การฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย | |
---|---|
เลอซุยไซด์ โดยเอดัวร์ มาแน | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
การตั้งต้น | >70 และ 12–30 ปี[1] |
สาเหตุ | การแขวนคอ, พิษของยาฆ่าแมลง, กระโดดตึก ,ปืน[2][3] |
ปัจจัยเสี่ยง | โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภท, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ, โรควิตกกังวล, โรคพิษสุรา, substance abuse[2][4][5] |
การป้องกัน | จำกัดโอกาสฆ่าตัวตาย, บำบัดโรคประจำตัวผู้ป่วย, สื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายอย่างระมัดระวัง, พัฒนาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ[2] |
ความชุก | 12 คนใน 100,000 คนต่อปี;[6] 0.5% (โอกาสในชีวิต)[7] |
การเสียชีวิต | 793,000 / 1.4% ของการตาย (2016)[8] |
ส่วนหนึ่งของรายการเรื่อง |
นิติเวชศาสตร์ |
---|
การฆ่าตัวตาย หรือ อัตฆาตกรรม หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[9] โรคพิษสุรา ความเครียด ปัญหาทางครอบครัว หรือการใช้สารเสพติด[4] ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ[10]
วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน ค.ศ. 2013 ขึ้นจาก 712,000 คนใน ค.ศ. 1990[11] ทำให้เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 10 ทั่วโลก[4][6] อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[12] โดยผู้ชายมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง 3-4 เท่า มีการฆ่าตัวตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิตประมาณ 10-20 ล้านครั้งทุกปี[13] ความพยายามฆ่าตัวตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิตมักก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และความพิการระยะยาว ความพยายามดังกล่าวนี้มักพบในคนอายุน้อยและผู้หญิง
ทรรศนะที่มีต่อการฆ่าตัวตายมีหลายประเด็น เช่น ด้านศาสนา เกียรติยศ และความหมายของชีวิต ศาสนาอับราฮัมมองการฆ่าตัวตายว่าเป็นการดูหมิ่นพระเจ้าเนื่องจากความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิต ในยุคซะมุไรในญี่ปุ่น เซ็ปปุกุจัดเป็นหนึ่งในวิธีการไถ่โทษสำหรับความผิดพลาด หรือเป็นการประท้วงรูปแบบหนึ่ง พิธีสตี ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย คาดหวังให้หญิงม่ายบูชายัญตนเองบนกองฟืนเผาศพของสามี ทั้งสมัครใจหรือจากความกดดันจากครอบครัวและสังคม[14]
ขณะที่ในอดีต การฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตาย เป็นอาชญากรรมต้องโทษ แต่ปัจจุบันในประเทศตะวันตกมิเป็นเช่นนั้นแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นอาชญากรรมในหลายประเทศ ในศตวรรษที่ 20 และ 21 มีการฆ่าตัวตายที่เป็นการบูชายัญตนเองเกิดขึ้นบางโอกาสเป็นสื่อกลางการประท้วง และคะมิกะเซะและการระเบิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเป็นยุทธวิธีทางทหารหรือการก่อการร้าย[15]
คำจำกัดความ
[แก้]การฆ่าตัวตาย หรือการฆ่าตัวตายสมบูรณ์แบบ เป็น "การกระทำที่ปลิดชีพตน"[16] ความพยายามฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมเสียงต่อการฆ่าตัวตายคือการทำร้ายตนเองโดยมีความปรารถนาว่าจะจบชีวิตตน แต่ไม่ถึงแก่ความตาย[17] การฆ่าตัวตายแบบมีผู้ช่วย เกิดขึ้นเมื่อมีคนคนหนึ่งนำพาความตายมาให้อีกคนอีกคนทางอ้อม โดยการให้คำแนะนำหรือวิธีการฆ่าตัวตาย[18] การฆ่าตัวตายตรงข้ามกับการุณยฆาตซึ่งคนอีกคนมีบทบาทหลักในการนำพาความตายมาสู่คนคนหนึ่ง[18] การเกิดความคิดฆ่าตัวตายเป็นความคิดในการจบชีวิตคนคนหนึ่งแต่ไม่ต้องใช้ความพยายามเพื่อทำการดังกล่าว[17]
