ไดแอซิแพม
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /daɪˈæzɪpæm/ |
ชื่อทางการค้า | Valium and many others |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682047 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
Dependence liability | ปานกลาง |
Addiction liability | Moderate[1][2] |
ช่องทางการรับยา | รับประทาน, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ทวารหนัก |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 93–100% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ—CYP2B6 (minor route) to desmethyldiazepam, CYP2C19 (major route) to inactive metabolites, CYP3A4 (major route) to desmethyldiazepam |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 20–100 ชั่วโมง |
การขับออก | ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.006.476 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C16H13ClN2O |
มวลต่อโมล | 284.7 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ไดแอซิแพม (Diazepam) หรือชื่อทางการค้าคือ แวเลียม (Valium) เป็นยาในกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน มีฤทธิส่งผลให้สงบจิตใจลง ใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดเบ็นโซไดอาเซพีน, อาการกล้ามเนื้อกระตุก, อาการชัก, โรคนอนไม่หลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข การใช้ยาชนิดนี้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ [3][4] สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน, สอดใส่เข้าสู่ไส้ตรง, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ[4] หากใช้วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิ์ใน 1 ถึง 5 นาที[4] หากใช้วิธีรับประทาน จะออกฤทธิ์ภายใน 40 นาที[5]
อาการข้างเคียงทั่วไปของการใช้ยาไดแอซิแพมได้แก่ ง่วงนอน, มองไม่ชัด[4] ส่วนอาการข้างเคียงระดับรุนแรงซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากนั้น ได้แก่ การฆ่าตัวตาย, หายใจลำบาก หากผู้ป่วยโรคลมชักใช้ยานี้บ่อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงจากอาการชัก[6][4] การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาและเกิดอาการเสพติดยา การเลิกยาในทันทีเป็นอันตรายอย่างมากในผู้ป่วยที่ใช้ยาระยะยาว[6] โดยจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการรู้คิดไปเป็นเวลากว่าครึ่งปี
ไดแอซิแพมเป็นหนึ่งในยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุดตั้งแต่เริ่มการจ่ายในปี ค.ศ. 1963 โดยเป็นยาที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริการะหว่างปี ค.ศ. 1968 ถึง 1982 โดยในปี ค.ศ. 1978 เพียงปีเดียวสามารถขายได้กว่าสองพันล้านเม็ด[6] ยานี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก[7] ยานี้ไม่เหมาะสมต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Clinical Addiction Psychiatry. Cambridge University Press. 2010. p. 156. ISBN 9781139491693.
- ↑ Ries, Richard K. (2009). Principles of addiction medicine (4 ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 106. ISBN 9780781774772.
- ↑ "Diazepam". PubChem. National Institute of Health: National Library of Medicine. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-03-11.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Diazepam". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Jun 5,15.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Ogle, guest editors, Harry Dym, Orrett E. (2012). Oral surgery for the general dentist. Philadelphia: Saunders. p. 8. ISBN 9781455710324.
{{cite book}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 Calcaterra, NE; Barrow, JC (16 April 2014). "Classics in chemical neuroscience: diazepam (valium)". ACS Chemical Neuroscience. 5 (4): 253–60. doi:10.1021/cn5000056. PMID 24552479.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines" (PDF). World Health Organization. March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2006-03-12.