ข้ามไปเนื้อหา

แคล้ว ธนิกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคล้ว ธนิกุล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2477
จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 เมษายน พ.ศ. 2534 (56 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
สัญชาติไทย ไทย
ชื่ออื่นเหลา สวนมะลิ
อาชีพนักการเมือง, นักธุรกิจ, มาเฟีย, โปรโมเตอร์มวยไทย
มีชื่อเสียงจากผู้กว้างขวางในย่านสวนมะลิ, โปรโมเตอร์มวยค่าย ส.ธนิกุล
คู่สมรสสงัด ธนิกุล
เขมพร ต่างใจเย็น
บุตร7 คน

แคล้ว ธนิกุล (10 เมษายน พ.ศ. 24775 เมษายน พ.ศ. 2534) อดีตผู้กว้างขวางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและอดีตโปรโมเตอร์และผู้จัดการในวงการมวยไทย, มวยสากลและมวยสากลสมัครเล่นในประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

แคล้ว ธนิกุล เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่ตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่ได้ชื่อว่าแคล้ว เพราะตอนที่เกิดมีคู่แฝดด้วย แต่ว่าคู่แฝดได้เสียชีวิตไปหลังจากคลอดไม่นาน จึงได้ชื่อว่า "แคล้ว" ซึ่งหมายถึง การแคล้วคลาดจากอันตราย แคล้ว สมรสครั้งแรกกับ นางสงัด ธนิกุล มีบุตรชายหญิงด้วยกัน 2 คน แต่ก็ได้หย่าร้างกัน บุตรชายได้แก่ร้อยตรีนุกูล ธนิกุลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม

แคล้ว สมรสครั้งที่สองกับ นางเขมพร ต่างใจเย็น มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน (ชาย 3 หญิง 2) อาทิ นาย คม ธนิกุล ,นาย กริช ธนิกุล ประธานกรรมการบริษัทเขมราชการสร้าง, นางสาว พลอย ธนิกุล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เลขานุการนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดจังหวัดกาญจนบุรี,นาย ยุทธ ธนิกุล ประธานกรรมการบริษัทเขมราชไมนิงกรุ๊ป ,นางสาวแพรว ธนิกุล

เส้นทางสายผู้มีอิทธิพล

[แก้]

แคล้ว ธนิกุล ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯครั้งแรกด้วยการตามพี่สาวมาอยู่ที่ย่านสวนมะลิ ต่อมาไปดูการซ้อมมวยเลยรู้จักนักมวยรุ่นพี่ ชื่อ หมึก ตรอกทวาย และก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันตั้งแต่นั้นมา

จากนั้น แคล้ว ธนิกุล ก็สร้างชื่อด้วยการเป็นผู้กว้างขวางในย่านสวนมะลิ ในชื่อ "เหลา สวนมะลิ" หรือ "เฮียเหลา" มีผู้กว้างขวางเป็นเพื่อนสนิทสนมกันมากมายและมีลูกน้องอีกจำนวนมากด้วยเช่นกัน จนได้รับฉายาว่า "เจ้าพ่อนครบาล" หรือ "เจ้าพ่อเบอร์ 1"

เส้นทางสายกีฬามวย

[แก้]

ในแวดวงมวย แคล้ว ธนิกุล เป็นเจ้าของค่ายมวยของตัวเองที่มีชื่อว่า "ส.ธนิกุล" มีนักมวยที่มีชื่อเสียง อาทิ อินทรีน้อย ส.ธนิกุล, สมบัติ ส.ธนิกุล, บุญหลง-บุญหลาย ส.ธนิกุล เป็นต้น และยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมมวยสากลสมัครแห่งประเทศไทย

การเสียชีวิต

[แก้]

แคล้ว ธนิกุล เสียชีวิตในเวลาหัวค่ำของวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2534 ที่ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จากการถูกลอบสังหารด้วยอาวุธสงคราม อาทิ ปืนเอ็ม 16, ปืนอาก้า, เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 อย่างอุกอาจ ขณะกำลังโดยสารไปในรถกระบะยี่ห้อนิสสันสีดำเพื่อเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยลูกน้องคู่ใจ คือ นายสกุลยุทธ์ ทองสายธาร[1] หรือฉายา "ตี๋ ดำเนิน" หรือ "มือปืนร้อยศพ" สภาพรถทั้งคันพรุนไปด้วยรูกระสุน และศพของทั้งคู่ก็ถูกยิงเลือดโชก โดยเฉพาะนายแคล้วที่นั่งอยู่เบาะหลัง ที่ภายในปากยังอมพระเครื่องอยู่ ด้วยหวังว่าจะช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย ซึ่งสาเหตุการลอบสังหารครั้งนี้ จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นแคล้วเคยถูกลอบสังหารด้วยกระสุนและระเบิดมาแล้วถึง 2 ครั้ง จนกลายเป็นคำร่ำลือกันต่าง ๆ นานา ด้วยในขณะนั้น ทางคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งได้กระทำการรัฐประหารไปก่อนหน้านั้นไม่นาน มีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า แคล้ว ธนิกุล เองก็เป็นหนึ่งในรายชื่อเหล่านั้น[2][3]

อ้างอิง

[แก้]