เบลฟาสต์
เบลฟาสต์ | |
---|---|
ภาพทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างในนครเบลฟาสต์ | |
ตราสัญลักษณ์พร้อมคำขวัญ "Pro Tanto Quid Retribuamus" (ละติน: "What shall we give in return for so much") | |
ที่ตั้งในไอร์แลนด์เหนือ | |
พื้นที่ | 51.16 ตารางไมล์ (132.5 ตารางกิโลเมตร) [1] |
ประชากร | นครเบลฟาสต์: 341,877 (2019)[2] เขตมหานคร: 671,559 (2011)[3] |
ไอริชกริด | J338740 |
อำเภอ |
|
เคาน์ที | |
ประเทศ | ไอร์แลนด์เหนือ |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
โพสท์ทาวน์ | BELFAST |
เขตรหัสไปรษณีย์ | BT1–BT17, BT29 (part), BT36 (part), BT58 |
รหัสโทรศัพท์ | 028 |
ตำรวจ | ไอร์แลนด์เหนือ |
ดับเพลิง | ไอร์แลนด์เหนือ |
รถพยาบาล | ไอร์แลนด์เหนือ |
รัฐสภาสหราชอาณาจักร | |
สมัชชาไอร์แลนด์เหนือ | |
เว็บไซต์ | www.belfastcity.gov.uk |
เบลฟาสต์ (อังกฤษ: Belfast; ไอริช: Béal Feirste; แปลว่า ปากสันดอนทรายซึ่งเป็นทางข้ามลำน้ำ)[4] เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแลกันบนชายฝั่งทางภาคตะวันออกของไอร์แลนด์เหนือ ถือเป็นเป็นนครที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของสหราชอาณาจักร[5] และเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเกาะไอร์แลนด์ เบลฟาสต์มีประชากร 333,871 คน (ข้อมูลเมื่อปี 2015)[2] ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เบลฟาสต์เคยถูกรายงานว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก[6] ด้วยอัตราการถูกฆาตกรรมที่ 31 ต่อ 100,000 คน[7]
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เบลฟาสต์กลายเป็นเมืองท่าที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะเป็นเมืองที่ผลิตผ้าลินินมากที่สุดในโลก จนได้รับสมญาว่า "ลิเนโนโพลิส"[8] ต่อมาใน ค.ศ. 1888 เบลฟาสต์ได้รับการจัดตั้งเป็นนครและเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตลินิน การแปรรูปยาสูบ และการผลิตเชือกของชาวไอริช การต่อเรือก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญเช่นกัน โดยอู่เรือฮาร์ลันและวอล์ฟ ซึ่งต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก เคยเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก[9] เนื่องด้วยการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและการอพยพเข้าของประชากรนี้เอง[10] ทำให้เบลฟาสต์กลายเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือหลังจากที่มีการแบ่งไอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1922 อย่างไรก็ตาม การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมของโลกได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในช่วง ค.ศ. 1939–1945
ในปัจจุบัน เบลฟาสต์ยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการบินอวกาศและขีปนาวุธ มีอู่ต่อเรือเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชยกรรม ซึ่งรวมถึงอู่เรือฮาร์ลันและวอล์ฟที่ดูแลชายฝั่งทะเลสาบเบลฟาสต์ ท่าอากาศยานในนครมีสองแห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานจอร์จ เบสต์ และท่าอากาศยานนานาชาติเบลฟาสต์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากนครไปทางทิศตะวันตก 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร) โครงข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก (GaWC) ได้จัดอันดับให้เบลฟาสต์เป็นนครสำคัญของโลกประเภทแกมมาใน ค.ศ. 2018[11]
วัฒนธรรม
[แก้]กีฬา
[แก้]เบลฟาสต์มีทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงที่ลงแข่งขันในกีฬาหลายประเภท ได้แก่ ฟุตบอล แกลิกเกม รักบี้ คริกเก็ต และฮอกกี้น้ำแข็ง การแข่งขันเบลฟาสต์มาราธอนถูกจัดขึ้นในวันเมย์เดย์ของทุกปี ซึ่งใน ค.ศ. 2011 มีผู้เข้าร่วมงานถึงสองหมื่นคน[12]
ฟุตบอลทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ซึ่งรั้งอันดับที่ 23 จากการจัดอันดับโลกฟีฟ่าในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017[13] ลงเล่นนัดเหย้าของพวกเขาที่วินด์เซอร์พาร์ก แชมป์ไอริชลีกฤดูกาล 2017–18 อย่างครูแซเดอส์ ก็เล่นเกมเหย้าที่สนามซีวิว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของนคร
เบลฟาสต์เป็นบ้านเกิดของตำนานแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างจอร์จ เบสต์ ซึ่งเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในวันที่ที่ฝังศพของเขาที่เบลฟาสต์ มีประชาชนกว่า 100,000 คนยืนเรียงแถวจากหน้าบ้านของเขาบนถนนเครกัจไปยังสุสายโรสลอว์น[14] ท่าอากาศยานประจำนคร ได้นำชื่อของเขามาตั้ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเขา นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างอนุสรณ์ของจอร์จ เบสต์ ในย่านใจกลางเมือง[15]
เมืองพี่น้อง
[แก้]- แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1994)[16]
- เหอเฝย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2005)[16]
- บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2014)[16]
- เฉิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Standard Area Measurements (2016) for Administrative Areas in the United Kingdom". Office for National Statistics. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
- ↑ 2.0 2.1 "Population Estimates for UK, England and Wales, Scotland and Northern Ireland, Mid-2019". Office for National Statistics. 6 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Belfast Metropolitan Area Plan" (PDF). Planningni.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ "Place Names NI – Home". www.placenamesni.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2019-09-25.
- ↑ "Where are the largest cities in Britain? – CityMetric". Citymetric.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ Mankind's Great Divides by George R. Mitchell, 2017. (ISBN 9781910745779)
- ↑ "CAIN: Violence: List of Significant Violent Incidents". cain.ulster.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
- ↑ ConnollyCove (2019-08-12). "Linenopolis: The Linen Quarter of Belfast | Connolly Cove |". Connolly Cove (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-11-06.
- ↑ "BBC – History – Belfast's golden age of shipbuilding". Bbc.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ Kelly, Mary (April 2013). "Historical Internal Migration in Ireland" (PDF). GIS Research UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ "The World According to GaWC 2018". Globalization and World Cities (GaWC) Study Group and Network. Loughborough University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2017. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
- ↑ "Belfast Marathon breaks 20,000 barrier". Belfast City Council. 18 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
- ↑ "FIFA/Coca-Cola World Rankings". FIFA. August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.
- ↑ McCann, Nuala (3 December 2005). "A city mourns for the Belfast Boy". BBC News Northern Ireland. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2006. สืบค้นเมื่อ 18 May 2005.
- ↑ "George Best Memorial Trust". George Best Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 18 May 2007.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Belfast signs Sister Cities accord with Boston". News. Belfast City Council. 12 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
- ↑ "Belfast signs Sister City Agreement with Shenyang, China today to collaborate in number of areas". News. Belfast City Council. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2017. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Beesley, S. and Wilde, J. 1997. Urban Flora of Belfast. Institute of Irish Studies & The Queen's University of Belfast.ISBN 0 85389 695 X
- Deane, C. Douglas. 1983. The Ulster Countryside. Century Books. ISBN 0-903152-17-7
- Gillespie, R. 2007. Early Belfast. Belfast Natural History & Philosophical Society in Association with Ulster Historical Foundation. ISBN 978-1-903688-72-4.
- Nesbitt, Noel. 1982. The Changing Face of Belfast. Ulster Museum, Belfast. Publication no. 183.
- Pollock, V. and Parkhill, T. 1997. Belfast. National Museums of Northern Ireland. ISBN 978-0-7509-1754-4
- Scott, Robert. 2004. Wild Belfast: On Safari in the City. Blackstaff Press. ISBN 0-85640-762-3.
- Walker, B.M. and Dixon, H. 1984. Early Photographs from the Lawrence Collection in Belfast Town 1864–1880. The Friar's Bush Press, ISBN 978-0-946872-01-5
- Walker, B.M. and Dixon, H. 1983. No Mean City: Belfast 1880–1914. ISBN 0-946872-00-7.
- Connolly, S.J. Ed. 2012. Belfast 400 People Places and History. Liverpool University Press. ISBN 978-1-84631-635-7
- McCracken, E. 1971. The Palm House and Botanic Garden, Belfast. Ulster Architectural Heritage Society.
- McMahon, Sean. 2011. A Brief History of Belfast. The Brehon Press. Belfast. ISBN 978-1-905474-24-0
- Fulton, C. 2011. Coalbricks and Prefabs, Glimpses of Belfast in the 1950s. Thedoc Press. ISBN 978-0-9570762-0-4
- O'Reilly, D. 2010. " Rivers of Belfast". Colourpoint Books. ISBN 978-1-906578-75-6
- Weatherall, Norman (text) and Evans, David (paintings) 2002 South Belfast Terrace and Villa. Cottage Publications ISBN 1900935287
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เบลฟาสต์
- คู่มือการท่องเที่ยว เบลฟาสต์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Belfast City Council