ปัจจัยเสี่ยง
[แก้]ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ความผิดปกติทางจิต การใช้ยาในทางที่ผิด ภาวะทางจิตวิทยา สถานการณ์ทางวัฒนธรรม สังคม และครอบครัว และพันธุกรรม[20] อาการป่วยทางจิตใจกับการใช้สารเสพติดนั้นมักเกิดร่วมกันบ่อย ๆ[21] ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ยังรวมถึงความพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน[7] ความเพียบพร้อมในการกระทำดังกล่าว ประวัติการฆ่าตัวตายของครอบครัว หรืออาการบาดเจ็บทางสมอง[22] ตัวอย่างเช่น อัตราการฆ่าตัวตายจะพบได้ในบ้านเรือนที่มีอาวุธปืนมากกว่าบ้านเรือนที่ไม่มีอาวุธปืน[23] ปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน ความยากจน การไม่มีที่อยู่ และการเหยียดหยาม อาจกระตุ้นให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายได้[24][25] คนที่ฆ่าตัวตาย 15-40% ทิ้งจดหมายฆ่าตัวตายไว้[26] พันธุกรรมมีผลต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 38% ถึง 55%[27] ทหารผ่านศึกมีความเป็นไปได้ที่จะฆ่าตัวตายมากกว่า เนื่องจากความเจ็บป่วยทางจิตใจ และปัญหาสุขภาพที่มาจากสงคราม[28]
โรคทางจิตใจ
[แก้]โรคทางจิตใจเกิดขึ้น ณ เวลาที่ฆ่าตัวตายด้วยพิสัยตั้งแต่ 27%[29] จนถึงมากกว่า 90%[7] ในบรรดาคนที่เคยเข้ารับการรักษาทางจิต ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสำเร็จในช่วงชีวิตอยู่ที่ประมาณ 8.6%[7] ประชาชนครึ่งหนึ่งที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอาจเป็นโรคเกี่ยวกับความหดหู่ หากมีโรคทางจิตใจอย่างน้อยหนึ่งชนิด เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว เพิ่มความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายถึง 20 เท่า[30] โรคอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท (14%) ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (14%)[31] โรคอารมณ์สองขั้ว[30] และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ[7] คนที่เป็นโรคจิตเภทราว 5% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย[32] ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินเป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง[33]
ประวัติของความพยายามฆ่าตัวตายเป็นตัวทำนายการฆ่าตัวตายสมบูรณ์แบบที่ใหญ่ที่สุด[7] การฆ่าตัวตายประมาณ 20% เคยมีความพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน และในจำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จภายในเวลาหนึ่งปีเพียง 1 %[7] และฆ่าตัวตายสำเร็จภายใน 10 ปีเพียง 5%[33] การกระทำที่เป็นการทำร้ายตนเองมักไม่ใช่ความพยายามฆ่าตัวตาย และคนที่ทำร้ายตนเองส่วนมากไม่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย[34] คนที่ทำร้ายตนเองบางคนตัดสินใจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายจริง และความเสี่ยงของการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายอาจทับซ้อนกัน[34]
การฆ่าตัวตายสมบูรณ์ประมาณ 80%[35] ผู้ที่ฆ่าตัวตายได้พบกับหมอภายในเวลาหนึ่งปีก่อนเสียชีวิต 45%[36] ของจำนวนนี้พบหมอในหนึ่งเดือนก่อนหน้า ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 25-40% ใช้บริการสุขภาพจิตในเวลาหนึ่งปีมาก่อน[29][35]
การใช้สารเสพติด
[แก้]การใช้สารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอันดับที่สองรองจากโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว[37] ทั้งการใช้สารเสพติดเรื้อรังและการเสพสารมึนเมาก็มีส่วน[21][38] เมื่อรวมกับความโศกเศร้าส่วนตัว เช่น การสูญเสียคนรัก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้นอีก[38] นอกจากนี้การใช้สารเสพติดยังเป็นเหตุให้เกิดโรคทางสุขภาพจิตใจด้วย[21]
