ข้ามไปเนื้อหา

เอชทีเอ็มแอล5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก HTML5)
HTML5
(HyperText Markup Language)
นามสกุลไฟล์
HTML: .html, .htm
XHTML: .xhtml, .xht, .xml
ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต
HTML: text/html
XHTML: application/xhtml+xml, application/xml
ชนิดของโค้ดTEXT
Uniform Type Identifier (UTI)public.html
ผู้พัฒนาW3C HTML WG, WHATWG
รูปแบบMarkup language
มาตรฐาน

เอชทีเอ็มแอล5 (อังกฤษ: HTML5; อ่านว่า เอชทีเอ็มแอลไฟฟ์ หรือ เอชทีเอ็มแอลห้า) เป็นมาตรฐานตัวต่อไปของ HTML ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยมีลักษณะเหมือนมาตรฐานตัวก่อนหน้าทั้ง HTML 4.01 และ XHTML 1.1 ที่ใช้ในการจัดโครงสร้างและการแสดงผลของเนื้อหาสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐานใหม่จะมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญได้แก่

  • การใช้งานวิดีโอ
  • การแสดงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
  • การเก็บไฟล์ในลักษณะออฟไลน์
  • การแสดงกราฟิกส์
  • input types แบบใหม่ เช่น search, number, range, color, tel, url, email, date, month, week, time, datetime, datetime-local

โดยคุณสมบัติเด่นหลายอย่างไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม เช่น เกียรส์ แฟลช หรือ ซิลเวอร์ไลต์ เหมือนที่ผ่านมาในการใช้งาน HTML4 และMathMLสำหรับสูตรทางคณิตศาสตร์ก็เช่น กัน เพิ่ม เพื่อเพิ่ม เนื้อหา เชิงความหมายของเอกสาร องค์ประกอบโครงสร้างหน้าใหม่ คุณสมบัติใหม่เช่น <aside> <nav> <figure> ถูกนำมาใช้องค์ประกอบและคุณลักษณะบางอย่างถูกลบออกและอื่น ๆ เช่น <a>, <cite> และ <menu> มีการเปลี่ยนแปลง กำหนดใหม่ หรือทำให้เป็นมาตรฐาน ขณะนี้ API และ Document Object Model (DOM) เป็นส่วนพื้นฐานของข้อกำหนด HTML5 และ HTML5 ยังกำหนดการประมวลผลสำหรับเอกสารที่ไม่ถูกต้องได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย[1]

มาร์กอัป

[แก้]

HTML5 ได้มีการแนะนำ เอเลเมนต์ใหม่หลายตัวเพื่อตอบสนองการใช้งานของเว็บไซต์รุ่นใหม่ โดยเอเลเมนต์ใหม่ส่วนหนึ่งเป็นซีแมนติกทดแทนการใช้งานของบล็อกทั่วไป (<div>) และเอเลเมนต์อินไลน์ (<span>) ยกตัวอย่างเช่น <nav> (บล็อกสำหรับเมนูบอกทาง) และ <footer> (ส่วนด้านล่างของเว็บเพจ) เอเลเมนต์ส่วนอื่นแสดงถึงการใช้งาน เช่น เอเลเมนต์ทางด้านสื่อ <audio> และ <video>[2][3][4] เอเลเมนต์บางตัวที่ตกรุ่นสำหรับ HTML 4.01 ได้ถูกยกเลิก เช่น <font> และ <center> ซึ่งถูกทดแทนด้วยการทำงานผ่านซีเอสเอส

การยกเลิกการใช้

[แก้]

HTML5.0 ถูกยกเลิกเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2018[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "HTML 5.2 W3C Recommendation". W3.org. W3C. 14 December 2017. § 1.10.2 Syntax Errors. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  2. Introduction to HTML5 video
  3. IBM Developer Works New elements in HTML5: Structure and semantics
  4. ICAMD.org Finalcut Silverlight Films that Videographers share Quicktime in a Flash : Video on the Web using HTML5 and other Codecs
  5. "HTML5 Publication History - W3C".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]