นาวาโท
นาวาโท (อังกฤษ: commander ตัวย่อ น.ท. หรือ Cmdr.) เป็นยศของนายทหารเรือและชื่อตำแหน่งในกองทัพบกหลายแห่งในภาษาอังกฤษ นาวาโทยังใช้เป็นยศหรือตำแหน่งในองค์การที่เป็นทางการอื่น ๆ รวมถึงกองกำลังตำรวจหลายแห่ง ในหลายประเทศยศทางเรือนี้ใช้งานสำหรับตำแหน่งกับตันเรือฟริเกต (frigate captain) ซึ่งเริ่มตนในไทยเมื่อปี พ.ศ.2469 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยศนี้สูงกว่านาวาตรีและตํ่ากว่านาวาเอก
ในความหมายอื่นของคำนี้ในภาษาอังกฤษ Commander ซึ่งหมายความอีกอย่างได้ว่า ผู้บังคับบัญชา ยังใช้ในการเรียกนายทหารที่มีอำนาจในการสั่งการหน่วยหรือกองกำลัง เช่น ผู้บังคับหมวด (platoon commander) ผู้บังคับกองพลน้อย (brigade commander) ผู้บังคับกองพันทหารม้า (squadron commander) ในกิจการตำรวจ มีการใช้ในคำว่า ผู้บัญชาการเขต (borough commander) และผู้บัญชาการเหตุการณ์ (incident commander)
ยศนาวาโทของทหารเรือและทหารอากาศ
[แก้]นาวาโท (commander) เป็นยศที่ใช้งานในกองทัพเรือ ซึ่งมีใช้งานน้อยมากที่จะใช้งานในรูปแบบยศในกองทัพบก ในกองทัพบกส่วนใหญ่ คำว่า Commander ในภาษาอังกฤษมักจะใช้เป็นชื่อตำแหน่งงาน เช่น ในกองทัพบกสหรัฐ นายทหารยศร้อยเอก (ระบบยศเนโทรหัส OF-2) อาจจะดำรงตำแหน่ง "ผู้บังคับกองร้อย" (company commander) ในขณะที่นายทหารยศพันโท (ระบบยศเนโทรหัส OF-4) โดยทั่วไปจะมีตำแหน่ง "ผู้บังคับกองพัน"
เดิมที ตำแหน่ง ต้นหนและนาวาโท (master and commander) นี้มีจุดเริ่มต้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพื่อจำกัดความถึงนายทหารเรือที่บังคับบัญชาเรือรบที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือเอก (lieutenant) จะบัญชาการได้ แต่ก็มีขนาดที่เลิกเกินกว่าที่จะมอบหมายให้กับนาวาเอกอาวุโส (post-captain)[1] (ประมาณก่อนปี พ.ศ. 2313) และต้นหน (sailing master) นาวาโทมักจะทำหน้าที่เป็นต้นหนของเรือตนเอง โดยมักจะประจำบนเรือสลูปศึกที่ไม่ได้รับการจัดประเภทและมืปืนใหญ่เรือไม่เกิน 20 กระบอก โดยราชนาวีได้ย่อชื่อยศต้นหนและนาวาโท (master and commander) เหลือเพียงนาวาโท (commander) ในปี พ.ศ. 2337 อย่างไรก็ตาม คำเรียกเดิมก็ยังคงถูกใช้งานกันต่อไป (อย่างไม่เป็นทางการ) ต่ออีกหลายปี[2] ในขณะที่ตำแหน่ง master commandant ของสหรัฐที่มียศในระดับเดียวกันก็ยังถูกใช้งานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นนาวาโท (commander) ในปี พ.ศ. 2381
ตำแหน่งที่ตรงกันในกองทัพเรือบางแห่งคือกับตันเรือฟริเกต (frigate captain) ในคริสศตวรรษที่ 20 และ 21 ยศถูกจัดลำดับเทียบเท่ากับระบบยศเนโท รหัส OF-4
หน้าที่ต่าง ๆ ของนาวาโทก็มีลักษณะคล้ายคลึ่งกับผู้บังคับบัญชา (commander) ในกองทัพเรือของสาธารณรัฐดัตช์ ใครก็ตามที่บังคับบัญชาเรือหรือกองเรือโดยยังไม่มีชื่อเรียกที่เหมาะสม สามารถถูกเรียกได้ว่า Commandeur รวมไปถึงผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจ (ad hoc fleet commanders) และรักษาการกับตัน (Luitenant-Commandeur) ในกองเรือของกองทัพเรือเซลันด์ commandeur จะมียศอย่างเป็นทางการที่เทียบเท่ากับ Schout-bij-nacht (rear-admiral พลเรือตรี) ในกองเรืออื่น ๆ ของชาวดัตช์ ในขณะเดียวกันชาวดัตช์ใช้ชื่อของยศในราชนาวีเนเธอร์แลนด์เทียบเท่ากับพลเรือจัตวา (commodore) อย่างไรก็ตาม ในกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ ตำแหน่งนี้สะกดคำว่า commodore ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งพลอากาศจัตวา (air commodore) ของสหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย
[แก้]ยศนาวาโทในกองทัพเรือออสเตรเลีย (RAN) มีลักษณะเหมือนกับยศนาวาโทในราชนาวี อนุศาสนาจารย์ของกองทัพเรือออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มที่ 1, 2 หรือ 3 (จากห้ากลุ่ม) โดยมียศเทียบเท่ากับนาวาโท ซึ่งหมายความว่า นายทหารและนายทหารชั้นประทวนที่มียศต่ำกว่านาวาโท พันโท หรือนาวาอากาศโท อนุศาสนาจารย์จะมียศที่สูงกว่า
สำหรับนายทหารที่มียศสูงกว่านาวาโท อนุศาสนาจารย์จะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แม้ว่าจะมีความเทียบเท่านี้ อนุศาสนาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มที่ 1, 2 หรือ 3 จะไม่สามารถประดับยศนาวาโทได้ และพวกเขาก็ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาเหมือนกับนาวาโท
สแกนดิเนเวีย
[แก้]คอมมันดอร์ (commander) เป็นยศทหารเรือในสแกนดิเนเวีย (Kommandør ในภาษาเดนมาร์กและนอร์เวย์, Kommendör ในภาษาสวีเดน) โดยเทียบเท่ากับทหารเรือยศนาวาเอกในแถบแองโกล-อเมริกา ตำแหน่งนาวาโทในสแกนดิเนเวียอยู่เหนือกว่า commander-captain (นอร์เวย์: Kommandørkaptein, สวีเดน: Kommendörkapten, เดนมาร์ก: Kommandørkaptajn) ซึ่งเทียบเท่ากับยศทางเรือคือ นาวาโท ของแถบแอลโกล-อเมริกา[3]
เดนมาร์ก
[แก้]ในเดนมาร์ก ยศระดับนาวาโท (commander) มีชื่อว่า kommandørkaptajn (commander captain หรือ commanding captain) ซึ่งอาวุโสกว่า orlogskaptajn (captain) และ kommandør (commander) ซึ่งอาวุโสกว่า kommandørkaptajn โดย kommandørkaptajn นั้นแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า "Commander, Senior Grade" ในขณะที่ orlogskaptajn แปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า "Commander"[4]
สหราชอาณาจักร
[แก้]ราชนาวี
[แก้]นาวาโทในราชนาวีนั้นมียศสูงกว่านาวาตรี (lieutenant commander) และต่ำกว่านาวาเอก (captain) และเทียบเท่ากันกับพันโท (lieutenant colonel) ในกองทัพบก นาวาโทสามารถบัญชาการเรือฟริเกต เรือพิฆาต เรือดำน้ำ ฝูงบินหรือฐานทัพเรือบริเวณชายฝั่ง หรืออาจปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ในฐานก็ได้
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
[แก้]เนื่องจากยศของนายทหารระดับกลางของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรมีรูปแบบที่เหมือนกันกับยศของราชนาวี คำว่านาวาอากาศโท (wing commander) จึงถูกใช้เป็นชื่อยศ โดยเทียบเท่ากับยศพันโท (lieutenant colonel) ในกองทัพบกหรือนาวาโทในกองทัพเรือ ตำแหน่งนาวาอากาศโทนั้นอยู่สูงกว่ายศนาวาอากาศตรี (squadron leader) และอยู่ต่ำกว่ายศนาวาอากาศเอก (group captain) โดยในอดีตนั้นหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ (Royal Naval Air Service) ได้รวมเข้ากับกองบินหลวง (Royal Flying Corps) และกลายเป็นกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2461 โดยนักบินได้รับการประดับยศในรูปแบบเดียวกับราชนาวี และได้รับเครื่องหมายยศตามระดับของชั้นยศที่ควรได้รับ โดยผู้บังคับการบิน (Flight commander) ได้รับเครื่องหมายดาวเหนือแถบสองแถบของยศร้อยเอก และผู้บังคับฝูงบินได้รับดาวสองดวง เหนือแถบยศสองแถบ (น้อยกว่าแปดปี) หรือแถบยศสองแถบครึ่ง (อาวุโสมากกว่าแปดปี) และผู้บังคับกองบินได้รับแถบสามแถบ บนแถบยศมีขดของราชนาวีและมีนกอินทรีย์ประดับอยู่
สหรัฐ
[แก้]ในกองทัพเรือสหรัฐ, ยามฝั่งสหรัฐ, หน่วยทหารสัญญาบัตรบริการสาธารณสุขสหรัฐ และหน่วยทหารสัญญาบัตรองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ ยศนาวาโท (commander ย่อว่า CDR) เป็นยศอยู่ในระดับนนายทหารอาวุโส โดยมีระดับการจ่ายเงินอยู่ที่ O-5 ยศนาวาโทนั้นสูงกว่ายศนาวาตรี (lieutenant commander) (O-4) และต่ำกว่ายศนาวาเอก (captain) (O-6) ยศนาวาโทนั้นเทียบเท่ากับยศพันโท (lieutenant colonel) ในกองทัพบกสหรัฐ, กองทัพอากาศสหรัฐ, เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ และกองทัพอวกาศสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาวาโทเป็นยศแรกที่ได้ประดับชัยพฤกษ์บนกระบังหน้าหมวก (embellished cap) ในขณะที่เหล่าทัพอื่น ๆ สามารถประดับชัยพฤกษ์บนกระบังหน้าหมวกได้เมื่อขึ้นถึงระดับยศ O-4
การเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นนาวาโทในกองทัพเรือสหรัฐนั้น เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งได้รับอำนาจมาจากพระราชบัญญัติการจัดการบุคลากรเจ้าหน้าที่กลาโหม (DOPMA) ปี ค.ศ. 1980 หรือตามพระราชบัญญัติการจัดการบุคลากรของกำลังสำรอง (ROPMA) ซึ่งแนวปฏิบัติของพระราชบัญญัติทั้งสองแนะนำว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของนาวาตรีควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นนาวาโทหลังจากดำรงตำแหน่งปัจจุบันเป็นเวลาอย่างน้อยสามปีโดยดูตามเวลารับราชการสะสมตามสัญญา 15 ถึง 17 ปี แม้ว่าเปอร์เซ็นดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงได้และอาจจะถูกมองข้ามในบางกรณี (เช่น มีความเชี่ยวชาญพิเศษ) ขึ้นอยู่กับงบประมาณของกลาโหม โครงสร้างกำลัง และความต้องการกำลังพลเข้าประจำการในตำแหน่งนั้น
ระเบียงภาพ
[แก้]-
Commander
(กองทัพเรือบังกลาเทศ)[8] -
Commander
(ยามฝั่งบาร์เบโดส) -
Commander
(ยามฝั่งเบลีซ) -
Commander
(กองทัพเรือสาธารณรัฐฟิจิ) -
Commander
(กองทัพเรือแกมเบีย) -
Commander
(กองทัพเรือกานา) -
Commander
(ยามฝั่งกายอานา) -
Commander
(ยามฝั่งจาเมกา)[15] -
Commander
(ยามฝั่งแห่งชาติไลบีเรีย)[16] -
Commander
(กองทัพเรือนามิเบีย)[19] -
Commander
(กองทัพเรือนิวซีแลนด์)[21] -
Commander
(กองทัพเรือไนจีเรีย)[22] -
Commander
(ยามฝั่งเซนต์คิตส์และเนวิส) -
Commander
(กองทัพเรือเซียร์ราลีโอน) -
Commander
(กองบัญชาการนาวิกโยธินแทนซาเนีย) -
นาวาโท (กองทัพเรือไทย)
-
Commander
(กองทัพเรือตองกา)[30] -
Commander
(ยามฝั่งตรินิแดดและโตเบโก)[31]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bloggang.com : : hummel : การรบทางเรือในสงครามนโปเลียน (04) - เรือรบในสงครามนโปเลียน". BlogGang.
- ↑ "Why is the Colonel called a 'Kernal?'". Naval Historical Center. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24.
- ↑ "NATO grades / national ranks: Navy" (PDF). Hellenic Multinational Peace Support Operations Training Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 August 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
- ↑ STANAG 2116. 2022-04-16.
- ↑ Antigua & Barbuda Defence Force. "Paratus" (PDF). Regional Publications Ltd. pp. 12–13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ "Badges of rank" (PDF). defence.gov.au. Department of Defence (Australia). สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
- ↑ "OFFICER RANKS". rbdf.gov.bs. Royal Bahamas Defence Force. สืบค้นเมื่อ 14 January 2021.
- ↑ "Ranks and appointment". canada.ca. Government of Canada. 23 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "Sotilasarvot Puolustusvoimissa". puolustusvoimat.fi (ภาษาฟินแลนด์). Finnish Defence Forces. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "BADGES OF RANK". Official Jamaica Defence Force Website. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
- ↑ "Defense Act of 2008" (PDF). 3 September 2008. p. 8. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ "Karių laipsnių ženklai". kariuomene.kam.lt (ภาษาลิทัวเนีย). Ministry of National Defence (Lithuania). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "Pangkat". mafhq.mil.my (ภาษามาเลย์). Malaysian Armed Forces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2020. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
- ↑ "Government Notice" (PDF). Government Gazette of the Republic of Namibia. Vol. 4547. 20 August 2010. pp. 99–102. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
- ↑ "De rangonderscheidingstekens van de krijgsmacht" (PDF) (ภาษาดัตช์). Ministry of Defence (Netherlands). 19 December 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.
- ↑ "Badges of Rank". nzdf.mil.nz. New Zealand Defence Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ Smaldone, Joseph P. (1992). "National Security". ใน Metz, Helen Chapin (บ.ก.). Nigeria: a country study. Area Handbook (5th ed.). Washington, D.C.: Library of Congress. pp. 296–297. LCCN 92009026. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
- ↑ "Militære grader". forsvaret.no (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Armed Forces. 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "Grade militare (Military ranks)". defense.ro (ภาษาโรมาเนีย). Romanian Defence Staff. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
- ↑ "Nya gradbeteckningar införs". Försvarsmakten. 2019-10-01. สืบค้นเมื่อ 2019-10-02.
- ↑ (Amendment) Regulations2009s.pdf "Tonga Defence Services (Amendment) Regulations 2009" (PDF). Tonga Government Gazette Supplement Extraordinary. 5: 151–153. 10 May 2010. สืบค้นเมื่อ 26 September 2021.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ (Commissioned-Officers).aspx "Rank Chart (Commissioned Officers)". 69.0.195.188. Trinidad and Tobago Defence Force. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 33.0 33.1 "U.S. Military Rank Insignia". defense.gov. Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.