คนส่วนมากได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ยาระงับประสาท (เช่น แอลกอฮอล์ หรือเบนโซไดอาเซพีนส์) หลังเขาเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย[39] โดย 15-61% ของคนกลุ่มนี้เป็นโรคพิษสุรา[21] ประเทศที่มีการบริโภคแอลกอฮอล์สูง และมีบาร์ในเมืองอย่างหนาแน่น มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง[40] ผู้ที่ได้รับการรักษาโรคพิษสุราประมาณ 2.2-3.4% ณ เวลาหนึ่งในชีวิตจะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย[40] คนติดสุราที่พยายามฆ่าตัวตายปกติเป็นผู้ชาย สูงอายุ และเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน[21] ผู้เสียชีวิตที่ใช้เฮโรอีน 3-35% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย (มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ประมาณ 14 เท่า)[41] ในผู้ใหญ่ที่ดื่มสุรา การทำงานผิดพลาดของระบบประสาทและทางจิตอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย[42]
ปัญหาการพนัน
[แก้]ปัญหาการพนันเป็นเหตุให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป[43] นักเล่นพนันระหว่าง 12-24% พยายามฆ่าตัวตาย[44] อัตราการฆ่าตัวตายในสามีภรรยาของพวกเขามีมากกว่าประชากรทั่วไปถึง 3 เท่า[44] ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในนักเล่นพนัน ได้แก่ ความผิดปกติทางจิตใจ แอลกอฮอล์ และการใช้ยา[45]
สื่อ
[แก้]สื่อต่าง ๆ รวมถึงอินเทอร์เน็ต มีบทบาทสำคัญ[20] ผลกระทบต่อการฆ่าตัวตายจากสื่อมักเป็นทางลบ การรายงานข่าวเด่นซ้ำ ๆ ที่สรรเสริญการฆ่าตัวตายมีผลกระทบสูงสุด[46] เมื่อมีการพรรณนารายละเอียดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีเฉพาะทางวิธีหนึ่ง ๆ วิธีการฆ่าตัวตายวิธีนั้นจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้มาก[47]
แรงกระตุ้นให้เกิด "การฆ่าตัวตายตามกัน" หรือการลอกเลียนแบบการฆ่าตัวตาย ที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์แวเธ่อร์ (Werther effect) ได้ชื่อตามตัวเอกในนวนิยายเรื่อง แวเธ่อร์ระทม ของเกอเทอ ที่ฆ่าตัวตาย และผู้ที่อ่านนวนิยายเรื่องนี้ต่างก็เลียนแบบกัน[48] ความเสี่ยงเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่หลงใหลในความตาย[49] ปรากฏว่าขณะที่สื่อข่าวมีผลกระทบมาก ผลกระทบจากสื่อบันเทิงนั้นไม่แน่นอน[50] ตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์แวร์เธ่อร์ มีการเสนอว่าเป็นปรากฏการณ์พาพาเกโน ที่การรายงานข่าวกลไกการรับมืออาจมีผลกระทบที่เป็นการป้องกัน คำนี้มาจากตัวละครในละครโอเปราเรื่อง ขลุ่ยวิเศษ ของโมซาร์ท ที่ (กลัวว่าจะสูญเสียคนรัก) วางแผนฆ่าตัวตายจนกระทั่งเพื่อนของเขามาช่วย[48]
วิธีการ
[แก้]วิธีการฆ่าตัวตายที่พบมากจะแตกต่างไปตามประเทศต่าง ๆ วิธีการที่พบมากในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และการใช้อาวุธปืน[51] ความแตกต่างเหล่านี้ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่ามาจากความเป็นไปได้ของแต่ละวิธี[47] จากการทบทวน ประเทศ 56 ประเทศพบว่าการแขวนคอเป็นวิธีการที่พบมากที่สุด[52] คิดเป็นเพศชาย 53% และเพศหญิง 39%[53]
ในทั่วโลก การฆ่าตัวตาย 30% มาจากสารฆ่าสัตว์รังควาน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ในยุโรปผันแปร 4% และในภูมิภาคแปซิฟิกผันแปรมากกว่า 50%[54] วิธีนี้พบได้บ่อยในลาตินอเมริกาเนื่องจากประชากรที่ทำไร่นาเข้าถึงสารดังกล่าวได้ง่าย[47] ในหลายประเทศ การใช้ยาเกินขนาดคิดเป็นราว 60% ของการฆ่าตัวตายในผู้หญิง และ 30% ในผู้ชาย[55] การฆ่าตัวตายจำนวนมากไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และเกิดขึ้นในช่วงเวลาอารมณ์รวนเรฉับพลัน[47] อัตราการตายแตกต่างกันไปตามวิธีการ กล่าวคือ จากอาวุธปืน 80-90% การจมน้ำ 65-80% การแขวนคอ 60-85% ท่อไอเสียรถยนต์ 40-60% การกระโดด 35-60% การรมควันจากถ่านไม้ 40-50% สารฆ่าสัตว์รังควาน 6-75% และการใช้ยาเกินขนาด 1.5-4%[47] อัตราการพยายามฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดต่างจากอัตราความสำเร็จในการฆ่าตัวตาย กล่าวคือ ความพยายาม 85% เป็นการใช้ยาเกินขนาดในประเทศพัฒนาแล้ว[33]
ในประเทศจีน การบริโภคสารฆ่าสัตว์รังควานเป็นวิธีการฆ่าตัวตายที่พบมากที่สุด[56] ในประเทศญี่ปุ่น วิธีการคว้านไส้ตนเองที่เรียกว่า เซ็ปปุกุ หรือฮาราคีรี ยังคงเกิดขึ้นอยู่[56] อย่างไรก็ตาม การแขวนคอพบได้บ่อยที่สุด[57] การกระโดดจนถึงแก่ชีวิตพบมากในฮ่องกงและประเทศสิงคโปร์ ที่อัตรา 50% และ 80% ตามลำดับ[47] ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอาวุธปืนอยู่ทั่วไป แต่การฆ่าตัวตายที่พบบ่อยที่สุดคือการแขวนคอ[58] ในสหรัฐอเมริกา การฆ่าตัวตาย 57% เกี่ยวพันกับอาวุธปืน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[7] รองลงมาคือการแขวนคอในผู้ชาย และการวางยาพิษตนเองในผู้หญิง[7] วิธีการเหล่านี้รวมกันคิดเป็น 40% ของการฆ่าตัวตายในสหรัฐอเมริกา[59]
วิทยาการระบาด
[แก้]ประชาชนประมาณ 0.5% - 1.4% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ด้วยอัตราการตาย 11.6 ต่อ 100,000 คนต่อปี[6][7] การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน ค.ศ. 2013 ขึ้นจาก 712,000 คนใน ค.ศ. 1990[11] อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 60% จากคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง ค.ศ. 2012[60] ในอัตราที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา[4] นับถึง ค.ศ. 2008-2009 การฆ่าตัวตายทั่วโลกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สิบ[4] ในทุก ๆ การฆ่าตัวตายที่ส่งผลให้เกิดผู้เสียชีวิตนั้น 10-40% พยายามฆ่าตัวตายมาก่อน[7]
อัตราการฆ่าตัวตายแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญ[6] ค่าเปอร์เซนต์ของผู้เสียชีวิตใน ค.ศ. 2008 ได้แก่ แอฟริกา 0.5% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1.9% อเมริกาเหนือและใต้ 1.2% และยุโรป 1.4%[6] อัตราส่วนต่อคน 100,000 คน ได้แก่ ออสเตรเลีย 8.6 แคนาดา 11.1 จีน 12.7 อินเดีย 23.2 สหราชอาณาจักร 7.6 สหรัฐอเมริกา 11.4 และเกาหลีใต้ 28.9[61][62] การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 10 ในสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 2009 ที่ 36,000 คดีต่อปี[63] โดยประมาณ 650,000 คนเข้าแผนกฉุกเฉินเนื่องจากพยายามฆ่าตัวตาย[7] อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายวัย 50 ปีเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งในทศวรรษ 1999-2010[64] ประเทศลิทัวเนีย ญี่ปุ่น และฮังการี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด[6] ประเทศที่มีตัวเลขจำนวนครั้งการฆ่าตัวตายสูงสุดคือจีน และอินเดีย คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด[6] ในประเทศจีน การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5[65]
การป้องกัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทัศนะของศาสนาต่าง ๆ
[แก้]ศาสนาพุทธ
[แก้]พุทธศาสนาถือว่าการฆ่าตัวตายไม่เป็นปาณาติบาต เพราะปาณาติบาตหมายถึงการฆ่าชีวิตอื่น[66] พระโคตมพุทธเจ้าตรัสเล่าว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นกระต่าย ได้กระโดดเข้ากองไฟเพื่อสละร่างกายตนเป็นอาหารของพราหมณ์คนหนึ่ง[67] อย่างไรก็ตามผู้ฆ่าตัวตายด้วยความโกรธ ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ เช่น นรกภูมิ เพราะความโกรธนั้น[68]
ศาสนาอิสลาม
[แก้]ศาสนาอิสลามต่อต้านการฆ่าตัวตาย[69] ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ อายะห์ที่ 29 ระบุว่า "จงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง"[70]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2014Pre
- ↑ 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2016
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAj2008
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Hawton K, van Heeringen K (April 2009). "Suicide". Lancet. 373 (9672): 1372–81. doi:10.1016/S0140-6736(09)60372-X. PMID 19376453.
- ↑ De La Vega D, Giner L, Courtet P (March 2018). "Suicidality in Subjects With Anxiety or Obsessive-Compulsive and Related Disorders: Recent Advances". Current Psychiatry Reports. 20 (4): 26. doi:10.1007/s11920-018-0885-z. PMID 29594718.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Värnik, P (March 2012). "Suicide in the world". International Journal of Environmental Research and Public Health. 9 (3): 760–71. doi:10.3390/ijerph9030760. PMC 3367275. PMID 22690161.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 Chang, B; Gitlin, D; Patel, R (September 2011). "The depressed patient and suicidal patient in the emergency department: evidence-based management and treatment strategies". Emergency medicine practice. 13 (9): 1–23, quiz 23–4. PMID 22164363.
- ↑ "Suicide across the world (2016)". World Health Organization. 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
- ↑ Paris, J (June 2002). "Chronic suicidality among patients with borderline personality disorder". Psychiatric services (Washington, D.C.). 53 (6): 738–42. doi:10.1176/appi.ps.53.6.738. PMID 12045312.
- ↑ Sakinofsky, I (June 2007). "The current evidence base for the clinical care of suicidal patients: strengths and weaknesses". Canadian Journal of Psychiatry. 52 (6 Suppl 1): 7S–20S. PMID 17824349.
- ↑ 11.0 11.1 GBD 2013 Mortality and Causes of Death, Collaborators (17 December 2014). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385: 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMID 25530442.
{{cite journal}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Meier, Marshall B. Clinard, Robert F. (2008). Sociology of deviant behavior (14th ed.). Belmont, CA: Wadsworth Cengage Learning. p. 169. ISBN 978-0-495-81167-1.
- ↑ Bertolote JM, Fleischmann A (October 2002). "Suicide and psychiatric diagnosis: a worldwide perspective". World Psychiatry. 1 (3): 181–5. PMC 1489848. PMID 16946849.
- ↑ "Indian woman commits sati suicide". Bbc.co.uk. 2002-08-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
- ↑ Aggarwal, N (2009). "Rethinking suicide bombing". Crisis. 30 (2): 94–7. doi:10.1027/0227-5910.30.2.94. PMID 19525169.
- ↑ Stedman's medical dictionary (28th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2006. ISBN 978-0-7817-3390-8.
