ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฟิลิปปินส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Filipino language)
ภาษาฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีการพูดฟิลิปปินส์
จำนวนผู้พูด(เหมือนภาษาตากาล็อก)
ภาษาแม่: 25 ล้านคน[1] ภาษาที่ 2: มากกว่า 60 ล้านคน
ทั้งหมด: ราว 90 ล้านคน[2]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
 อาเซียน
ผู้วางระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยภาษาฟิลิปปินส์
รหัสภาษา
ISO 639-2fil
ISO 639-3fil
  ประเทศที่มีผู้พูดมากกว่า 500,000 คน
  ประเทศที่มีผู้พูดระหว่าง 100,000–500,000 คน
  ประเทศที่มีผู้พูดเป็นชุมชนย่อย

ภาษาฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์: Wikang Filipino, ออกเสียง: [wɪˈkɐŋ ˌfiːliˈpiːno]) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุด มาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515

ประวัติ

[แก้]

เริ่มแรก Balarila ng Wikang Pambansa นำอักษร 20 ตัวที่แสดงเสียงในภาษาตากาล็อก ได้แก่ a b k d e g h i l m n ng (ng ถือเป็นอักษรตัวเดียว) o p r s t u w y สถาบันภาษาแห่งชาติเริ่มภาษาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2516 และเพิ่มอักษรเป็น 31 ตัวเมื่อ พ.ศ. 2519 คืออักษร 26 สำหรับภาษาอังกฤษ และอักษรจากภาษาสเปนคือ ñ, ll, rr, และ ch, และ ng จากภาษาตากาล็อก ต่อมา พ.ศ. 2530 ตัดอักษร rr, ll และ ch ออกไปทำให้เหลือ 28 ตัว

ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปปินส์กับภาษาตากาล็อก

[แก้]

คำว่าฟิลิปปินส์และตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวร้อยละ 30 ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราวร้อยละ 80 ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปปินส์ เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยู่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า

ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่าง ๆ แต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปปินส์ใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปปินส์มีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปิโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปปินส์มีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ñ) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน

เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อก คำว่าฟิลิปปินส์เป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปปินส์มีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่น ๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาเซบูเป็นภาษากลาง และเมืองบาเกียวที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปปินส์ห่างไกลกันยิ่งขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Languages of Philippines". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 3 September 2010.
  2. Results from the 2000 Census of Population and Housing: Educational Characteristics of the Filipinos. National Statistics Office. 18 March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 21 January 2008.