สกุลเสือลายเมฆ
สกุลเสือลายเมฆ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน | |
---|---|
เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) | |
เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยเสือใหญ่ Pantherinae |
สกุล: | สกุลเสือลายเมฆ Neofelis Gray, 1867 |
ชนิดต้นแบบ | |
Felis macrocelis[1] | |
ชนิด | |
ขอบเขตของสกุลเสือลายเมฆ |
สกุลเสือลายเมฆ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neofelis) เป็นสกุลของเสือ 2 ชนิดเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ: เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) ในเอเชียภาคพื้นทวีป และเสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) ในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว[2][3]
โดยคำว่า Neofelis นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า neo- (νέος-) หมายถึง "ใหม่" และภาษาละตินคำว่า fēles หมายถึง "แมว" รวมความแล้วหมายถึง "แมวใหม่"[4][5]
ประวัติทางอนุกรมวิธาน
[แก้]สกุลนี้ตั้งขึ้นโดย จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ใน ค.ศ. 1867 ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 ชนิด คือ Neofelis macrocelis ที่ปรากฏในหิมาลัย, มะละกา และไทย กับNeofelis brachyurus ที่พบในอดีตฟอร์โมซา[6] เรจินัลด์ อินเนส โพค็อกยอมรับการจัดอันดับอนุกรมวิธานของ Neofelis ใน ค.ศ. 1917 แต่ยอมรับเพียงชนิด Neofelis nebulosa กับชนิดย่อยบางส่วน และถือให้ macrocelis เป็นตัวอย่างต้นแบบแรก[7] เป็นเวลาเกือบ 90 ปีที่มีการยอมรับการจัดอันดับ Neofelis ในฐานะสกุลชนิดเดียวอย่างกว้างขวาง[8] ใน ค.ศ. 2006 มีผู้พบว่า Neofelis diardi มีความแตกต่างจากญาติบนพื้นทวีป Neofelis nebulosa และจัดให้เป็นชนิดต่างหาก[2][3]
คุณลักษณะ
[แก้]ลักษณะเด่นของเสือในสกุลนี้ คือ มีกะโหลกส่วนใบหน้าที่กว้าง หน้าผากมีขนาดใหญ่และจมูกยาว ขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยวที่คมและปลายขอบตัดขวาง ซึ่งกะโหลกลักษณะนี้คล้ายคลึงกับเสือเขี้ยวดาบที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แล้วเสือลายเมฆที่พบในภูมิภาคซุนดามีเขี้ยวบนยาวและมีเพดานปากที่แคบระหว่างเขี้ยวนั้น[9] [10]
โดยรวมแล้ว เสือลายเมฆเป็นเสือขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเล็กกว่าเสือขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของจีน
การจำแนก
[แก้]- เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคจีนตอนกลางและตอนใต้ จนถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่
- เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) เป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดใหม่ แยกออกมาในปี ค.ศ. 2006 พบได้ในหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย และภูมิภาคซุนดา มีลักษณะเด่น คือ มีฟันเขี้ยวที่ยาวมาก จนนับได้ว่ายาวที่สุดในบรรดาสัตว์ประเภทเสือและแมวทั้งหมด[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilson, D.E.; Reeder, D.M., บ.ก. (2005). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ 2.0 2.1 Buckley-Beason, V.A.; Johnson, W.E.; Nash, W.G.; Stanyon, R.; Menninger, J.C.; Driscoll, C.A.; Howard, J.; Bush, M.; Page, J.E.; Roelke, M.E.; Stone, G.; Martelli, P.; Wen, C.; Ling, L.; Duraisingam, R.K.; Lam, V.P.; O'Brien, S.J. (2006). "Molecular Evidence for Species-Level Distinctions in Clouded Leopards". Current Biology. 16 (23): 2371–2376. doi:10.1016/j.cub.2006.08.066. PMC 5618441. PMID 17141620.
- ↑ 3.0 3.1 Kitchener, A.C.; Beaumont, M.A.; Richardson, D. (2006). "Geographical Variation in the Clouded Leopard, Neofelis nebulosa, Reveals Two Species". Current Biology. 16 (23): 2377–2383. doi:10.1016/j.cub.2006.10.066. PMID 17141621. S2CID 6838593.
- ↑ Liddell, H.G. & Scott, R. (1940). "νέος". A Greek-English Lexicon (Revised and augmented ed.). Oxford: Clarendon Press.
- ↑ Lewis, C.T. & Short, C. (1879). "fēles". A Latin Dictionary (Revised, enlarged ed.). Oxford: Clarendon Press.
- ↑ Gray, J.E. (1867). Notes on the skulls of the Cats. 5. Neofelis. Page 265–266 in: Proceedings of the Scientific Meetings of the Zoological Society of London for the year 1867.
- ↑ Pocock, R. I. (1917). "The classification of existing Felidae". The Annals and Magazine of Natural History: Including Zoology, Botany, and Geology, 8th ser. vol. 20 no. 119: 329–350.
- ↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 545–546. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ Gray, J.E. (1867). Notes on the skulls of the Cats. 5. Neofelis. Page 265–266 in: Proceedings of the Scientific Meetings of the Zoological Society of London for the year 1867.
- ↑ Species distinction and evolutionary differences in the clouded leopard (Neofelis nebulosa) and Diard's clouded leopard (Neofelis diardi)
- ↑ "เสือลายเมฆบอร์เนียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Neofelis ที่วิกิสปีชีส์