ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต |
---|
ชั้นโปรแกรมประยุกต์ |
Transport layer |
Internet layer |
Link layer |
ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล
ลำดับชั้นของโพรโทคอลในระบบอินเทอร์เน็ต
[แก้]ลำดับชั้นของโพรโทคอลในระบบอินเทอร์เน็ต มีลำดับชั้นที่น้อยกว่าโครงสร้างลำดับชั้นของโอเอสไอ โดยในโอเอสไอมีลำดับชั้นของโพรโทคอลทั้งหมด 7 ชั้น แต่ในระบบอินเทอร์เน็ตมีเพียง 4 ชั้นเท่านั้น
4 | ชั้นโปรแกรมประยุกต์ (application layer) |
เช่น HTTP, FTP, DNS เป็นต้น |
3 | ชั้นขนส่ง (transport layer) |
เช่น TCP, UDP, RTP เป็นต้น |
2 | ชั้นอินเทอร์เน็ต (Internet layer) |
เช่น ไอพี |
1 | ชั้นการเชื่อมต่อ (Link layer) |
เช่น Ethernet, Wi-Fi เป็นต้น |
ชั้นการเชื่อมต่อ
[แก้]ชั้นการเชื่อมต่อ หรือ Link layer สามารถเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นระบบพื้นฐานของการเชื่อมต่อที่ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่ายโดเมน
หน้าที่ของชั้นนี้สำหรับการส่งข้อมูล เนื่องจากตัวแบบ ทีซีพี/ไอพี ไม่ได้กำหนดมาตรฐานในข้อตอนนี้อย่างมากนัก กำหนดไว้เพียงว่าให้สามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุเนื้อหาหน้าที่ที่ชัดเจนได้ ดังนั้นจึงอาจจะยกระบบของ โครงสร้างแบบ โอเอสไอทั้งสองชั้นแรกมาซึ่งได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปตามสายส่งไปยังที่หมายปลายทาง ซึ่งได้แก่การจัดเตรียมPacket Header การควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการจัดส่ง เช่น การเชื่อมต่อกับNetwork card และการใช้งาน Device Driver หน้าที่สำหรับการรับข้อมูลคือ คอยรับกรอบของข้อมูลที่ได้รับ นำข้อมูลส่วนหัวออกมา และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังชั้นเครือข่าย
ชั้นอินเทอร์เน็ต
[แก้]ชั้นอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Layer เทียบได้กับชั้นที่ 3 ซึ่งคือ Network Layer ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง โดยหาเส้นทางที่ข้อมูลจะใช้เดินทางผ่านเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
โพรโทคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หรือ ไอพี ทำหน้าที่เปรียบเสมือนซองจดหมายซึ่งระบุถึงที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง โดยมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายนั้นผ่านกรมการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จนถึงจุดหมายปลางทาง ที่อยู่บนซองจดหมายในอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลเรียกว่า หมายเลขไอพี ที่ทำการไปรษณีย์คือเราเตอร์ที่ทำหน้าที่ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อส่งข้อมูลไปตามสายส่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
ชั้นขนส่ง
[แก้]ชั้นขนส่ง หรือ Transport layer เทียบได้กับชั้นที่ 4 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ติดต่อกัน ซึ่งอาจแบ่งได้สองลักษณะคือ บริการการส่งข้อมูลแบบที่สถาปณาการเชื่อมต่อ(สร้างเส้นทางการเชื่อมต่อก่อนที่จะส่ง) และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่สถาปณาการเชื่อมต่อ(ไม่สร้างเส้นทางการเชื่อมต่อก่อนที่จะส่ง โดยการส่งออกไปเลย) และจัดส่งข้อมูลไปยังapplicationที่ต้องการข้อมูล
โพรโทคอลที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ TCP, UDP, RTP
ชั้นการประยุกต์ใช้งาน
[แก้]ชั้นการประยุกต์ใช้งาน หรือ Application layer เทียบได้กับชั้นที่ 5 ถึง 7 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ จะครอบคลุมบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัส การเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และเป็นชั้นที่โปรแกรมประยุกต์ใช้งานโดยตรง โดยโพรโทคอลที่อยู่บนชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับประเภทของโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น โปรแกรมอีเมลใช้โพรโทคอล SMTP สำหรับส่งอีเมล ใช้โพรโทคอล POP3 สำหรับรับและเรียกดูอีเมล, ส่วนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้โพรโทคอล HTTP สำหรับเรียกดูเว็บเพจ เป็นต้น
ขั้นตอนการรับส่งข้อมูลผ่านโครงสร้างแบบทีซีพี/ไอพี
[แก้]โปรแกรมประยุกต์จะส่งผ่านข้อมูลซึ่งก็คือโพรโทคอลที่ตนใช้งานเช่น HTTP หรือ SMTP ผ่านไปยังลำดับชั้นต่างๆของ โครงสร้างแบบ TCP/IP เริ่มต้นที่ชั้นขนส่ง(Transport Layer) ซึ่งโปรแกรมประยุกต์จะต้องกำหนดหมายเลขท่า(Port Number)ของตนว่าจะใช้หมายเลขใด เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้รับส่งสามารถส่งถึงโปรแกรมประยุกต์ที่เรียกใช้งานได้ถูกต้อง ที่ชั้นนี้ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเรียกว่า Segment จากนั้นจะส่งผ่านไปยังชั้นเครือข่าย(Internetwork Layer) โดยในชั้นนี้จะมีหมายเลขไอพี(IP address) เป็นที่อยู่ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโปรแกรมประยุกต์อยู่ ข้อมูลจาก Segment จะถูกห่อหุ้มและส่งในรูปแบบของ Packet โดยที่ Packetต่างๆจะถูกกำหนดเส้นทางที่จะเริ่มต้นส่งออกไปยังระบบเครือข่าย ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกกำหนดอยู่ในส่วนหัวของ Packet เรียกว่า Packet Header สุดท้ายข้อมูลจะถูกส่งไปชั้นสุดท้ายคือชั้นการเชื่อมต่อ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่าย โดยแต่ละจุดเชื่อมต่อจะเรียกว่าโหนด(node) ข้อมูลจะถูกส่งไปยังโหนดต่างๆที่มีการเชื่อมต่อจากโหนดเริ่มต้นไปยังโหนดต่อไปและต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงโหนดปลายทาง
ป
[แก้]ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |