ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์
ชื่อเต็ม | ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | Les Phocéens, L'OM | |||
ก่อตั้ง | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1899 | |||
สนาม | สตาดเวโลดรอม, มาร์แซย์ | |||
ความจุ | 67,384[1] | |||
เจ้าของ | แฟรงก์ แมกคอร์ต | |||
ประธาน | ฌัก-อ็องรี แอโร | |||
ผู้จัดการ | โรแบร์โต เด แซร์บี | |||
ลีก | ลีกเอิง | |||
2023–24 | อันดับที่ 8 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ (ฝรั่งเศส: Olympique de Marseille)[1] เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองมาร์แซย์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1899 ปัจจุบันเล่นอยู่ในลีกเอิง เป็นสโมสรที่ชนะการแข่งขันในลีกเอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในฟุตบอลฝรั่งเศสรองจากแซ็งเตเตียน มาร์แซย์ชนะการแข่งขันในเฟรนช์แชมเปียนส์ 9 ครั้ง และได้รับกุปเดอฟร็องส์ เป็นสถิติ 10 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1993 สนามกีฬาเหย้าของสโมสรคือสตาดเวลอดรอม (Stade Vélodrome) สามารถบรรจุคน 60,031 คน ตั้งอยู่ทางใต้ของเมือง โดยทีมเล่นสนามนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937
ประวัติ
[แก้]มาร์แซย์ เป็นสโมสรแรกและสโมสรเดียวของฝรั่งเศส เคยก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในยอดทีมของยุโรป พวกเขาเริ่มต้นจากความพ่ายแพ้ต่อ เซอร์เวน่า ซเวซด้า (หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อ เร้ดสตาร์ เบลเกรด) ในการดวลจุดโทษรอบชิงชนะเลิศศึกยูโรเปียนคัพเมื่อปี 1991 ก่อนที่พวกเขาจะคว้าแชมป์รายการนี้ได้สำเร็จในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก จากประตูชัยของ บาซิล โบลี่ ซึ่งช่วยให้ทีมเฉือนชนะ เอซี มิลาน 1-0 ทว่าช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขากลบพังพินาศ หลังมีการเปิดโปงว่า นักเตะของ วาล็องเซียน ทีมร่วมลีกเอิงที่กำลังหนีตกชั้นในตอนนั้น ถูก แบร์กนาร์ ตาปี ประธานสโมสรโอแอ็มในช่วงเวลาดังกล่าวติดสินบน เพื่อให้พวกเขาอ่อนข้อต่อมาร์แซย์ในเกมที่ทั้งคู่พบกัน 1 สัปดาห์ก่อนพบมิลาน ลดความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บก่อนเกมสำคัญ
นั่นทำให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต มีการสอบสวนครั้งใหญ่ ก่อนที่ตาปีจะไม่รอดต้องโทษจำคุกในปี 1995 นอกจากนี้ ฌอง-ปิแอร์ เบอร์เน่ส์ ผู้จัดการทั่วไปของสโมสร และ ฌอง-ฌักส์ เอเดลี่ กองกลางของทีมที่ตาปีให้เป็นตัวกลางต่างก็โดนโทษจำคุกล่วงหน้า ถึงแม้โทษของรายหลังจะได้รับการลดเหลือเพียงรอลงอาญาก็ตาม
เรื่องอื้อฉาว
[แก้]ยิ่งไปกว่านั้น มาร์แซย์ยังถูกตัดสินริบแชมป์ลีกเอิงที่ได้เมื่อปี 1993 ทำให้ตำแหน่งแชมป์ว่างลงหลัง ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ปฏิเสธที่จะขึ้นเป็นแชมป์แทน พร้อมถูกตัดสิทธิ์ในการป้องกันแชมป์ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก รวมถึงลงแข่งในรายการยูฟ่า ซูเปอร์คัพ กับอินเตอร์คอนติเนตัล คัพ อีกด้วย
และเพียงปีถัดมา ซึ่งพวกเขาจบในตำแหน่งรองแชมป์ถัดจากเปแอสเชและได้ไปเล่นในศึกยูฟ่าคัพ มาร์แซย์ก็ถูกปรับตกชั้นจากปัญหาทางการเงินกับเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นกับตัวของตาปี และแม้พวกเขาจะคว้าแชมป์ลีกเดอซ์ได้ในฤดูกาลต่อมา โอแอ็มก็จำต้องอยู่ลีกรองต่ออีกปีเมื่อสโมสรยื่นขอล้มละลาย
กลับมาสำเร็จบนลีกเอิงอีกครั้ง
[แก้]หลังกลับสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้ง มาร์แซย์สามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้เพียงหนเดียวเมื่อปี 2010 เมื่อพวกเขาถูกบดบังรัศมีจาก ลียง ที่คว้าแชมป์ 7 สมัยซ้อน รวมถึงเศรษฐีใหม่อย่างเปแอสเช ซึ่งนอกจากแชมป์ลีกเอิงครั้งนั้นแล้ว ผลงานเมื่อปี 2004 ที่ ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา แบกทีมไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพ ก็ดูจะเป็นแสงสว่างวาบเดียวจากอดีตยักษ์ใหญ่รายนี้ กระทั่งความเปลี่ยนแปลงมาถึงในถิ่น สตาดเวลอดรอม เมื่อ แฟรงค์ แม็คคอร์ท นายทุนชาวอเมริกันเข้ามาซื้อสโมสร มาร์แซย์กลับมามีชีวิตชีวาภายใต้การคุมทีมของ รูดี้ การ์เซีย อดีตนายใหญ่ ลีลล์ และ โรม่า ที่พาทีมมีลุ้นโควต้าแชมเปียนส์ลีกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับปรุงรังเหย้าของพวกเขาให้กลับมาสง่างามน่าเกรงขามอีกครั้ง แต่ถึงกระนั้น แม้พวกเขาจะมีฤดูกาลน่าประทับใจเมื่อได้ ฟลอรีย็อง โตแว็ง กลับมาแจ้งเกิดใหม่ด้วยการทำไป 22 ประตู 11 แอสซิสต์ในลีก รวมถึง ดิมิทรี ปาเยต
เกียรติประวัติ
[แก้]ระดับประเทศ
[แก้]- ลีกเอิง
- ชนะเลิศ (9): 1936–37, 1947–48, 1970–71, 1971–72, 1988–89, 1989–90, 1990–91, 1991–92, 2009–10
- ลีกเดอ
- ชนะเลิศ (1): 1994–95
- ช็องปียอนาเดอฟร็องซามาเตอร์
- ชนะเลิศ (1): 1928–29
- กุปเดอฟร็องส์
- ชนะเลิศ (10): 1923–24, 1925–26, 1926–27, 1934–35, 1937–38, 1942–43, 1968–69, 1971–72, 1975–76, 1988–89
- กุปเดอลาลีก
- ชนะเลิศ (3): 2009–10, 2010–11, 2011–12
- ทรอเฟเดช็องปียง
- ชนะเลิศ (3): 1971, 2010, 2011
- กุปชาร์ลดราโก
- ชนะเลิศ (1): 1957
ระดับทวีปยุโรป
[แก้]- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- ชนะเลิศ (1): 1992–93
- รองชนะเลิศ (1): 1990–91
- ยูฟ่ายูโรปาลีก
- รองชนะเลิศ (3): 1998–99, 2003–04, 2017–18
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ
- ชนะเลิศ (1): 2005
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2024[2]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Velodrome Stadium". om.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 13 January 2008.
- ↑ "Equipe professionnelle 2023–2024". Olympique de Marseille. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 30 June 2023.