นินเท็นโด
ตราสัญลักษณ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2016 | |
นินเท็นโดสาขาใหญ่ที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น | |
ประเภท | บริษัทร่วมทุน TYO: 7974 NASDAQ: NTDOY FWB: NTO SET:NINTENDO19 |
---|---|
ISIN | JP3756600007 |
อุตสาหกรรม | การ์ดเกม วิดีโอเกม |
ก่อตั้ง | 23 กันยายน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) |
ผู้ก่อตั้ง | ฟูซาจิโร ยามาอูจิ |
สำนักงานใหญ่ | เกียวโต ในต่างประเทศ: เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน ริชมอนด์ บริติชโคลัมเบีย กรอสโซสไฮม์ เยอรมนี สกอร์บี้ วิกตอเรีย ซูโจว (ในนาม iQue, Ltd.) โซล กอสตา เดล เอสเต (ในนาม Latamel Inc.) มอนโรเวีย ไลบีเรีย |
บุคลากรหลัก | ชุนตาโร ฟูรูกาวะ (ประธานบริษัท) ชิเงรุ มิยาโมโตะ |
ผลิตภัณฑ์ | วิดีโอเกม เกมบอย นินเท็นโด 64 เกมคิวบ์ นินเท็นโด DS วี นินเท็นโด 3DS วียู นินเท็นโด สวิตช์ อะมีโบ ฯลฯ |
รายได้ | 16.2 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2551) |
พนักงาน | 6,200 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2563) |
เว็บไซต์ | นินเท็นโด-ญี่ปุ่น นินเท็นโด-สหรัฐ นินเท็นโด-ยุโรป นินเท็นโดออสเตรเลีย นินเท็นโด-ไทย |
นินเท็นโด (ญี่ปุ่น: 任天堂 หรือ ニンテンドー; โรมาจิ: Nintendō; อังกฤษ: Nintendo) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) โดย ฟูซาจิโร ยามาอูจิ เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]พ.ศ. 2432 - พ.ศ. 2512 ยุคแรกธุรกิจ การ์ดเกมและของเล่น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน ยุคสู่อุตสาหกรรมเกมคอนโซล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฮาร์ดแวร์
[แก้]นินเท็นโดได้วางจำหน่ายเครื่องเล่นเกมคอนโซล 6 รุ่น ได้แก่ คัลเลอร์ ทีวี เกม ฟามิคอม ซูเปอร์ฟามิคอม นินเท็นโด 64 เกมคิวบ์ วี วียู และ นินเทนโดสวิตช์ สำหรับเครื่องเล่นเกมพกพา ได้วางจำหน่ายเกมบอย 7 รุ่น เวอร์ชวลบอย นินเท็นโด DS นินเท็นโด 2DS นินเท็นโด 3DS นิว นินเท็นโด 3ดีเอส นินเทนโด สวิช และ เกมกดและ วิดีโอเกม อื่น ๆ อีกมาก
ซอฟต์แวร์
[แก้]นินเท็นโดมีเกมที่มีชื่อเสียงหลายเกม เช่น เกมชุดมาริโอ โปเกมอน แอนิมอลครอสซิง ดองกี้คอง เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ไฟร์เอมเบลม เมทรอยด์ เอฟ-ซีโร่ สตาร์ฟ็อกซ์ พิกมิน สแพล็ตตูน และ เคอร์บี้ และ พนักงานหลายคนของนินเท็นโดมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการเกม เช่น ชิเงรุ มิยาโมโตะ ผู้ให้กำเนิดมาริโอ เป็นต้น
สถานที่ตั้ง
[แก้]นินเท็นโดสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น นินเท็นโดอเมริกาตั้งอยู่ที่ เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน (สำนักงานใหญ่สาขาอเมริกา), นอร์ธเบนด์ รัฐวอชิงตัน และ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย นินเท็นโดแคนาดาตั้งอยู่ที่ ริชมอนด์ บริติชโคลัมเบีย และโทรอนโต นินเท็นโดออสเตรเลียตั้งอยู่ที่เมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย นินเท็นโดยุโรปตั้งอยู่ที่เมือง Großostheim ประเทศเยอรมนี นินเท็นโดจีนได้ร่วมกับ iQue และล่าสุดนินเท็นโดเกาหลี ก่อตั้งเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
นินเท็นโดในประเทศไทย
[แก้]ก่อน พ.ศ. 2562 นินเท็นโดไม่มีผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ร้านขายเกมบางแห่งนำเข้าเครื่องคอนโซลจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะขาย 2 โซนใหญ่ ๆ คือจากญี่ปุ่นและสหรัฐ ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 นินเท็นโดได้มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการโดย Maxsoft จากประเทศสิงคโปร์[1][2] และในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางนินเท็นโดได้เปิดเว็บไซต์ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเป็นเว็บไซต์แห่งที่ 2 ต่อจากเว็บไซต์ของประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้จัดจำหน่ายในไทยคือเจดีเซ็นทรัล[3][4] ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 ทางนินเท็นโดได้เปลี่ยนผู้จัดจำหน่ายในไทยคือซินเน็คแทนที่เจดีเซ็นทรัล[5]เนื่องมาจากทางเจดีเซ็นทรัลได้ประกาศว่าจะยุติการให้บริการในประเทศไทยโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[6] ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ทางนินเท็นโดและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศซื้อขายหลักทรัพย์ในไทยเป็นทางการ ตลาดหลักทรัพย์จัดหมวดหมู่ประเภท DR NINTENDO19 เริ่มซื้อขายทั่วไปในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[7][8][9]
โลโก้
[แก้]คำว่า Nintendo นั้นคาดกันว่ามาจากคำว่า Nintendou ซึ่งแปลว่า “ปล่อยให้เรื่องของโชคขึ้นกับสวรรค์เบื้องบน”
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nintendo Switch กำลังจะมีเครื่องศูนย์ไทยอย่างเป็นทางการ !!".
- ↑ "เปิดราคา Nintendo Switch เครื่องไทย 11,990 บาท เครื่องหิ้วเข้าศูนย์ไม่ได้ และไขอนาคตนินเทนโดในไทย".
- ↑ "มาแล้ว!! Nintendo เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาไทย พร้อมเปิดร้านออนไลน์แรกในประเทศไทย".
- ↑ "ปู่มาแล้ว! Nintendo เปิดเว็บไซต์ภาษาไทยอย่างเป็นทางการ".
- ↑ "SYNNEX จะเข้ามาดูแลการตลาดในไทยให้ Nintendo แทน JD Central".
- ↑ "JD CENTRAL สู้ไม่ไหว! ประกาศยุติให้บริการในไทย มีผลตั้งแต่ 3 มีนาคม 2566".
- ↑ "ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับ DR "NINTENDO19" เริ่มซื้อขาย 20 พ.ค. นี้".
- ↑ "เริ่มซื้อขาย DR อ้างอิงหุ้น nintendo บริษัทผลิตเกมญี่ปุ่น 20 พ.ค. 67".
- ↑ "เอาใจนักลงทุนสายเล่นเกม หุ้น DR อ้างอิง NINTENDO เทรดกระดานหุ้นไทย 20 พ.ค. นี้".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นินเท็นโดญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- นินเท็นโดอเมริกา (อังกฤษ) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- นินเท็นโดยุโรป (อังกฤษ) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- นินเท็นโดไทย (ไทย) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- นินเท็นโดไทยแลนด์ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์อย่างไม่เป็นทางการของไทย รวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ของนินเท็นโด
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- บริษัทวิดีโอเกม
- บริษัทของญี่ปุ่น
- นินเท็นโด
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แฟรงเฟิร์ต
- บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432
- บริษัทนานาชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น
- บริษัทวิดีโอเกมของญี่ปุ่น
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว
- บทความเกี่ยวกับ เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม ที่ยังไม่สมบูรณ์