- ↑ 17.0 17.1 Krug, Etienne (2002). World Report on Violence and Health (Vol. 1). Genève: World Health Organization. p. 185. ISBN 978-92-4-154561-7.
- ↑ 18.0 18.1 Gullota, edited by Thomas P.; Bloom, Martin (2002). The encyclopedia of primary prevention and health promotion. New York: Kluwer Academic/Plenum. p. 1112. ISBN 978-0-306-47296-1.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Karch, DL (Aug 26, 2011). "Surveillance for violent deaths—National Violent Death Reporting System, 16 states, 2008". Morbidity and mortality weekly report. Surveillance summaries (Washington, D.C. : 2002). 60 (10): 1–49. PMID 21866088.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 20.0 20.1 Hawton K, Saunders KE, O'Connor RC (June 2012). "Self-harm and suicide in adolescents". Lancet. 379 (9834): 2373–82. doi:10.1016/S0140-6736(12)60322-5. PMID 22726518.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Vijayakumar L, Kumar MS, Vijayakumar V (May 2011). "Substance use and suicide". Current Opinion in Psychiatry. 24 (3): 197–202. doi:10.1097/YCO.0b013e3283459242. PMID 21430536.
- ↑ Simpson, G; Tate, R (December 2007). "Suicidality in people surviving a traumatic brain injury: prevalence, risk factors and implications for clinical management". Brain injury : [BI]. 21 (13–14): 1335–51. doi:10.1080/02699050701785542. PMID 18066936.
- ↑ 23.0 23.1 Miller, M; Azrael, D; Barber, C (April 2012). "Suicide mortality in the United States: the importance of attending to method in understanding population-level disparities in the burden of suicide". Annual review of public health. 33: 393–408. doi:10.1146/annurev-publhealth-031811-124636. PMID 22224886.
- ↑ Qin P, Agerbo E, Mortensen PB (April 2003). "Suicide risk in relation to socioeconomic, demographic, psychiatric, and familial factors: a national register-based study of all suicides in Denmark, 1981–1997". Am J Psychiatry. 160 (4): 765–72. doi:10.1176/appi.ajp.160.4.765. PMID 12668367.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Centers for Disease Control and Prevention, (CDC) (May 3, 2013). "Suicide among adults aged 35-64 years--United States, 1999-2010". MMWR. Morbidity and mortality weekly report. 62 (17): 321–5. PMID 23636024.
- ↑ Gilliland, Richard K. James, Burl E. (2012-05-08). Crisis intervention strategies (7th ed.). Belmont, CA: Brooks/Cole. p. 215. ISBN 978-1-111-18677-7.
- ↑ Brent, DA; Melhem, N (June 2008). "Familial transmission of suicidal behavior". The Psychiatric clinics of North America. 31 (2): 157–77. doi:10.1016/j.psc.2008.02.001. PMC 2440417. PMID 18439442.
- ↑ Rozanov, V; Carli, V (July 2012). "Suicide among war veterans". International journal of environmental research and public health. 9 (7): 2504–19. doi:10.3390/ijerph9072504. PMC 3407917. PMID 22851956.
- ↑ 29.0 29.1 University of Manchester Centre for Mental Health and Risk. "The National Confidential Inquiry into Suicide and Homicide by People with Mental Illness" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.
- ↑ 30.0 30.1 Chehil, Stan Kutcher, Sonia (2012). Suicide Risk Management A Manual for Health Professionals (2nd ed.). Chicester: John Wiley & Sons. pp. 30–33. ISBN 978-1-119-95311-1.
- ↑ Bertolote, JM; Fleischmann, A; De Leo, D; Wasserman, D (2004). "Psychiatric diagnoses and suicide: revisiting the evidence". Crisis. 25 (4): 147–55. doi:10.1027/0227-5910.25.4.147. PMID 15580849.
- ↑ van Os J, Kapur S (August 2009). "Schizophrenia" (PDF). Lancet. 374 (9690): 635–45. doi:10.1016/S0140-6736(09)60995-8. PMID 19700006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-09-25.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)). New York: McGraw-Hill Companies. pp. 1940–1946. ISBN 978-0-07-148480-0.
- ↑ 34.0 34.1 Greydanus, DE; Shek, D (September 2009). "Deliberate self-harm and suicide in adolescents". The Keio journal of medicine. 58 (3): 144–51. doi:10.2302/kjm.58.144. PMID 19826208.
- ↑ 35.0 35.1 Pirkis, J; Burgess, P (December 1998). "Suicide and recency of health care contacts. A systematic review". The British journal of psychiatry : the journal of mental science. 173 (6): 462–74. doi:10.1192/bjp.173.6.462. PMID 9926074.
- ↑ Luoma, JB; Martin, CE; Pearson, JL (June 2002). "Contact with mental health and primary care providers before suicide: a review of the evidence". The American Journal of Psychiatry. 159 (6): 909–16. doi:10.1176/appi.ajp.159.6.909. PMID 12042175.
- ↑ Perrotto, Jerome D. Levin, Joseph Culkin, Richard S. (2001). Introduction to chemical dependency counseling. Northvale, N.J.: Jason Aronson. pp. 150–152. ISBN 978-0-7657-0289-0.
- ↑ 38.0 38.1 Fadem, Barbara (2004). Behavioral science in medicine. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 217. ISBN 978-0-7817-3669-5.
- ↑ Youssef NA, Rich CL (2008). "Does acute treatment with sedatives/hypnotics for anxiety in depressed patients affect suicide risk? A literature review". Ann Clin Psychiatry. 20 (3): 157–69. doi:10.1080/10401230802177698. PMID 18633742.
- ↑ 40.0 40.1 Sher, L (January 2006). "Alcohol consumption and suicide". QJM : monthly journal of the Association of Physicians. 99 (1): 57–61. doi:10.1093/qjmed/hci146. PMID 16287907.
- ↑ Darke S, Ross J (November 2002). "Suicide among heroin users: rates, risk factors and methods". Addiction. 97 (11): 1383–94. doi:10.1046/j.1360-0443.2002.00214.x. PMID 12410779.
- ↑ Sher L (2007). "Functional magnetic resonance imaging in studies of the neurobiology of suicidal behavior in adolescents with alcohol use disorders". Int J Adolesc Med Health. 19 (1): 11–8. doi:10.1515/ijamh.2007.19.1.11. PMID 17458319.
- ↑ Pallanti, Stefano; Rossi, Nicolò Baldini; Hollander, Eric (2006). "11. Pathological Gambling". ใน Hollander, Eric; Stein, Dan J. (บ.ก.). Clinical manual of impulse-control disorders. American Psychiatric Pub. p. 253. ISBN 978-1-58562-136-1.
- ↑ 44.0 44.1 Oliveira, MP; Silveira, DX; Silva, MT (June 2008). "Pathological gambling and its consequences for public health". Revista de saude publica. 42 (3): 542–9. doi:10.1590/S0034-89102008005000026. PMID 18461253.
- ↑ Hansen, M; Rossow, I (Jan 17, 2008). "Gambling and suicidal behaviour". Tidsskrift for den Norske laegeforening : tidsskrift for praktisk medicin, ny raekke. 128 (2): 174–6. PMID 18202728.
- ↑ Bohanna, I; Wang, X (2012). "Media guidelines for the responsible reporting of suicide: a review of effectiveness". Crisis. 33 (4): 190–8. doi:10.1027/0227-5910/a000137. PMID 22713977.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 47.3 47.4 47.5 Yip PS, Caine E, Yousuf S, Chang SS, Wu KC, Chen YY (June 2012). "Means restriction for suicide prevention". Lancet. 379 (9834): 2393–9. doi:10.1016/S0140-6736(12)60521-2. PMID 22726520.
- ↑ 48.0 48.1 Sisask, M; Värnik, A (January 2012). "Media roles in suicide prevention: a systematic review". International journal of environmental research and public health. 9 (1): 123–38. doi:10.3390/ijerph9010123. PMC 3315075. PMID 22470283.
- ↑ Stack S (April 2005). "Suicide in the media: a quantitative review of studies based on non-fictional stories". Suicide Life Threat Behav. 35 (2): 121–33. doi:10.1521/suli.35.2.121.62877. PMID 15843330.
- ↑ Pirkis J (July 2009). "Suicide and the media". Psychiatry. 8 (7): 269–271. doi:10.1016/j.mppsy.2009.04.009.
- ↑ Ajdacic-Gross V, Weiss MG, Ring M, และคณะ (September 2008). "Methods of suicide: international suicide patterns derived from the WHO mortality database". Bull. World Health Organ. 86 (9): 726–32. doi:10.2471/BLT.07.043489. PMC 2649482. PMID 18797649.
- ↑ Ajdacic-Gross, Vladeta, et al. "Methods of suicide: international suicide patterns derived from the WHO mortality database"PDF (267 KB). Bulletin of the World Health Organization 86 (9): 726–732. September 2008. Accessed 2 August 2011. Archived 2 August 2011. See html version. The data can be seen here [1]
- ↑ O'Connor, Rory C.; Platt, Stephen; Gordon, Jacki, บ.ก. (1 June 2011). International Handbook of Suicide Prevention: Research, Policy and Practice. John Wiley and Sons. p. 34. ISBN 978-1-119-99856-3.
- ↑ Gunnell D., Eddleston M., Phillips M.R., Konradsen F. (2007). "The global distribution of fatal pesticide self-poisoning: systematic review". BMC Public Health. 7: 357. doi:10.1186/1471-2458-7-357. PMC 2262093. PMID 18154668.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Geddes, John; Price, Jonathan; Gelder, Rebecca McKnight; with Michael; Mayou, Richard (2012-01-05). Psychiatry (4th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 62. ISBN 978-0-19-923396-0.
- ↑ 56.0 56.1 Krug, Etienne (2002). World Report on Violence and Health, Volume 1. Genève: World Health Organization. p. 196. ISBN 978-92-4-154561-7.
- ↑ (editor), Diego de Leo (2001). Suicide and euthanasia in older adults : a transcultural journey. Toronto: Hogrefe & Huber. p. 121. ISBN 978-0-88937-251-1.
{{cite book}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Eshun, edited by Sussie; Gurung, Regan A.R. (2009). Culture and mental health sociocultural influences, theory, and practice. Chichester, U.K.: Wiley-Blackwell. p. 301. ISBN 978-1-4443-0581-4.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "U.S. Suicide Statistics (2005)". สืบค้นเมื่อ 2008-03-24.
- ↑ "Suicide prevention". WHO Sites: Mental Health. World Health Organization. Aug 31, 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-13.
- ↑ "Deaths estimates for 2008 by cause for WHO Member States". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 10 February 2013.
- ↑ "Suicide rates Data by country". who.int. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
- ↑ Haney, EM; O'Neil, ME; Carson, S; Low, A; Peterson, K; Denneson, LM; Oleksiewicz, C; Kansagara, D (March 2012). "Suicide Risk Factors and Risk Assessment Tools: A Systematic Review". PMID 22574340.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "CDC finds suicide rates among middle-aged adults increased from 1999 to 2010". Centers for Disease Control and Prevention. May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ 15 July 2013.
- ↑ Weiyuan C (December 2009). "Women and suicide in rural China". Bulletin of the World Health Organization. 87 (12): 888–9. doi:10.2471/BLT.09.011209. PMC 2789367. PMID 20454475.
- ↑ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒ กัมมจตุกกะ และ มรณุปปัตติจตุกกะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2555. 334 หน้า. หน้า 82-83.
- ↑ สสปัณฑิตจริยา, พระไตรปิฎก เล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 จริยาปิฎก
- ↑ อรรถกถา เอกปัณณชาดก ว่าด้วย ต้นไม้ใบเดียว
- ↑ Lester, D (2006). "Suicide and Islam". Archives of Suicide Research. 10 (1): 77–97. doi:10.1080/13811110500318489. PMID 16287698.
- ↑ "ซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ". สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)