ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์วัวและควาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bovidae)
วงศ์วัวและควาย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน
20–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับย่อย: Ruminantia
วงศ์: Bovidae
Gray, 1821
วงศ์ย่อย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช

ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร

สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น

สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้[1]

วงศ์ย่อย

[แก้]

ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย อีก 9 วงศ์ ได้แก่[2]

สำหรับในประเทศไทย มีสัตว์ป่าที่อยู่ในวงศ์นี้ 7 ชนิด ได้แก่ ควายป่า (Bubalus arnee), กระทิง (Bos gaurus), วัวแดง (B. javanicus), กูปรี (B. sauveli), เลียงผาเหนือ (Capricornis milneedwardsii), เลียงผาใต้ (C. sumatraensis), กวางผาจีน (Naemorhaedus griseus) ซึ่งทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[3] [4]

สำหรับสัตว์ในวงศ์นี้ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ยังมีการดำรงเผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน ก็คือ กระทิง ที่พบในอนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน และในไทย ซึ่งสามารถโตเต็มที่สูงได้กว่า 6 ฟุต ในตัวผู้ และน้ำหนักเกือบ 900 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน[5]

โดยที่คำว่า Bovidae นั้นมาจากคำว่า Bos เป็นภาษาละตินแปลว่า "วัว"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Michael et al., 2004. Grzimek’s Animal Life Encyclopedia 2nd ed. V. 16 : MammalsV
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. รายชื่อสัตว์สงวน
  4. รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง
  5. หน้า 64, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]