สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส
สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (อังกฤษ: French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500
ลำดับสมัยของสถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส
[แก้]สมัยของสถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น:
- สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น (Early Gothic)
- สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง (High Gothic)
- สถาปัตยกรรมแรยอน็อง (Rayonnant)
- สถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลาย หรือ สถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร (Late Gothic หรือ Flamboyant)
การแบ่งนี้เป็นการแบ่งที่ได้ผลแต่ก็ยังมีบางกรณีที่ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกมักจะใช้เวลานานที่อาจจะคาบลักษณะสถาปัตยกรรมหลายสมัย และผู้ก่อสร้างก็มักจะมิได้ทำตามความประสงค์ของแผนงานที่วางไว้ในสมัยก่อนหน้านั้น ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมในสิ่งก่อสร้างหนึ่งจึงอาจจะแปรเปลี่ยนไปตามสมัยและอัธยาศัยของผู้สร้าง ฉะนั้นจึงยากที่จะกำหนดสิ่งก่อสร้างว่าเป็นลักษณะแท้ของสถาปัตยกรรมสมัยใดสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก ฉะนั้นการระบุสมัยจึงมีประโยชน์ต่อการระบุส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างมากกว่าที่จะระบุทั้งโครงสร้างโดยรวม
สถาปัตยกรรมแบบกอทิก
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้นเริ่มต้นขึ้นราว ค.ศ. 1140 ที่มีลักษณะเด่นคือการใช้โค้งแหลม และ การวิวัฒนาการจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ตอนปลาย สถาปนิกสร้างผนังให้สูงขึ้นโดยการแบ่งออกเป็นสี่ระดับชั้น: ชั้นซุ้มโค้งและเสา (Arcade), แกลอรี (Gallery), ระเบียงแนบ (Triforium), และช่องรับแสง (Clerestory) ตามลำดับ ส่วนการรับน้ำหนักของผนังและกำแพงก็ใช้การค้ำยันแบบใหม่ที่เรียกว่าครีบยันแบบปีกนกซึ่งมีวิวัฒนาการถึงจุดสูงสุดในสมัยสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เพดานโค้งที่ใช้เป็นแบบเพดานโค้งแหลมหกแฉก (Sexpartite vault) ที่มีสันแยกออกจากศูนย์กลางหกสัน
สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง
[แก้]ลักษณะของสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 วางรากฐานของความมีสัดส่วนและรูปทรงของสถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น และวิวัฒนาการต่อไปเพื่อให้สิ่งก่อสร้างมีลักษณะเบาขึ้นและ สูงสง่าขึ้น โครงสร้างของกำแพงก็ลดจากสี่ชั้นมาเป็นสามชั้น: ชั้นซุ้มโค้งและเสา, หน้าต่างชั้นบน และระเบียงแนบ หัวเสาที่ใช้ก็เล็กลงเพื่อไม่ให้กีดขวางทัศนะเมื่อมองสูงขึ้นไปบนตัวอาคาร หน้าต่างชั้นบนเปลี่ยนจากบานเดียว หรือ ช่องบนกำแพง เป็นสองบานที่เชื่อมต่อกันด้วยหน้าต่างกุหลาบ เพดานโค้งสันลดจากหกแฉกเป็นสี่แฉก การใช้ครีบยันแบบปีกนกก็วิวัฒนาการดีขึ้นจนถึงจุดสูงสุด และ หลังจากที่ใช้กับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์แล้ว การใช้ครีบยันที่ว่านี้ก็กลายเป็นบัญญัติของการค้ำยันผนังหรือกำแพงที่สูง เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยรับน้ำหนักขณะที่เป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเพื่อความสวยงามด้วยในขณะเดียวกัน
สิ่งก่อสร้างที่เด่นๆ
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น
[แก้]- มุขตะวันออกของมหาวิหารแซ็ง-เดอนี
- มหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งซ็องส์
- มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งล็อง
- ด้านหน้าของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์
- มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
- มหาวิหารแซ็งต์ฌ็อง-บาติสต์แห่งลียง
- มหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งตูล
สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง
[แก้]- ตัวสิ่งก่อสร้างหลักของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ (ค.ศ. 1194-ค.ศ. 1260)
- มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งอาเมียง
- มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
- มหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งบูร์ฌ
สถาปัตยกรรมแรยอน็อง
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลาย
[แก้]- หอเหนือของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์
- หน้าต่างกุหลาบของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งอาเมียง
- ด้านหน้าของน็อทร์-ดามแห่งรูอ็อง
- วัดเซนต์มากลูแห่งรูอ็อง
- แขนกางเขนด้านใต้ของมหาวิหารแซ็ง-ปีแยร์แห่งโบแว
นอกไปจากลักษณะแบบกอทิกดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมกอทิกเมรีดียอนาล (Gothique Méridional) หรือสถาปัตยกรรมกอทิกตอนใต้ ที่ตรงข้ามกับสถาปัตยกรรมกอทิกตอนเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิกแซ็ปต็องทรียอนาล (Gothique Septentrional) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนี้จะมีลักษณะเด่นคือ ทางเดินกลางที่กว้าง และไม่มีแขนกางเขน ตัวอย่างที่สำคัญได้แก่
- วัดน็อทร์-ดามแห่งลามูกีเยที่นาร์บอน (Notre-Dame-de-Lamouguier)
- วัดแซ็งต์-มารีที่ แซ็ง-แบร์ทร็อง-เดอ-กอแม็งฌ์
อ้างอิง
[แก้]- Bony, Jean (1985). French Gothic Architecture of the Twelfth and Thirteenth Centuries. ISBN 0-520-05586-1.
- Gothic Architecture in Catholic Encyclopedia
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารในฝรั่งเศส