   รีกา 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1991 2,666,567 64,589   ลัตเวีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ   ฟรุนเซ 5 ธันวาคม 1936 1936-1991 4,257,800 198,500   คีร์กีซสถาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก   ดูชานเบ 5 ธันวาคม 1929 1929-1991 5,112,000 143,100   ทาจิกิสถาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย   เยเรวาน 2 ธันวาคม 1920 1922-1991 3,287,700 29,800   อาร์มีเนีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน   อัชฮาบัด 13 พฤษภาคม 1925 1925-1991 3,522,700 488,100   เติร์กเมนิสถาน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย   ทาลลินน์ 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1991 1,565,662 45,226   เอสโตเนีย

อดีตสหภาพสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียต

แผนที่ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เมืองหลวง เข้าร่วม พื้นที่ (km²)
รวมเข้า/แยกออก
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส ทบิลิซี 1922–1936 186,100 ได้แยกเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
    สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช เปโตรซาวอดสค์ 1940–1956 172,400 รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

สาธารณรัฐอื่น ๆ ในสหภาพโซเวียต

แผนที่/ธงประจำรัฐ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เข้าร่วม หมายเหตุ
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส (พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2462 รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในช่วงสงครามโปแลนด์–โซเวียต ก่อนแยกในปี พ.ศ. 2463
    สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส พ.ศ. 2462 ผนวกกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โปแลนด์และลิทัวเนีย (ส่วนที่เป็นเอกร่าชในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกาลิเซีย พ.ศ. 2463 ผนวกเข้ากับโปแลนด์ ก่อนที่ได้คืนมารวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
  สาธารณรัฐโซเวียตดอแนตสก์–กรือวึยรีห์ พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแบล็กซี เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแบล็กซี พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซียน
สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซียน พ.ศ. 2461 ยกเลิกหลังถูกฝ่ายขาวยึดครองในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (พ.ศ. 2461–2463) พ.ศ. 2461–2463 ได้รับการปลดจากโปแลนด์ ในช่วงสงครามโปแลนด์–โซเวียต
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (พ.ศ. 2461-พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2461 รวมตัวกับทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส
    สาธารณรัฐโซเวียตไนซาร์ พ.ศ. 2460–2461 ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน ก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอสโตเนีย
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตโมกุน พ.ศ. 2462 แยกออกจากสหภาพโซเวียตไปรวมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน
    สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตออแดซา พ.ศ. 2461 ผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน
  สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตตูรีดา พ.ศ. 2461 แยกออกจากสหภาพโซเวียตไปเป็นรัฐเอกราชไครเมีย
 สาธารณรัฐประชาชนยูเครนแห่งโซเวียต พ.ศ. 2460–2461 รวมเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
   สาธารณรัฐตะวันออกไกล พ.ศ. 2463–2465 รวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
   สาธารณรัฐประชาชนโคราซม์แห่งโซเวียต พ.ศ. 2463–2468 สลายตัวก่อนจะไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน
    สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซีย พ.ศ. 2464–2474 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตอับคาเซีย ภายใต้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
   สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตบูคารา พ.ศ. 2463–2468 ล่มสลายก่อนจะไปรวมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน
    สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเปอร์เซีย พ.ศ. 2460–2461 คืนให้กับจักรวรรดิเปอร์เซีย

รัฐโซเวียตที่ยังไม่ก่อตั้งขึ้น

อ้างอิง

  1. Hough, Jerry F (1997). Democratization and revolution in the USSR, 1985-1991. Brookings Institution Press. p. 214. ISBN 0-8157-3749-1.
  2. Federalism and the Dictatorship of Power in Russia By Mikhail Stoliarov. Taylor & Francis. 2014. p. 56. ISBN 0-415-30153-X. สืบค้นเมื่อ 2014-02-18.
  3. David James Smith, Estonia: independence and European integration, Routledge, 2001, ISBN 0-415-26728-5, pXIX
  4. Parrott, Bruce (1995). "Reversing Soviet Military Occupation". State building and military power in Russia and the new states of Eurasia. M.E. Sharpe. pp. 112–115. ISBN 1-56324-360-1.
  5. Van Elsuwege, Peter (April 2004). Russian-speaking minorities in Estonian and Latvia: Problems of integration at the threshold of the European Union (PDF). Flensburg Germany: European Centre for Minority Issues. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-17. The forcible incorporation of the Baltic states into the Soviet Union in 1940, on the basis of secret protocols to the Molotov-Ribbentrop Pact, is considered to be null and void. Even though the Soviet Union occupied these countries for a period of fifty years, Estonia, Latvia and Lithuania continued to exist as subjects of international law.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน